วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มช. และสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ลงพื้นที่เก็บข้อมูล เจรจาคู่ความร่วมมือ และสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการเปลี่ยนมาใช้ระบบรางของไทย ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุจิรา อุ่นเจริญ คณบดีวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์ ดร.เพียงออ เลาหะวิไลย, รองศาสตราจารย์ ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ คณะผู้บริหารจากสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พร้อมคณะทำงาน เดินทางเยือนกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 23-28 เมษายน 2567 ภายใต้โครงการการจัดทำระบบสารสนเทศการบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน การขนส่งสินค้าระหว่าง จีน และแอฟริกา ยุโรป มาเลเซีย สิงคโปร์ ผ่านระบบรางของไทย ประจำปีงบประมาณ 2567-2568 โดยวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัลมีแผนการดําเนินกิจกรรมลงพื้นที่เก็บข้อมูลและเจรจาคู่ความร่วมมือในการสํารวจเส้นทางการขนส่งสินค้าจากเมืองศูนย์กลางหลักของจีนในปัจจุบันที่นำเข้า-ส่งออกสินค้าในแนวเส้นทางสำคัญจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านประเทศลาวมายังประเทศไทย รวมถึงสำรวจและรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งมาใช้การขนส่งระบบรางของไทยเพื่อส่งออกสินค้าไปยังแอฟริกา ยุโรป ผ่านท่าเรือน้ำลึกระนอง และลงใต้ไปยังประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์
เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุจิรา อุ่นเจริญ คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ ผู้บริหารจากสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พร้อมคณะทำงาน เดินทางเยือนสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เข้าเยี่ยมคารวะและกล่าวรายละเอียดของโครงการแก่ นายสิทธิกร ฉันทแดนสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือและขอคำแนะนำในการดำเนินการโครงการดังกล่าว โดยนายสิทธิกร ฉันทแดนสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการณ์การขนส่งและระบบโลจิสติกส์ ของจีน ลาว ไทยในปัจจุบันและให้ข้อเสนอแนะในการประสานงานขอข้อมูลจากหน่วยงาน สมาคม China Customs Brokers Association (CCBA) ต่อไป จากนั้นคณะเดินทางได้เดินทางเยือนและเจรจาความร่วมมือกับ China Logistics Society and China Federation of Logistics and Purchasing (CFLP) ณ ห้องประชุม 1210 โดย China Federation of Logistics and Purchasing หรือสหพันธ์โลจิสติกส์และการจัดซื้อแห่งประเทศจีน เป็นหน่วยงานด้านโลจิสติกส์ การจัดหา การบ่มเพาะและห่วงโซ่อุปทาน ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2544 มีสำนักงานใหญ่ในกรุงปักกิ่ง ภารกิจหลัก คือการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในประเทศจีน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและวิสาหกิจ เพื่อส่งเสริมการปฏิรูปและพัฒนาการหมุนเวียนของวัสดุการผลิต และส่งเสริมนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้ห่วงโซ่อุปทาน คณะเดินทางได้เข้าพบคณะผู้บริหารของ CFLP เพื่อเจรจาหารือร่วมกันเกี่ยวกับโครงการในการการขนส่งสินค้าระหว่าง จีน และแอฟริกา ยุโรป มาเลเซีย สิงคโปร์ ผ่านระบบรางของไทย ดังนี้
1. Mr. Ren Haoxiang , Vice President of CFLP / President of China Logistics Society
2.Mr. Guo Zhaoming, Deputy Secretary-General of CFLP / Vice President of China Logistics Society
3. Mr. Zhang Xiaodong, Professor at Beijing Jiaotong University
4. Mr. Xiao Shuhuai, Director of the International Cooperation Department of CFLP
5. Mr. Li Junfeng, Director of the Education and Training Department of CFLP
6. Mr. Huang Ying, Education and Training Department of CFLP
7. Mr. Lv Yang, China Logistics Society
ในการอภิปรายช่วงนี้มุ่งเน้นไปที่วัตถุประสงค์ของโครงการ โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าระหว่างจีนและแอฟริกา ยุโรป มาเลเซีย และสิงคโปร์ผ่านระบบรางของไทย ในระหว่างการอภิปราย ศาสตราจารย์ Zhang Xiaodong จากมหาวิทยาลัย Beijing Jiaotong ได้เปรียบเทียบความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของแผนรถไฟทั่วเอเชียของจีนกับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของการวางแผนเส้นทางรถไฟนี้ เขาให้คำแนะนำที่สร้างสรรค์และลึกซึ้ง
ระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2567 วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุจิรา อุ่นเจริญ คณบดี อาจารย์ ดร.เพียงออ เลาหะวิไลย, รองศาสตราจารย์ ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ คณะผู้บริหารจากสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พร้อมคณะทำงาน เดินทางเยือน China Enterprise News ณ ศูนย์แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ China Enterprise News เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือการสำรวจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งมาใช้การขนส่งระบบรางของไทย โดยเข้าพบ
1. Mr. Wang Siheng, Vice President and Chairman of China Enterprise News
2. Mr. Jin Zhanjie, Chairman of Dingyuan International Arts Center
3. Mr. Shi Xiaoling, Deputy General Manager of Beijing Enterprise Innovation Huidu Real Estate Development Co.,Ltd.
4. Mr. Jiang Jingang, China Enterprise News Group Consultant
5. Mr. Zhu Ying, Director of Corporate Property and Public Relations, China Enterprise News
6. Mr. Yang Ying, Director of the State-owned Enterprise Publicity of China Enterprise News
7. Mrs. Liu Yunbai, Assistant Director of the Government-Enterprise Cooperation Center of China Enterprise News
8. Mr. Wang Yinquan, Government-Enterprise Cooperation Center, China Enterprise News
9. Mr. Duo Ranwei, Southeast Asia Legal Representative, China Railway First Group Company
10. Mr. Hong Haiping, Marketing Director of International Business Division, China Railway First Group Company
11. Mr. Zhang Changlei, Commercial Manager, International Business Division, China Railway First Group Company
การเข้าเยี่ยมเยือน บริษัท China Machinery Engineering Corporation (CMEC Group) กลุ่มบริษัทการรับเหมาด้านวิศวกรรมและการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐานประเภทต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญการก่อสร้าง โครงการขนส่งทั้งระบบราง ทางหลวง เครื่องบิน โครงการอุตสาหกรรม โครงข่ายไฟฟ้า เป็นต้น โดยได้เจรจาหารือร่วมกันเกี่ยวกับโครงการฯ
นอกจากนั้น ได้เข้าเยี่ยมเยือน สมาคม China Customs Brokers Association (CCBA) ณ ห้องประชุมชั้น 5 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุจิรา อุ่นเจริญ คณบดีได้กล่าวรายละเอียดวัตถุประสงค์โครงการและเจรจาความร่วมมือในการจัดหาข้อมูลด้านการขนส่งสินค้าของประเทศจีน โดยสมาคม CCBA ได้รับมอบหมายจากกระทรวงศึกษาธิการของประเทศจีนในการฝึกอบรมและทดสอบคุณสมบัติสำหรับนายหน้าศุลการและยังเป็นหน่วยงานในการให้คำแนะนำ สนับสนุนงานการศึกษาระดับชาติด้านศุลกากรและการค้า มีภารกิจในการพัฒนามาตรฐานอุตสาหกรรม พิธีการศุลกากร โดยคณะเดินทางได้พบกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ สมาคม CCBA ดังต่อไปนี้
1. Mr. Zhang Peng, Secretary General of the China Customs Brokers Association
2. Mr. Wang Binbin, International Affairs Officer of the China Customs Brokers Association และตัวแทนเครือข่ายพิธีการศุลกากรของจีน ETCN
3. Mr. HU Cong, General Manager
4. Mr. Qiang Bin, Vice- General Manager
5. Mr. Zhao Wenjun, Vice- General Manager
6. Ms. Wang Xiaoqing, Director of the Data Center
7. Ms. Yuan Chuanyan, Data Center Officer
สมาคม China Customs Brokers Association (CCBA) ได้แสดงทัศนคติเชิงบวกต่อโครงการนี้ และแสดงความเต็มใจที่จะกระชับความร่วมมือกับวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล ทางสมาคม CCBA ยังแสดงความตั้งใจที่จะจัดตั้งคณะผู้แทนจากองค์กรต่างๆ เพื่อดำเนินการตรวจสอบเชิงลึกเกี่ยวกับระบบห่วงโซ่อุปทานของเส้นทางรถไฟสายนี้ในอนาคต
