มาตรการช่วยเหลือของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อฝุ่นควัน และ PM 2.5

16 เมษายน 2563

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือขึ้น โดยได้ระดมพลังและองค์ความรู้จากคณะ ส่วนงานต่างๆ บูรณาการร่วมกัน เพื่อเป็นหน่วยงานหลักของมหาวิทยาลัย ร่วมแก้ปัญหาหมอกควัน ทั้งในส่วนที่ได้ทำงานร่วมกับภาครัฐ จังหวัด และที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเอง


 

- ร่วมเป็นคณะทำงานร่วมกับจังหวัด และองค์กรต่างๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ สภาลมหายใจ เพื่อเสนอแนวทางและกำหนดนโยบายในการแก้ปัญหาหมอกควัน
  

- เผยแพร่ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหมอกควัน และการดูแลสุขภาพ ในสื่อแต่ละประเภทหลากหลายช่องทาง

       


- ผลิตหน้ากากอนามัยและส่งมอบไปยังเจ้าหน้าที่ดับไฟป่า นักศึกษา บุคลากร และประชาชน

    

- คิดค้นนวัตกรรมการดูแลสุขภาพ เพื่อการดูแลสุขภาพ เช่น “DUSTKILLER” เครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรองอากาศในห้องขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยแผ่นกรองที่ทำความสะอาดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ พร้อมติดตั้ง UV ฆ่าเชื้อโรค


- คิดค้นนวัตกรรมหน้ากากรุ่นพิเศษสำหรับเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าโดยเฉพาะ ที่สามารถช่วยกรองควันและฝุ่นพิษต่างๆ ให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานได้อย่างสะดวกมากขึ้น เช่น MasquraX นวัตกรรมหน้ากากอนามัยแบบให้ความดันบวก (Positive Pressure Mask) เพื่อแก้ไขปัญหาของหน้ากากอนามัยแบบทั่วไป ทำให้สวมใส่สบาย หายใจสะดวก ไม่รู้สึกอึดอัดเกินไป เหมาะสำหรับนักดับเพลิง เจ้าหน้าที่ดับไฟป่า

   

- พัฒนาแอปพลิเคชันและเว็บไซต์เฝ้าระวัง ติดตาม และรายงานคุณภาพอากาศแบบ Real Time รวมถึงแอปพลิเคชันที่สามารถพยากรณ์คุณภาพอากาศล่วงหน้าได้ 3 วัน ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถดาวน์โหลดใช้ได้ฟรี เพื่อเป็นข้อมูลให้ประชาชนสามารถนำไปเป็นข้อมูลเพื่อการดูแลสุขภาพ เช่น แอปพลิเคชัน ชื่อว่า CMAQHI ที่ลิงก์กับเครื่องที่ติดตั้งในแหล่งวัด ในตำบลต่างๆ ของจังหวัดเชียงใหม่, เว็บไซต์ http://gist.soc.cmu.ac.th และ Facebook : GISTNORTH ด้วยข้อมูลภาคดาวเทียมแบบ Near Real Time ผ่านระบบ Application แผนที่ออนไลน์ (Web GIS Application) , แอปพลิเคชัน CMU Mobile สำหรับนักศึกษาและบุคลากร มช.

   


- จัดทำพื้นที่ Safe Zone กระจายตามจุดต่างๆ รอบมหาวิทยาลัย

  


- ลงพื้นที่ชุมชนต่างๆ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างห้อง Clean Room และการทำเครื่องฟอกอากาศอย่างง่ายให้สามารถทำใช้ได้เองภายในชุมชน


  

- ผนึกกำลังทีมนักวิชาการ นักวิจัย ถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพประชาชนให้ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5 ด้วยอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ทั่วไป ในราคาย่อมเยา ให้ประชาชนสามารถทำใช้เองได้ที่บ้าน ในช่วงหมอกควัน เช่น เครื่องกรองอากาศอย่างง่าย มุ้งสู้ฝุ่น

  

- ลงพื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำหน้ากากอนามัย แบบ DIY จากผ้าที่สามารถใส่ฟิลเตอร์ป้องกัน PM 2.5 ที่มีคุณภาพแก่ประชาชน เพื่อให้มีหน้ากากอนามัยใช้ในยามที่หน้ากากอนามัยขาดแคลน
   


- รวมน้ำใจชาว มช. ทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา รวมสมทบทุน และบริจาคอาหาร น้ำดื่ม อุปกรณ์สำคัญ ให้กับทางเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง และร่วมเป็นอาสาสมัครในการช่วยดับไฟป่า

      

แกลลอรี่