งานแถลงข่าวโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้าน Digital Economy ภาคเหนือ

25 มิถุนายน 2563

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์


วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานแถลงข่าวโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้าน Digital Economy ภาคเหนือ และพิธีลงนามหนังสือแสดงเจตจํานง (Letter of Intent) ระหว่างวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ บริษัท จี เอส วี พี กรุ๊ป จํากัด โดยมีศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายวิรุฬ พรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่ ลําพูน ลําปาง แม่ฮ่องสอน) นายพัลลภ แซ่จิว กรรมการรองประธานหอการค้า จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมงาน ณ ห้อง 112 ชั้น 1 วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ซึ่ง นายวิรุฬ พรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่าทางจังหวัดเชียงใหม่มีนโยบายในการพัฒนาเมืองให้ไปสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ (Smart City) นอกเหนือจากเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลแล้ว ทรัพยากรมนุษย์และความเข้าใจในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลก็มีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาเมืองและประเทศให้ก้าวไปสู่สามาร์ทซิตี้ (smart city) และดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand) จังหวัดเชียงใหม่จึงได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ปี 2561-2564 ของจังหวัดเชียงใหม่ด้านเทคโนโลยีโดยจะเน้นในเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการยกระดับการผลิตและการประกอบธุรกิจ จะเน้นไปยังกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)และวิสาหกิจชุมชน (OTOP) ในอุตสาหกรรมหลักของภาคเหนือ รวมไปถึงกลุ่มนักศึกษาและ Startupในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อให้ประเทศมีความพร้อมในการเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริงซึ่งในภาคส่วนของมหาวิทยาลัยนั้น
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคลรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เปิดเผยว่า ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เองได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกระบวนการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาเปิดโอกาสในการเพิ่มพูนองค์ความรู้ขีดความสามารถทั้งด้านวิชาการและด้านการลงมือปฏิบัติงานจริงการใช้เครื่องมือดิจิทัลให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุด โดยการที่จะเพิ่มศักยภาพของตัวนักศึกษาเองนั้น เราจะเน้นไปที่องค์ความรู้และนวัตกรรมเป็นหัวใจสำคัญเพื่อการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวในยุคการขับเคลื่อนทางเทคโนโลยี (Digital Transformation)ซึ่งจากที่กล่าวมานั้น ทางมหาวิทยาลัยจึงมีการปรับและเพิ่มเติมหลักสูตรต่าง ๆที่จะเน้นไปในส่วนของเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) งานวิจัยและนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น
นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน1 (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน) กล่าวว่า ในโครงการ Northern Digital Economy นี้ทางหอการค้ากลุ่มจังหวัดฯ มีความยินดีที่จะเป็นหน่วยงานประสานความร่วมมือในหอการค้า 17จังหวัดภาคเหนือ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการทั้ง SMEs และ OTOP จำนวน 3,000 รายเพื่อให้กระตุ้นการรับรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจรวมถึงการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ เพื่อร่วมกันบ่มเพาะนักศึกษาและสนับสนุนผู้ประกอบการในการแสดงสินค้าในงานหอการค้าแฟร์ ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน -6 ธันวาคม 2563 นี้ ทางหอการค้าไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
นายพัลลภ แซ่จิว กรรมการ รองประธานหอการค้า จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ จะสนับสนุนกิจกรรมการอบรมสัมมนาและการบ่มเพาะเชิงลึกเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ ร่วมกับสถาบันการศึกษาในจังหวัดและผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลในโครงการและร่วมคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเพื่อเป็นผู้ประกอบการนำร่องจำนวน 100 รายเพื่อร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น IoT (ไอโอที), Big Data, AI (เอไอ),Automation, Smart Farming , Delivery และ E-Commerce เป็นต้น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการเชิญชวนกลุ่มผู้ประกอบการด้าน Digital Economy ผู้ประกอบการ SMEs และOTOP ภาคเหนือ รวมถึงผู้ประกอบการใหม่ Start ใน 17 จังหวัดภาคเหนือจำนวน 5,000รายเข้าร่วมโครงการ พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้าน Digital Economy ภาคเหนือโดยจะเริ่มกิจกรรมการอบรมสัมมนาจาก 3 หลักสูตร ประกอบด้วย หลักสูตร Digital Economy หลักสูตรDigital Commerce หลักสูตร Digital Transformation และหลักสูตร Digital Consumptionจากนั้นจะมีการคัดเลือกผู้ประกอบการ ที่มีศักยภาพเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการบ่มเพาะหลักสูตร จำนวน 100สถานประกอบการ เพื่อจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการ กลุ่มนักศึกษา และ Digital Service Providerเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และการตลาดด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิทัลคอนเทนท์ผ่านกระบวนการอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการใช้สื่อออนไลน์ 100 สถานประกอบการจากนั้นผลักดันต่อยอดธุรกิจ เพื่อไปแสดงสินค้าในงาน หอการค้าแฟร์ 2020 (TCC Fair 2020)ในช่วงปลายปีที่จะถึงนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้ ทั้งผู้ประกอบการ กลุ่มน้อง ๆนักศึกษาที่เข้าร่วมจะไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัคร และอยากให้เชิญชวน กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มนักศึกษา และStart Up ที่สนใจเข้าร่วมโครงการเพื่อเตรียมความพร้อมในการต่อยอดธุรกิจ

รายละเอียดประกอบข่าว : วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 

แกลลอรี่