CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
เฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) โรคระบาดใหม่ที่ทุกคนต้องรู้
8 สิงหาคม 2565
คณะแพทยศาสตร์
เป็นที่จับตาและเฝ้าระวังกันทั่วโลกกับโรคระบาดใหม่ “โรคฝีดาษลิง” หรือ “โรคฝีดาษวานร” (Monkeypox) ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในต่างประเทศ ถึงแม้ว่าสถานการณ์ จำนวนผู้ติดเชื้อของโรคฝีดาษลิง ในประเทศไทยจะมีจำนวนน้อย แต่ก็นับว่าเป็นโรคที่ใกล้ตัวเราเข้ามาทุกที สร้างความวิตกกังวลให้ใครหลายคนที่กลัว เพราะถึงแม้จะไม่รุนแรงถึงขึ้นเสียชีวิต แต่ก็อาจเสียโฉมอย่างถาวรก็เป็นได้
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า เชื้อไวรัส Monkeypox เป็นเชื้อที่มาจากสัตว์ แต่สามารถนำเชื้อมาสู่คนได้ เป็นไวรัสกลุ่มเดียวกันกับเชื้อไวรัสวาริโอลา (Variola virus) ที่สามารถติดต่อกันได้โดยผ่านการใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือการหายใจนำเชื้อไวรัสที่อยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก หรือน้ำลายของผู้ป่วย ซึ่งเป็นที่มาของการเกิดโรคฝีดาษในสมัยก่อน
โดยโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1958 ในประชากรลิงที่อยู่ในห้องทดลอง จึงเป็นที่มาของชื่อโรคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน เราพบว่าแหล่งโรคที่สำคัญของเชื้อไวรัส Monkeypox โดยพบเชื้อในสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระแต และลิงในประเทศแถบแอฟริกาเป็นหลัก
ก่อนการเกิดการระบาดของโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ในปี 2022 นี้ มีรายงานการติดเชื้อไวรัส Monkeypox ในมนุษย์ จากหลายประเทศแถบทวีปแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตกมาเป็นระยะ ก่อนหน้านี้เคสที่เกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่นอกทวีปแอฟริกามักมีความเชื่อมโยงกับการเคลื่อนย้ายของสัตว์ระหว่างประเทศ เป็นหลัก
อาการและอาการแสดง ของผู้ป่วยที่เป็นโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ประกอบไปด้วย 3 ระยะคือ
1. ระยะฟักตัว ประมาณ 5-21 วันหลังรับเชื้อ
2. ระยะไข้ มีอาการประมาณ 1-5 วัน นอกจากนี้ยังสามารถพบอาการอื่นๆ ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งการพบต่อมน้ำเหลืองโตนี้เป็นลักษณะเด่นของคนไข้ที่เป็นโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ซึ่งใช้แยกจากโรคอื่นๆที่อาการคล้ายคลึงกัน เช่น อีสุกอีใส เป็นต้น
3. ระยะผื่น มีอาการประมาณ 2-4 สัปดาห์ ซึ่งลักษณะของผื่นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ดังนี้คือ เริ่มต้นจากตุ่มนูนแดง > ตุ่มน้ำใส > ตุ่มหนอง > ตกสะเก็ด > หลุดไป โดยการกระจายของผื่นจะเด่นบริเวณใบหน้า ในปาก ฝ่ามือฝ่าเท้า และบริเวณอวัยวะเพศ
อย่างไรก็ตาม โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคไม่รุนแรง สามารถหายได้เอง และอัตราการเสียชีวิตต่ำ
การแพร่กระจายของเชื้อ เกิดได้หลายทาง ดังนี้
1. การสัมผัสโดยตรงกับผื่น หรือสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ
2. ทางการหายใจที่มีความใกล้ชิดและอยู่ร่วมกันเป็นเวลานาน รวมไปถึงการสัมผัสทางกายแบบแนบชิด เช่น การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ
3. สัมผัสสิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องใช้ เสื้อผ้า ของผู้ที่ติดเชื้อ
4. จากแม่สู่ลูกผ่านทางรก
โดยการแพร่เชื้อของโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ช่วงที่มีอาการไปจนกระทั่งผื่นตกสะเก็ดหายและมีชั้นผิวหนังขึ้นมาใหม่ โดยทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการจะไม่สามารถแพร่เชื้อได้ ซึ่งแตกต่างจากโควิด 19 และ ณ ข้อมูลปัจจุบัน (3 ส.ค. 2565) ยังไม่ทราบว่าโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) สามารถแพร่เชื้อผ่านน้ำอสุจิหรือสารคัดหลั่งจากช่องคลอดได้หรือไม่
การป้องกัน
1. ห้ามสัมผัสผื่น ในผู้ที่มีผื่นคล้าย สงสัยหรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคฝีดาษลิง (Monkeypox)
2. ห้ามสัมผัสทางกายใกล้ชิด เช่น การมีเพศสัมพันธ์กับ ผู้ที่เป็นโรคฝีดาษลิง (Monkeypox)
3. ห้ามใช้อุปกรณ์การกิน เช่น ช้อน ส้อม ร่วมกับผู้ที่เป็นโรคฝีดาษลิง (Monkeypox)
4. ห้ามสัมผัสโดยตรงกับอุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัวของผู้ที่เป็นโรคฝีดาษลิง (Monkeypox)
เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า เป็นต้น
5. หมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์
6. หากอาศัยหรือไปเที่ยวแถบทวีปแอฟริกากลางและตะวันตก ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์กลุ่มสัตว์ฟันแทะและลิง โดยเฉพาะสัตว์ที่มีอาการป่วยหรือตาย
อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน( 3/8/2565) ยังไม่มียารักษาที่จำเพาะต่อโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) แต่มีความเป็นไปได้ว่า สามารถใช้ยาต้านไวรัสของโรคฝีดาษ มาใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ได้ เนื่องจากเชื้อไวรัสทั้งสองตัวมีลักษณะทางพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกัน โดยยาต้านไวรัสดังกล่าวมีข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อรุนแรงหรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่องเท่านั้น สำหรับผู้ป่วยโดยทั่วไปสามารถหายเองได้และอาการมักไม่รุนแรง
ที่มา: ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention, CDC)
ติดตามผ่านช่องทาง
Youtube : https://cmu.to/gc03E
https://www.youtube.com/watch?v=NQ3hBpDP9I4
#โรคฝีดาษลิง #Monkeypox
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: