คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คว้ารางวัลระดับประเทศ สุดยอดแบรนด์ที่มีผลงานยอดเยี่ยม บนโซเชียลมีเดีย ในงาน THAILAND SOCIAL AWARDS ครั้งที่ 12

6 มีนาคม 2567

คณะแพทยศาสตร์

ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. พร้อมด้วย ผศ.พญ.พุดตาน วงศ์ตรีรัตนชัย รองคณบดีด้านสื่อสารองค์กร และ คุณธวัชชัย กฤติยาภิชาตกุล ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ คณะแพทยศาสตร์ มช. ร่วมในงานมอบรางวัล สุดยอดแบรนด์ที่มีผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย THAILAND SOCIAL AWARDS ครั้งที่ 12 ซึ่งเป็นงานประกาศรางวัลโซเชียลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย จัดโดย บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาด เพื่อให้ความสำคัญกับวงการโซเชียล ที่เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ อีกทั้ง ร่วมส่งเสริมการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ และยกระดับวงการโซเชียล ด้วยการมอบรางวัลเชิดชูผู้ใช้โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมในสาขาต่าง ๆ โดยคณะแพทยศาสตร์ มช. โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้รับรางวัล BEST BRAND PERFORMANCE ON SOCIAL MEDIA กลุ่มแบรนด์ที่ทำผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย สาขาโรงพยาบาล โดยมีกลุ่มงานสื่อสารองค์กร งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มช. ร่วมรับมอบรางวัล ในวันที่ 1 มีนาคม 2567 ณ TRUE ICON HALL ICONSIAM กรุงเทพมหานคร

?ทั้งนี้ รางวัล THAILAND SOCIAL AWARDS ได้พัฒนาเกณฑ์การวัดประสิทธิภาพการสื่อสาร หรือ WISESIGHT BRAND METRIC ร่วมกับคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 14 ท่าน ผ่านเกณฑ์การวัดประสิทธิภาพการสื่อสาร 4 ค่าชี้วัด คือ

1. ค่าชี้วัดแบรนด์ (BRAND SCORE)
ค่าชี้วัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของแบรนด์ในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ โดยวัดประสิทธิภาพการสื่อสารจากช่องทางหลักของแบรนด์ (Own Chanel) และจากช่องทางที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ (Earn Channel) ผ่าน 5 ช่องทาง ดังนี้ Facebook, Instagram, TikTok, Twitter และ YouTube โดยพิจารณาผ่าน 2 มุมมองหลักคือ การวัดผลประสิทธิภาพเชิงปริมาณ และการวัดประสิทธิภาพเชิงคุณภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้

การวัดประสิทธิภาพเชิงปริมาณ
• Follower (จำนวนผู้ติดตาม)
• Fan Growth (การเติบโตของผู้ติดตาม)
• View & Interaction (จำนวนความสนใจที่บุคคลมีต่อเนื้อหาของแบรนด์)
• Unique Daily Social Mentions (จำนวนข้อความต่อหนึ่งผู้ใช้งานต่อวันที่พูดถึงแบรนด์บนโซเชียลมีเดีย)

การวัดประสิทธิภาพเชิงคุณภาพ
• Comment & Share Ratio (การแสดงความคิดเห็น และการส่งต่อเนื้อหาของแบรนด์)
• Advocacy (การสนับสนุนเนื้อหาของแบรนด์โดยการแนะนำให้กับบุคคลอื่น)
• Intention (จำนวนเนื้อหาที่แสดงความสนใจซื้อที่มีต่อแบรนด์)
• Sentiment (ความคิดเห็นที่มีต่อแบรนด์)
2. ค่าชี้วัดประสิทธิภาพการสื่อสารจากช่องทางหลักของแบรนด์ (OWN SCORE)
ใน 5 ช่องทาง ได้แก่ Facebook, Instagram, TikTok, Twitter และ YouTube
3. ค่าชี้วัดประสิทธิภาพการสื่อสารจากช่องทางที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ (EARN SCORE)
ใน 5 ช่องทาง ได้แก่ Facebook, Instagram, TikTok, Twitter และ YouTube
4. ค่าชี้วัดการแสดงความคิดเห็นที่มีต่อแบรนด์ (SENTIMENT SCORE)

?คณะแพทยศาสตร์ มช. โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้พัฒนาการสร้างสรรค์สื่อผ่านการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียหลากหลายช่องทาง อาทิ Facebook, YouTube, Instagram, Twitter, TikTok เพื่อวัตถุประสงค์ในการเข้าถึงกลุ่มผู้ติดตามที่หลากหลายช่วงวัย ตอบสนองความต้องการในการให้บริการความรู้ด้านสุขภาพ และเพื่อขับเคลื่อนการสื่อสารภายในองค์กร สู่การบริการทางการแพทย์ด้านต่าง ๆ สู่ชุมชน พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมจากผู้ติดตามผ่านกิจกรรมในช่องทางโซเชียลมีเดียมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การดูแลและอำนวยการผลิต โดยผู้บริหารและบุคลากร จากกลุ่มงานสื่อสารองค์กร งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มช. เพื่อมุ่งสู่การเป็นโรงเรียนแพทย์ในดวงใจ เพื่อการยกระดับสุขภาวะของมนุษยชาติอย่างยั่งยืน

?ทั้งนี้ การได้รับรางวัล BEST BRAND PERFORMANCE ON SOCIAL MEDIA สาขา HOSPITAL นับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของชาวสวนดอก และคณะแพทยศาสตร์ มช. โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จะยังคงมุ่งมั่น สร้างสรรค์ พัฒนาคอนเทนต์ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้รับบริการที่มีต่อแบรนด์ “MED CMU”

ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แกลลอรี่