CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
ผู้ป่วยโรคไต ควรฉีดวัคซีนโควิค-19 หากติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตสูง
6 กรกฎาคม 2564
คณะแพทยศาสตร์
ทำไมผู้ป่วยโรคไตจึงควรฉีดรับวัคซีนโควิค-19
หากผู้ป่วยโรคไตติดเชื้อโควิด-19 จะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ฟอกเลือด ล้างไตทางหน้าท้อง หรือได้รับการปลูกถ่ายไต หากติดเชื้อโควิด-19 จะมีโอกาสเสียชีวิต 30-40%
-ผู้ป่วยโรคไตควรฉีดวัคซีนโควิด-19 ชนิดใด
สามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่มีอยู่ในประเทศไทยได้ทุกชนิด ทั้งวัคซีนของบริษัทซิโนเเวค แอสตร้าเซเนก้า รวมทั้งวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ และโมเดอร์นา ที่กำลังจะเข้ามา โดยไม่จำเป็นต้องเช็คค่าการทำงานของไตก่อนหรือหลังการฉีด โดยผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคไตไม่มี
ความแตกต่างจากประชาชนทั่วไป
-ผู้ป่วยโรคไตควรได้รับวัคซีนโควิด-19 กี่เข็ม
ต้องได้รับการฉีดอย่างน้อย 2 เข็ม และอาจต้องมีการฉีดเข็มที่ 3 ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือด ล้างไตทางหน้าท้อง หรือผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้มากขึ้นเนื่องจากภูมิต้านทานต่อไวรัสหลังการฉีดวัคซีนในผู้ป่วยโรคไตจะขึ้นได้น้อยกว่าคนทั่วไป
-ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน โควิค-19 สำหรับผู้ป่วยโรคไต
ไม่แตกต่างจากประชาชนทั่วไป เช่น ภาวะความดันโลหิตรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุม หรือมีภาวะเจ็บป่วย ควรเลื่อนการฉีดวัคซีน
-คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไต
วันฉีดวัคซีนผู้ป่วยโรคไตไม่ต้องหยุดยาที่รับประทานประจำ ผู้ที่จะเข้ารับการปลูกถ่ายไตควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ก่อนการปลูกถ่ายไต
หากได้รับการปลูกถ่ายไตแล้ว หรือหากเกิดภาวะปฏิเสธไต และได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันขนาดสูง แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หลังการปลูกถ่ายไตแล้วอย่างน้อย 1 เดือน
ข้อมูลโดย รศ.นพ.ขจรศักดิ์ นพคุณ รองผู้อำนวยการรพ.มหาราชนครเชียงใหม่ และอาจารย์ประจำหน่วยวิชาโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU
#COVID19
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
สื่อความรู้ (COVID-19)
สุขภาพ
ข่าวสาร (COVID-19)
ข่าวเด่น
ข่าวสาร PM2.5
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: