"ปะอ้ายคูเผ่ 4" และ "ข้าวฮ้าว 2"

25 มีนาคม 2567

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

         "ปะอ้ายคูเผ่ 4" และ "ข้าวฮ้าว 2" ข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมืองภาคเหนือของประเทศไทย ที่มีคุณภาพหุงต้มที่อ่อนนุ่มเหมาะสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวในอนาคต โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตควบคู่กับคุณภาพเมล็ดข้าวที่ดีกว่าพันธุ์ดั่งเดิม

         ข้าวเหนียว (Oryza sativa var. glutinosa) เป็นข้าวที่นิยมรับประทานรองลงมาจากข้าวเจ้าโดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ข้าวเหนียวมีลักษณะเด่นคือ เนื้อสัมผัสของข้าวเหนียวติดกันระหว่างเมล็ดข้าวที่หุงสุกซึ่งลักษณะคุณภาพการหุงต้มเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการคัดเลือกเพื่อบริโภคและใช้ประโยชน์ของเกษตรกร เป้าหมายของการปรับปรุงพันธุ์ข้าวในอนาคตคมุ่งเน้นที่การพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยการเพิ่มผลผลิตข้าวควบคู่กับคุณภาพเมล็ดข้าวที่ดีกว่าพันธุ์ดั่งเดิม ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินลักษณะทางสัณฐานวิทยาและคุณภาพการหุงต้มของข้าวเหนียวรวมทั้งศึกษาความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนที่มีความเกี่ยวข้องกับคุณภาพการหุงต้ม โดยทดสอบในพันธุ์ข้าวเหนียวจากบนพื้นที่สูงของไทย 2 พันธุ์ คือ ปะอ้ายคูเผ่ (PAKP4 และ PAKP5) และข้าวฮ้าว (KH2 และ KH5) เปรียบเทียบกับข้าวเหนียวพันธุ์ กข 4 และ กข 6

  • ผลงานวิจัยได้รับตีพิมพ์ในวารสาร Chiang Mai Journal of Science
  • ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่  https://cmu.to/3jWKE

#คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์
#CMU #ChiangMaiUniversity #มช #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน #CMUSDGs #CMUSDGs8 #SDGs12 #SDGs17
ข้อมูลโดย : https://www.facebook.com/photo?fbid=825041676307295&set=a.458862466258553
แกลลอรี่