วิสัยทัศน์
สถาบันชั้นนำด้านมนุษยศาสตร์และรับผิดชอบต่อสังคม
ค่านิยม 3 กว่า
ง่ายกว่า เร็วกว่า ดีกว่า
พันธกิจ
1. จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาและวิชาชีพชั้นสูงในระดับสากล มุ่งเน้นคุณธรรมและความเป็นเลิศด้านมนุษยศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว
2. ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการสร้างองค์ความรู้ และนำไปพัฒนาการเรียนการสอน และเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ท้องถิ่น ประเทศชาติ และสังคมโลกโดยมุ่งเน้นการทำวิจัยทั้งแบบสายตรง และแบบบูรณาการ
3. บริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรม การท่องเที่ยว ตามความต้องการของสังคม
4. ทำนุบำรุงและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมล้านนา ท้องถิ่นไทย กลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างดี และอนุรักษ์ทรัพยากรและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
5. พัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันวิชาการทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในภูมิภาคอาเซียน
6. พัฒนาการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ โปร่งใส พึ่งพาตนเองได้ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ยุทธศาสตร์เชิงรุก
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน (Environment and Energy Innovation)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : นวัตกรรมด้านอาหาร สุขภาพ และผู้สูงอายุ (Food, Health, and Aging Innovation)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna)
ยุทธศาสตร์ตามพันธกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม คุณภาพ และทักษะการเป็นพลเมืองโลก (Global citizen skills)
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : วิจัยเพื่อความเป็นเลิศและนวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : บริการวิชาการที่เกิดประโยชน์แก่สังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 7 : บริหารจัดการเชิงบูรณาการ
ประวัติความเป็นมา
คณะมนุษยศาสตร์ เป็นหนึ่งในสามคณะที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นในระยะเริ่มแรกของการก่อตั้ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ ทั้งสามคณะนี้ ได้เปิดสอนวิชาขั้นพื้นฐานทั้ง 3 หมวด คือ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ทั้งนี้เพราะ นักการศึกษาสมัยนั้นเชื่อว่าบัณฑิตที่สมบูรณ์แบบควรจะมีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับ สังคมของมนุษย์ เกี่ยวกับจิตใจและคุณสมบัติต่าง ๆ ของมนุษย์เอง ในปีแรกของการจัดตั้งคณะเมื่อปี พ.ศ.2507 นั้น คณะมนุษยศาสตร์มีอาจารย์ 20 คน อาจารย์พิเศษ 2 คน นักศึกษา 77 คน เจ้าหน้าที่ 3 คน เปิดทำการสอน 282 กระบวนวิชา
- พ.ศ.2500 คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกำหนดให้มี “คณะอักษรศาสตร์” เป็นคณะหนึ่งในสามของคณะวิชาพื้นฐาน
- พ.ศ.2505 คณะอนุกรรมการร่างหลักสูตร โดยมีหลวงสวัสดิสารศาสตร์พุทธิ เป็นประธาน ได้ร่าง หลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ และใช้คำว่า “คณะมนุษยธรรมศึกษา” ตามคำศัพท์ที่ใช้อยู่ในพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ.2479
- พ.ศ.2506 คณะอนุกรรมการร่างหลักสูตรในรายละเอียด โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี เป็นประธาน ได้ตกลงใช้คำว่า “คณะมนุษยศาสตร์” แทน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงเป็นสถาบันแรกที่เรียก "FACULTY OF HUMANITIES" ว่าคณะมนุษยศาสตร์
- พ.ศ.2507 เปิดสอน 4 ภาควิชา คือ ภาควิชาภาษาไทย ประวัติศาสตร์ ภาษาปัจจุบันต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส) และภาควิชามนุษยสัมพันธ์
- พ.ศ.2510 ก.พ. รับรองให้ปริญญาแก่หลักสูตรใน 6 สาขาวิชา คือ ประวัติศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส การสื่อสารมวลชน และจิตวิทยา
- พ.ศ.2511 สภาการศึกษาแห่งชาติได้อนุมัติให้จัดตั้งภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
- พ.ศ.2512 จัดตั้งภาควิชาจิตวิทยา และ ภาควิชาการสื่อสารมวลชน
- พ.ศ.2514 ก.พ. รับรองให้ปริญญาแก่หลักสูตรสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์
- พ.ศ.2515 ก.พ. รับรองให้ปริญญาแก่หลักสูตรสาขาวิชาภาษาเยอรมัน
- พ.ศ.2520 ก.พ. รับรองให้ปริญญาแก่หลักสูตรสาขาวิชาปรัชญา
- พ.ศ.2521 ก.พ. รับรองให้ปริญญาแก่หลักสูตรสาขาวิชาบ้านและชุมชน
- พ.ศ.2524 ทบวงฯ อนุมัติจัดตั้งภาควิชาภาษาอังกฤษ
- พ.ศ.2527 ก.พ. รับรองให้ปริญญาแก่หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาปรัชญา
- พ.ศ.2529 ก.พ. รับรองให้ปริญญาแก่หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาและวรรณกรรมล้านนา
- พ.ศ.2530 ก.พ. รับรองให้ปริญญาแก่หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
- พ.ศ.2531 ก.พ. รับรองให้ปริญญาแก่หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์
- พ.ศ.2531 ก.พ. รับรองให้ปริญญาแก่หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาโรงเรียน
- พ.ศ.2533 ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งภาควิชาปรัชญาและศาสนา
- พ.ศ.2537 ก.พ. รับรองให้ปริญญาแก่หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาการท่องเที่ยว
- พ.ศ.2538 ก.พ. รับรองให้ปริญญาแก่หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และ สารนิเทศศาสตร์
- พ.ศ.2539 ก.พ.รับรองให้ปริญญาแก่หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและ องค์การ
- พ.ศ.2539 ก.พ. รับรองให้ปริญญาแก่หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ภาษา และการสื่อสาร)
- พ.ศ.2542 ก.พ. รับรองให้ปริญญาแก่หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว
- พ.ศ.2544 สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่อนุมัติหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา
- พ.ศ.2546 สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่อนุมัติหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีน
- พ.ศ.2546 สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่อนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษา อังกฤษและสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น (ภาคพิเศษ)
- พ.ศ.2548 สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่อนุมัติหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย
รายนามคณบดีคณะมนุษยศาสตร์
1. ศาสตราจารย์ ดร. หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย (1 ธันวาคม 2507 – 30 กันยายน 2512)
2. อาจารย์ถิ่น รัติกนก (1 ตุลาคม 2512 – 30 กันยายน 2513)
3. ศาสตราจารย์ พันตรีอาคม พัฒิยะ (1 ตุลาคม 2513 – 9 กรกฎาคม 2517)
4. ศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม (10 กรกฎาคม 2517 – 30 กันยายน 2519)
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์รุ่งเรือง บุญโญรส (1 ตุลาคม 2519 – 18 สิงหาคม 2523)
6. รองศาสตราจารย์รวิ จิรานุกรม (19 สิงหาคม 2523 – 30 กันยายน 2526)
7. อาจารย์ ดร.วัฒนะ สุขสมัย (1 ตุลาคม 2526 – 30 กันยายน 2542)
8. รองศาสตราจารย์เอมอร ชิตตะโสภณ (1 ตุลาคม 2542 – 30 กันยายน 2546)
9. รองศาสตราจารย์ ดร.ประภา สุขเกษม (1 ตุลาคม 2546 – 30 กันยายน 2550)
10. รองศาสตราจารย์ โรม จิรานุกรม 1 ตุลาคม 2550 – 30 กันยายน 2554)
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี สวัสดิรักษ์พงศ์ (1 ตุลาคม 2554 – 21 ตุลาคม 2558)
12. รองศาสตราจารย์ ดร.ประภา สุขเกษม (22 ตุลาคม 2558 – 21 ตุลาคม 2562)
13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระวี จันทร์ส่อง (22 ตุลาคม 2562 – ปัจจุบัน)
โครงสร้างองค์กร