CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
20 ตุลาคม วันกระดูกพรุนโลก (WORLD OSTEOPOROSIS DAY)
20 ตุลาคม 2566
คณะแพทยศาสตร์
วันกระดูกพรุนโลก ตรงกับวันที่ 20 ตุลาคม ของทุกปี กำหนดขึ้นเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงการป้องกัน วินิจฉัยและรักษา ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมากกว่า 1.5 ล้านคน โดยที่ประเทศไทยมีประชากร 60-70 ล้านคน และในจำนวนประชากร 8-9 ล้านคน มีผู้สูงอายุรวมอยู่ด้วย เพราะฉะนั้น ส่วนหนึ่งของผู้สูงอายุเป็นโรคกระดูกพรุนโดยไม่รู้ตัว จนกระทั่งล้มแล้วมี “กระดูกหัก” จึงรู้ว่าเป็น “โรคกระดูกพรุน” นับเป็น “ภัยเงียบ” อย่างแท้จริง
หากวันนี้ไม่มีความรู้ในเรื่องการดูแลกระดูก จนกระทั่งเกิดโรคกระดูกพรุน ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหรือผลเสียที่ตามมาคือ จะมีความเสี่ยงในการใช้ชีวิต และจะเป็นโรคกระดูกพรุนโดยที่เราไม่รู้ตัว เมื่อวันหนึ่งมาถึง ปรากฏว่ากระดูกพรุนมาก เมื่อเกิดการล้ม อาจทำให้กระดูกหักได้ง่าย หากล้มที่บ้านธรรมดา ก็สามารถทำให้กระดูกหัก เดินไม่ได้ เมื่อผู้สูงอายุเดินไม่ได้ ย่อมมีโอกาสที่จะทำให้เสียชีวิตได้เร็วมากขึ้น
โรคกระดูกพรุนคืออะไร?
ในปี ค.ศ.1992 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำจำกัดความว่า “โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่มีลักษณะเฉพาะ คือมีมวลกระดูกต่ำ มีโครงสร้างทรุดโทรม และทำให้กระดูกอ่อนแอ หักง่าย โดยพบกระดูกสันหลังหักบ่อยมากที่สุด รองลงมาคือกระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ”
มวลกระดูกในแต่ละช่วงอายุ
ตั้งแต่เกิด ร่างกายทุกคนจะมีการสะสมมวลกระดูก ซึ่งอัตราการสะสมมวลกระดูกจะแตกต่างระหว่างเพศชายกับเพศหญิง โดยเพศชายจะสะสมได้มากกว่าเพศหญิง เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวร่างกายหรือการออกกำลังกาย และมีระบบฮอร์โมนที่แตกต่างกัน ช่วงอายุระหว่าง 30-40 ปี จะมีมวลกระดูกที่สูงสุดในช่วงชีวิต หลังจากนั้นจะเริ่มมีการลดลงเรื่อยๆ ของมวลกระดูก ซึ่งสังเกตได้ว่าผู้หญิงมีการสะสมมวลกระดูก ที่น้อยกว่าผู้ชาย และมีการลดลงได้เร็วกว่าเนื่องจากระบบฮอร์โมน โดยเฉพาะผู้หญิงในวัยที่หมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) กับโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ต่ำลง เพราะเป็นฮอร์โมนเพศหญิง รวมถึงฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่ และรก ในระหว่างตั้งครรภ์
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคกระดูกพรุน
เนื่องจากโรคกระดูกพรุน คือกระดูกมีความบางมากขึ้นเรื่อยๆ โดยปกติจะไม่มีอาการปวดในช่วงแรก ยกเว้นแต่ว่ากระดูกจะหักไปแล้ว แต่จะทราบได้โดย
การวัดความหนาแน่นของกระดูก เพราะว่ามวลกระดูกมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความแข็งแรงของกระดูก และความเสี่ยงต่อกระดูกหัก โดยจะวัดที่สะโพก และกระดูกสันหลังเป็นหลัก
โดยเครื่องจะมีการแปรผล ค่า T-Score ดังนี้
• มากกว่า -1 ขึ้นไป = กระดูกหนาแน่นปกติ (Normal bone)
• อยู่ระหว่าง -1 ถึง -2.5 = โรคมวลกระดูกน้อยหรือกระดูกบาง (Osteopenia)
• ต่ำกว่า -2.5 = โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
การผลัดกระดูก คืออะไร
กระดูกจะมีการสร้างและทำลายตลอดเวลา โดยเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูกเรียกว่า ออสติโอบลาสต์ (Osteoblast) และเซลล์ที่คอยทำลายกระดูก เรียกว่า ออสตีโอคลาสต์ (Osteoclast) จะต้องมีการทำงานอย่างสมดุลกันตลอด เมื่อไหร่ที่อายุมากขึ้น โดยรวมจะมีการสร้างกระดูกน้อยกว่าการทำลายกระดูก เซลล์ที่ทำลายกระดูกจะมากขึ้นได้ จากหลายสาเหตุ เช่น มีโรคประจำตัวบางชนิด อายุที่มากขึ้น หรือการใช้ยาบางชนิด จะกระตุ้นเซลล์ที่ทำลายกระดูกให้ทำลายกระดูกมากขึ้น โดยปกติการผลัดกระดูกโดยทั่วไป ในช่วงชีวิตมนุษย์ ทั้งร่างกาย จะมีกระดูกใหม่ทุก 10 ปี
สาเหตุของโรคกระดูกพรุน
1. สะสมมวลกระดูกน้อยไปเมื่อเป็นเด็กและวัยรุ่น ดังนั้น ควรสะสมมวลกระดูกเมื่อวัยเด็กให้ถูกวิธี ดังนี้
– การโภชนาการ (Nutrition) ดื่มนม รับประทานแคลเซียม และโปรตีนอย่างเหมาะสม รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ
– กิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย (Physical activity) คือเล่นกีฬา เมื่อกระดูกมีแรงกระทำ เช่น เตะฟุตบอล เล่นบาสเกตบอล เป็นต้น จะมีการกระตุ้นให้เกิดการสร้างกระดูกได้ดี
– ให้ร่างกายรับแสงแดด เพื่อสังเคราะห์วิตามิน D จากผิวหนัง
2. สูญเสียมวลกระดูกมากเกินไปเมื่อเป็นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน อายุมาก (สูงวัย) ใช้ยาสเตียรอยด์ ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่จัด เป็นโรคต่างๆ เช่น รูมาตอยด์ คอพอกเป็นพิษ เบาหวาน เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
อ.นพ.สุทธิภาศ พงศ์มณี
อาจารย์ประจำหน่วยกระดูกสันหลัง
ภาควิชาออร์โทปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียง : นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#โรคกระดูกพรุน #วันกระดูกพรุนโลก
#MedCMU
#MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU
#สุขภาพดีกับหมอสวนดอก
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: