CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
วันมะเร็งโลก วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันที่องค์การอนามัยโลกและสมาคมต่อต้านมะเร็งสากลกำหนดให้เป็นวันมะเร็งโลก (WORLD CANCER DAY)
5 กุมภาพันธ์ 2567
คณะแพทยศาสตร์
ปัจจุบันนี้ประชาชนทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับโรคมะเร็งมากขึ้นและถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ควรทำความรู้จัก เนื่องจากในแต่ละปีมะเร็งได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกในอัตราที่สูงมากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้คนทั่วโลกตระหนักถึงภัยร้ายจากโรคมะเร็ง รวมถึงรณรงค์ให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพของตนเอง จึงได้มีการกำหนด วันมะเร็งโลก ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์
จากสถิติโรคมะเร็งของหญิงไทยทั้งประเทศ จากองค์การอนามัยโลก ในปี 2563 พบว่าโรคมะเร็งร้ายที่ต้องระวังอันดับแรกมากที่สุดคือ มะเร็งเต้านม อันดับที่สองคือมะเร็งลำไส้ใหญ่ และอันดับที่สามคือ มะเร็งปากมดลูก ตามด้วยอันดับที่ 4 มะเร็งตับ อันดับที่ 5 คือมะเร็งปอด
โรคมะเร็งร้าย 3 โรคที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในเต้านม โดยเฉพาะเซลล์ท่อน้ำนม โดยเซลล์จะเริ่มแบ่งตัวผิดปกติแล้วลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง จากนั้นหากปล่อยไว้ อาจแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่น ๆ ในร่างกายได้ ผ่านทางเดินน้ำเหลือง อัตราการเกิดโรคของทั่วโลก พบว่าผู้หญิง 8 ราย จะพบโรคมะเร็ง 1 ราย อุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมในไทยคิดเป็น 37.8 ราย ต่อประชากรแสนราย ซึ่งในจำนวนนี้มีอัตราการเสียชีวิต 12.7 ราย ต่อประชากร 1 แสนราย
??สาเหตุ
-ส่วนใหญ่เกิดจากฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนที่มีมากเกินไป
-ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม การรับประทานอาหารประเภทไขมันสูง
•ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้แก่
-อายุที่มากขึ้น
-มีประวัติโรคมะเร็งเต้านมในครอบครัว
-น้ำหนักตัวมาก หรือเคยมีประวัติตรวจพบก้อนที่เต้านมมาก่อน
??อาการของโรคได้แก่
-มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
-ขนาดหรือสีผิวของเต้านม
-มีของเหลวไหลออกจากหัวนม หรือคลำเป็นก้อนได้ที่เต้านมหรือรักแร้
??การตรวจมะเร็งเต้านม
-สามารถตรวจมะเร็งเต้านมได้ด้วยตนเอง สามารถคลำตรวจด้วยตนเองทำได้ทุกเดือน เมื่อคลำแล้วพบก้อนที่ผิดปกติ แล้วไม่สบายใจ ไม่แน่ใจ ให้เข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
-การตรวจเต้านมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เมื่อคลำแล้วพบก้อนที่ผิดปกติ แล้วไม่สบายใจ ไม่แนใจ
-การตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านม
จากรายงานทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล ประเทศไทยส่วนมาก พบในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 หากพบโรคตั้งแต่ระยะแรก โอกาสการรักษาที่จะหายขาดมากขึ้น
***ข้อแนะนำ ผู้หญิงไทยควรตรวจมะเร็งเต้านมได้ด้วยตนเอง ภายใต้โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม ตั้งแต่ปี 2542 ให้รณรงค์ประชากรหญิงไทยตรวจเต้านมด้วยตนเอง ซึ่งการศึกษาวิจัยได้ออกมาแล้ว ได้รับการตีพิมพ์ พบว่าการตรวจด้วยตนเอง สามารถพบก้อนมะเร็งที่เต้านมได้เร็วขึ้น หากพบก้อนที่มีขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร มีอัตราการรอดชีวิตที่ดีกว่าคนที่พบก้อนเนื้อที่มีขนาดใหญ่แล้ว
อย่างไรก็ตาม การตรวจภาพรังสีเต้านม เป็นการตรวจหาโรคมะเร็งเต้านมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดอัตราการพบมะเร็งเต้านมในระยะลุกลาม และสามารถเพิ่มการรอดชีวิต
•การตรวจคัดกรอง
