CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
อาจารย์แพทย์ มช. เตือนระวัง! แมลงเข้าหู อย่านิ่งนอนใจ ให้รีบพบแพทย์ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ติดเชื้อได้ อันตรายกว่าที่คิด
6 มีนาคม 2567
คณะแพทยศาสตร์
อาจารย์แพทย์ มช. เตือนระวัง! แมลงเข้าหู อย่านิ่งนอนใจ ให้รีบพบแพทย์ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ติดเชื้อได้ อันตรายกว่าที่คิด
อาจารย์แพทย์ประจำ หน่วยโสตวิทยา โสตประสาทวิทยา และการสื่อความหมาย คณะแพทยศาสตร์ มช. เตือนประชาชน แมลงบินเข้าหู อันตราย หลังพบเด็กมีแมลงเม่าบินเข้าหูขณะนั่งรับประทานอาหาร แนะนำควรรีบพบแพทย์ ในโรงพยาบาลใกล้บ้าน หากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจทำให้ติดเชื้อได้
ผศ.นพ.จารึก หาญประเสริฐพงษ์ หัวหน้าหน่วยโสตวิทยา โสตประสาทวิทยา และการสื่อความหมาย ประจำภาควิชาโสต ศอ นาสิก วิทยา คณะแพทย์ มช. เปิดเผยว่า กรณีเด็กถูกสิ่งแปลกปลอมเข้าหู เป็นสิ่งที่แพทย์ พบอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสิ่งแปลกปลอมที่มีชีวิต เช่น แมลง โดยเฉพาะแมลงเม่าที่พบได้ในฤดูฝน เห็บจากสุนัข และแมว พบได้ในฤดูหนาว หรือแม้กระทั่งเด็กที่ชอบเล่นของเล่นแล้วนำเศษของเล่นชิ้นเล็กๆ ยัดเข้าไปในหูตัวเอง เช่นเยลลี่ ลูกปัด เป็นต้น
ล่าสุดพบผู้ป่วยเด็กกำลังไปรับประทานอาหารในร้านอาหารแห่งหนึ่ง ถูกแมลงเม่าบินเข้ารูหู และรู้สึกเหมือนมีแมลงไต่ข้างในหู ผู้ปกครองจึงรีบพาเด็กมาพบแพทย์ ด้วยความโชคดีที่เด็กอยู่ในเมือง ใกล้โรงพยาบาล จึงพบแพทย์และทำการรักษาได้ทัน และนำแมลงออกจากหูได้อย่างปลอดภัย
ผศ.นพ.จารึก กล่าวอีกว่า กรณีผู้ป่วยอยู่ในพื้นที่ไกลจากคลินิก หรือโรงพยาบาลฯ หากมีสิ่งแปลกปลอมใดๆ เข้าไปในหูโดยเฉพาะสิ่งมีชีวิต หากเราปล่อยทิ้งไว้ จะทำให้แมลงเน่าตายในรูหู อาจเกิดเชื้อโรค ทำให้รูหูอักเสบมากยิ่งขึ้น กรณีพบแมลงเข้าหูขั้นตอนแรก ให้นำน้ำมันมะกอก หรือน้ำมันพืชที่มีติดตามบ้าน หยอดหูแล้วนอนตะแคงทิ้งไว้ซักพักหนึ่ง เพื่อให้แมลงในหูตาย แล้วก็คว่ำหูลงเพื่อให้แมลงไหลออกมาพร้อมน้ำมัน หลังจากนั้นให้รีบพบแพทย์ตามโรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อส่องดูอีกครั้งว่ายังมีแมลงอยู่ในนั้นหรือไม่
“ในความเป็นจริงแล้วเราไม่ควรนำเอาอะไรยัดเข้าไปในหู ไม่ว่าจะเป็น สำลี คัตตอนบัดแคะหู เนื่องจากปกติแล้วขี้หูของเราจะหลุดได้เองตามธรรมชาติ จากการอ้าปากขยับไปมา หากนำสำลี หรือคัตตอนบัด คุณภาพไม่ดีแยงเข้าไปที่หูอาจทำให้สำลีหลุดและดันเข้าใปอุดในหูได้ แต่หากกรณีมีน้ำเข้าหูให้นำสำลีเล็กๆ ซับน้ำออกได้แต่อย่าปั่นหรือหมุน เพราะจะทำให้ขี้หูเข้าไปอุดได้ สรุปคือ หากมีอะไรเข้าหูให้รีบพบแพทย์ใกล้บ้านโดยเร็ว อย่าปล่อยทิ้งไว้นาน
”ขี้หู“ ในแต่ละคนจะแตกต่างกัน ขี้หูบางคนมีลักษณะเหนียว เหลือง พบในผู้ที่มีผิวมัน บางคนขี้หูแข็งเหมือนก้อนหิน ดังนั้น ควรสังเกตขี้หูของตนเองว่ามีลักษณะที่ปกติหรือไม่ หากมีขี้หูออกมาเป็นสีเขียวปนเลือด หรือมีลักษณะเป็นเชื้อรา ที่มีลักษณะเหมือนทิชชู่เปียกน้ำ ให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง” ผศ.นพ.จารึก หาญประเสริฐพงษ์ กล่าว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.นพ.จารึก หาญประเสริฐพงษ์ หัวหน้าหน่วยโสตวิทยา โสตประสาทวิทยา และการสื่อความหมาย ประจำภาควิชาโสต ศอ นาสิก วิทยา
นางสาวนันทพร ระบิน รายงาน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: