‘ก่ำเจ้า มช.107’ ข้าวพันธุ์ใหม่ ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง นำมาดัดแปรโครงสร้างด้วยกระบวนการผลิตคาร์บอกซีเมธิลฟลาว (Carboxymethyl Flour; CMF) สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) ในอุตสาหกรรมอาหารและยาได้
.
ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พัฒนาพันธุ์ข้าวชนิดใหม่ ได้แก่ ข้าวพันธุ์ก่ำเจ้า มช.107 (Oryza sativa L.) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ข้าวที่เกิดจากการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวระหว่าง ‘พันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด’ กับ ‘พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105’ จนได้เป็นข้าวเจ้าเมล็ดสีม่วงเข้มถึงดำสนิท ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงที่ได้จากสารแอนโทไซยานิน และยังมีสารแกมมาออริซานอลอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมจากเกษตรกรและผู้บริโภค เนื่องจากให้ผลผลิตที่ค่อนข้างสูง มีกลิ่นหอมภายหลังจากการหุงและรสชาติอร่อย
.
กระบวนการผลิตแป้งคาร์บอกซีเมธิลจากข้าวก่ำมีหลักการอย่างไรบ้าง >> https://www.foodfocusthailand.com/eBook/217/mobile/index.html#p=24
.
ขอบคุณผู้เสนอบทความ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุฐพัศ คำไทย
Assist. Prof. Suthaphat Khamthai, Ph.D.
Department of Packaging Technology
Faculty of Agro-Industry
Lanna Rice Research Center
Chiang Mai University
suthaphat.k@cmu.ac.th
.
ติดตามข่าวสารและข้อมูลในวงการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มได้ที่นี่
Website: https://www.foodfocusthailand.com
Line OA: https://lin.ee/rIaQu1o
Facebook: https://www.facebook.com/foodfocusthailand
LinkedIn: https://www.linkedin.com/company/foodfocusthailand/
? กด Follow และตั้งค่า Favorite เพื่อไม่พลาดทุกการอัปเดตก่อนใคร
#CMF #CMS #ข้าวก่ำ #Anthocyanin #แอนโทไซยานิน #PurpleRice #BrokenRice #NativeStarch #ModifiedStarch #Gelatinization #Retrogradation #LannaRiceResearchCenter #LRRC #FFT #FFTApril2024 #FoodFocusThailand