ควรตรวจเมื่อประจำเดือนหมดไปแล้ว 7 – 10 วัน เพราะเป็นระยะที่เต้านมนิ่มแล้ว หากตรวจก่อนที่มีประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนหมาดๆ จะตรวจเต้านมได้ยากและเจ็บ
-ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 20 ปี คลำเต้านมตัวเอง (BSE) ทุกเดือน ในช่วงอายุที่ไม่จำเป็นตรวจแมมโมแกรม
-ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี คลำเต้านมตัวเอง (BSE) ทุกเดือน + ตรวจแมมโมแกรม ทุก 2 ปี
-ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี คลำเต้านมตัวเอง (BSE) ทุกเดือน + ตรวจแมมโมแกรม ทุก 1 ปี
-ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี คลำเต้านมตัวเอง (BSE) ทุกเดือน + ตรวจแมมโมแกรม ทุก 1-2 ปี
•กลุ่มเสี่ยงตรวจคัดกรองทุกปี
-ญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งที่รังไข่ที่อายุน้อยกว่า 50 ปี
-ผู้ที่มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม
-ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายแสงบริเวณหน้าอก
-ผู้ที่มีประวัติชิ้นเนื้อเต้านมพบเซล์ผิดปกติ
-ผู้ที่ได้รับประทานฮอร์โมนเสริมทดแทนวัยหมดประจำเดือนเป็นประจำมากกว่า 5 ปี
??แนวทางการรักษา
แนวทางการรักษาหลักคือการผ่าตัด ซึ่งแบ่งออกเป็นการผ่าตัดแบบสงวนเต้าและการผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ อาจจำเป็นต้องให้การฉายรังสี และหรือการให้ยาเคมีบำบัด และหรือการให้ฮอร์โมนบำบัดร่วมด้วย
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ใหญ่คือมะเร็งส่วนที่เรียกว่า ลำไส้ใหญ่โคลอน และลำไส้ตรง ซึ่งอยู่ เหนือ ต่อทวารหนัก พบว่าผู้หญิงไทยเป็นอันดับที่ 2 รองจากมะเร็งเต้านม อุบัติการณ์ของมะเร็งลำไส้ใหญ่คิดเป็น 15.2 ราย ต่อประชากร 1 แสนราย ซึ่งในจำนวนนี้มีอัตราการเสียชีวิต 8 ราย ต่อประชากร 1 แสนราย อย่างไรก็ตามมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ชายเช่นกัน
??การตรวจคัดกรอง
การตรวจหาความผิดปกติที่ลำไส้ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ได้อย่างชัดเจน
??สาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่
-พันธุกรรม บุคคลที่มีพ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก ป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
-ผู้ที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังของลำไส้บางอย่าง จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงกว่าคนทั่วไป
-มีอาการท้องผูกเป็นประจำ
-รับประทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก ผักและผลไม้น้อย ไม่ออกกำลังกาย
??วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (เริ่มต้นอายุ 50 ปี)
-ตรวจอุจจาระหาเลือดที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าปีละครั้ง
-การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลายร่วมกับการตรวจการตรวจสวนแป้งลำไส้ใหญ่ทุก 5 ปี
-การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ด้วยภาพเสมือนจริง ทุก 5 ปี ทั้งนี้ควรทำในสถาบันที่มีเครื่องมือที่มีความละเอียด แพทย์ต้องมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งปัจจุบันสามารถตรวจพบเนื้องอกที่มีขนาดมากกว่า 9 มิลลิเมตรได้มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
แนวทางการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
-รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ผัก และผลไม้ รวมไปถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันต่ำ
-รับการตรวจคัดกรอง
-ในผู้ที่ไม่มีอาการ และไม่มีในปัจจัยเสี่ยง ควรเริ่มต้นที่อายุ 50 ปี
-สำหรับผู้ที่มีประวัติมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว ควรเริ่มตรวจคัดกรองที่อายุ 40 ปี หรือที่อายุ 5 ปี ก่อนอายุของคนในครอบครัวที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
-ส่วนผู้ที่มีประวัติเป็นลำไส้อักเสบชนิด Crohn’s disease และ Ulcerative colitis หรือผู้ป่วย ที่มีติ่งเนื้องอกจำนวนมาก (Polyposis Coli) การตรวจอาจเริ่มในอายุที่เร็วขึ้น