การเข้าเยี่ยมเยือน บริษัท China Civil Engineering Construction Corporation (CCECC) บริษัทก่อสร้างวิศวกรรมโยธาแห่งประเทศจีน บริษัทชั้นนำระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียง ภายใต้ China Railway Construction Corporation (CRCC) หนึ่งในบริษัท Fortune Global 500 ก่อตั้งในปี 1979 ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างโครงการต่างๆในระดับนานาชาติ มีโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่กว่า 110 ประเทศ ที่ให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ การดำเนินการก่อสร้างทั้งทางรถไฟ สนามบิน ท่าเรือ สวนอุตสาหกรรม สะพาน การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การทำเหมืองแร่ การนำเข้าส่งออก และมีโครงการสำคัญที่ดำเนินการภายใต้ โครงการแถบและเส้นทาง Belt and Road Initiative (BRI) ยกตัวอย่าง เช่น Novi Sad-Subotica Section of the Hungary- Serbia Railway, Ankara-Istanbul High Speed Railway Phase II , UAE Etihad Rail Stage II เป็นต้น โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุจิรา อุ่นเจริญ คณบดีได้กล่าวรายละเอียดวัตถุประสงค์โครงการและเจรจาความร่วมมือเกี่ยวกับโครงการฯ โดยได้พบกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ CCECC ดังต่อไปนี้
1. Mr.Wang Xiangdong Vice President
2. Mr. Huang Quan, Deputy General Manager, CRCC International and Consulting Company
3. Mr. Lu Yong, Deputy General Manager, Overseas Business Dept. (Asia & Oceania)
4. Mr. Zhao Ji, Assistant General Manager of CCECC Business Operation Division CRCC International Rail Transit
5. Mr. Dong Shun, Operation Company Overseas Business Dept. (Asia &Oceania)
6. Mr. Zhang Chaoming, Business Development Manager
โดยทางบริษัท CCECC แสดงความกังวลเกี่ยวกับความคืบหน้าการก่อสร้างการรถไฟไทย พวกเขายังหวังที่จะลงนามบันทึกความร่วมมือกับวิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลนานาชาติต่อไปในอนาคต โดยให้การสนับสนุนทางวิชาการระดับมืออาชีพสำหรับกิจกรรมการวางแผนและการวิจัยของบริษัท CCECC ในประเทศไทย
การเยี่ยมเยือน ASEAN innovation and development promotion association ที่เป็นคู่ความร่วมมือของวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัลจากโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในกลุ่มประเทศสมาชิกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขงเมื่อปีที่ผ่านมา โดย Mr. Shen Sunan ประธานกรรมการ ASEAN innovation and development promotion association ได้อำนวยความสะดวกและช่วยดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆในการเดินทางครั้งนี้ ทางคณะทำงานได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันกับเกี่ยวกับโครงการที่วิทยาลัยฯดำเนินการ นอกจากนั้น คณะทำงานได้ลงพื้นที่สำรวจ Beijingxi Railway Station อีกด้วย เพื่อรวมรวมข้อมูลการขนส่งสินค้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบันอย่างรอบด้าน และสำรวจความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งมาใช้การขนส่งระบบรางของไทย ให้การขนส่งสินค้าจากจีนที่ได้เชื่อมต่อกับประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงทั้งทางรถยนต์และระบบรางเส้นทางรถไฟจีน-ลาวที่เชื่อมมาไทย ขยายผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอาเซียน เป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญของภูมิภาคเอเชีย เป็นศูนย์กลางการคมนาคม การขนส่ง การกระจายสินค้า การค้าการลงทุนต่อไปในอนาคต