อาจารย์นักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566

5 กุมภาพันธ์ 2566

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดี และรองศาสตราจารย์ ดร. วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดี พร้อมด้วยผู้อำนวยการสำนักงานบริหารงานวิจัย ร่วมแสดงความยินดีและมอบช่อดอกไม้ให้กับอาจารย์นักวิจัยที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ในงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำ 2566” ได้แก่ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น และรางวัลวิทยานิพนธ์ ณ Event Hall 100-102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
.
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์เป็นประธานเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์ (Thailand Inventor’s Day 2023)” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2566 และพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2566 โดยวันนักประดิษฐ์นี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 24 ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ด้วยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม” พร้อมทั้งจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยและการประกวดแข่งขัน รวมถึงจัดอบรมการเสวนาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานวิจัยในระดับชาติ
.
โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติทั้งหมด 12 รางวัล ได้แก่ รางวัลผลงานวิจัย 5 รางวัล รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น 3 รางวัล และรางวัลวิทยานิพนธ์ 4 รางวัล ดังนี้

1. รางวัลผลงานวิจัย


1.1 ระดับดีมาก (สาขานิติศาสตร์)
1.1.1 ผลงานเรื่อง “โครงการวิจัยสถานการณ์ปัญหาเด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย เพื่อการพัฒนาข้อเสนอแนะและการคุ้มครอง”
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์  นายศิววงศ์ สุขทวี  นายเขมชาติ ตนบุญ

1.2 ระดับดี
(สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์)
       1.2.1 ผลงานเรื่อง “การสร้างเฟสฮาลเดนที่ถูกปกป้องด้วยสมมาตรในบันไดเชิงแฟร์มี- ฮับบาร์ด” โดย ดร.พิมลพรรณ ส้มเพ็ชร คณะวิทยาศาสตร์

(สาขานิติศาสตร์)
      1.2.2 ผลงานเรื่อง “บทเรียนและสภาพปัญหาเกี่ยวกับเสรีภาพในการชุมนุมเพื่อการปรับปรุงพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558” โดย  รองศาสตราจารย์สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์  นายปารณ บุญช่วย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัทมน คงเจริญ

      1.2.3 ผลงานเรื่อง “การพัฒนามาตรการคุ้มครองพลเมืองจากการสอดส่องการสื่อสาร ดยรัฐ”  โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์

(สาขาสังคมวิทยา)
      1.2.4 ผลงานเรื่อง “ส่วยชายแดน: มานุษยวิทยากับการศึกษาคอร์รัปชัน” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์

2. รางวัลวิทยานิพนธ์


2.1 ระดับดีมาก (สาขาปรัชญา)
       2.1.1 ผลงานเรื่อง “เขียนจีนให้เป็นไทย: การเมือง, ความรู้ และ คนจีนในประเทศไทยระหว่างสงครามเย็น”  โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์ คณะมนุษยศาสตร์

2.2 ระดับดี
(สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์)
       2.2.1 ผลงานเรื่อง “ระบบอิเล็กทรอนิกส์สองมิติในวัสดุกึ่งตัวนาแบบชั้น”  โดย อาจารย์ ดร.สุกฤต สุจริตกุล คณะวิทยาศาสตร์

(สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)
       2.2.2 ผลงานเรื่อง “ผลของการเปลี่ยนแปลงเชื้อประจำถิ่นภายในลาไส้ต่อการเรียนรู้ จดจำและการทำงานของไมโครเกลียในหนูอ้วนที่ดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งมีหรือไม่มีภาวะพร่องเทสโทสเทอโรน” โดย ดร.ฐิติกร จันทร์ไชย ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) ทพญ.ดร.สิริพร ฉัตรทิพากร

(สาขาเศรษฐศาสตร์)
      2.2.3. ผลงานเรื่อง “ตัวกลางเชื่อมโยงนวัตกรรมในการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม กรณีศึกษาอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยในภาคเหนือของประเทศไทย” โดย อาจารย์ ดร.ทินกร ปงธิยา คณะวิศวกรรมศาสตร์

3. รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น

3.1 ระดับดี
(สาขาสังคมวิทยา)
      3.1.1 ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมพลาสมาสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างสรรค์วิถีใหม่” โดย ดร.เสวต อินทรศิริ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงแข บุตรกูล  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ อินทะยศ  ดร.พสุ เรืองปัญญาโรจน์  ดร.อนุชา รักสันติ  ดร.สิทธิพงศ์ วงศ์ไชยสุวรรณ  ดร.วศิน วงศ์วิไล และ  รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรวรรณ บุญญวรรณ

(สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์)
      3.1.2 ผลงานเรื่อง ““ฟู๊ดพร้อม” เทคโนโลยีชาญฉลาดสำหรับการให้โภชนบำบัดและการผลิตอาหารแบบเฉพาะเจาะจง”  โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วัสสนัย วรรธนัจฉริยา คณะวิศวกรรมศาสตร์  นพ.ปาณัสม์ เจษฎาพร  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กานต์ ปทานุคม   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักริน ชวชาติ   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์ จงเจริญรักษ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.สุพัฒน์ จิรานุสรณ์กุล   รองศาสตราจารย์ ดร.ระดม พงษ์วุฒิธรรม  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เวชยันต์ รางศรี   อาจารย์ ดร.วิภาวดี อยู่อินทร์  และ อาจารย์ ดร.ใฝ่ฝัน ตัณฑกิตติ

3.2 ประกาศเกียรติคุณ

       3.2.1 ผลงานเรื่อง ““ปิ่นโต” เครื่องสแกนอาหารแบบชาญฉลาด”  โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กานต์ ปทานุคม คณะวิศวกรรมศาสตร์  นายกันต์นภัส ทิพยผลาผลกุล  รองศาสตราจารย์ ดร.วัสสนัย วรรธนัจฉริยา

ข้อมูลอ้างอิง : https://nriis.go.th/NewsEventDetail.aspx?nid=11629
ข่าวโดย : สำนักงานบริหารงานวิจัย

แกลลอรี่