??แนวทางการรักษา
-การรักษาในระยะต้น การรักษาหลักคือ การผ่าตัด
-เคมีบำบัด
-ฉายรังสี
มะเร็งปากมดลูก
เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในเซลล์ปากมดลูกซึ่งอยู่บริเวณช่วงล่างของมดลูกและเชื่อมต่อกับช่องคลอด
อุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกคิดเป็น 16.4 ราย ต่อประชากร 1 แสนราย ซึ่งในจำนวนนี้มีอัตราการเสียชีวิต 7.4 ราย ต่อประชากร 1 แสนราย เป็นมะเร็งไม่กี่ชนิดที่สามารถป้องกันได้ โดย
-การฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ป้องกันชั้นเริ่มแรกที่ปากมดลูกไม่ให้ติดเชื้อ HPV ได้
-การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกป้องกันชั้นที่สอง มองหารอยโรค เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที
??อาการแสดง
-มักไม่มีอาการในช่วงแรก จะมีอาการก็ต่อเมื่อเข้าสู่ระยะรุนแรงมากขึ้น อาจมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือจากการตรวจภายใน
-บางรายอาจจะมีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ไม่ใช่รอบเดือน มีเลือดออกหลังจากเข้าสู่วัยทองแล้ว
-มีภาวะตกขาวมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
-มีอาการปวดท้องน้อย
สาเหตุหลักคือการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) คือ ไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (Human papillomavirus)
-หากผู้หญิงติดเชื้อ HPV จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงที่เซลล์ปากมดลูก ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น หูดหงอนไก่ มะเร็งปากมดลูก ฯลฯ
-โดยมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี มีเพศสัมพันธ์หลายคน สูบบุหรี่ มีลูกมาก และผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
??การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
•แป๊บสเมียร์
-เป็นการเก็บเซลล์ปากมดลูกมาป้ายบนสไลด์
-ความแม่นยำในการตรวจขึ้นอยู่กับความชำนาญผู้อ่านสไลด์
•ลิควิดเบส
-เป็นการเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกมาเก็บไว้ในน้ำยา เพื่อรักษาเซลล์ และกำจัดสิ่งปนเปื้อนพวกมูก หรือพวกเม็ดเลือดแดง
•HPV DNA Test
-เป็นเทคนิคทางด้านชีวโมเลกุล ที่จะตรวจหาตัวเชื้อ HPV ได้โดยตรง
-ทำให้สามารถตรวจหาระยะของโรคก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง
-วิธีการตรวจเหมือนตรวจภายใน คือเก็บเซลล์บริเวณตัวอย่างที่ปากมดลูกช่องคลอดด้านใน ส่งตรวจเหมือนวิธีการตรวจด้วยน้ำยา
??การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย)
-อายุน้อยกว่า 25 ปี ไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรอง
(ยกเว้นในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ติดเชื้อ HIV มีคู่นอนหลายคน เป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์)
-เมื่อ 25-65 ปี : เริ่มตรวจคัดกรองที่อายุ 25 ปี (เมื่อมีเพศสัมพันธ์)
:เริ่มตรวจคัดกรองที่อายุ 30 ปี (เมื่อยังไม่มีเพศสัมพันธ์)
ด้วยวิธีต่อไปนี้ HPV DNA testing/Co-testing ทุก 5 ปี หรือ Cytology อย่างเดียว ทุก 2 ปี
อย่างไรก็ตาม การดูแลร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ จากพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยส่วนใหญ่เปลี่ยนไปตามกระแสทางตะวันตกมากขึ้น นิยมรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์ อาหารและขนมที่มีไขมันสูง ไม่รับประทานผักและผลไม้ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และขาดการออกกำลังกาย ดังนั้นจึงควรหันมาใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ)พญ.อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์ อาจารย์หน่วยรังสีรักษาเเละมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช. และ ประธานเครือข่ายมะเร็งเต้านมภาคเหนือ
เรียบเรียง:นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: