ประกาศแล้ว!! Gear Award 2021 ชูเกียรตินักวิจัย วิศวฯ มช. สร้างแรงใจเพิ่มผลงาน

11 มกราคม 2565

คณะวิศวกรรมศาสตร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย งานบริหารงานวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการจัดพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ Gear Award 2021 แก่คณาจารย์ และนักวิจัยของคณะฯ เพื่อส่งเสริม และเชิดชูเกียรตินักวิจัย ที่รังสรรค์งานวิจัย และผลิตผลงานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ตลอดจนเพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักวิจัยรุ่นต่างๆ อันจะเป็นการสร้างบรรยากาศการทำงานวิจัยในคณะฯ และเป็นการสร้างแรงจูงใจในการผลิตผลงานอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในฐานะผู้ช่วยวิจัย (Research Assistant-RA) ที่มีส่วนร่วมผลิตผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้สู่ชุมชน เมื่อวันอังคารที่ 21 ธันวาคม 2564 เวลา 15.00 น. ณ ME Space ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล โดยมีคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ฟองสมุทร เป็นผู้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณทั้งหมด 8 ประเภท ตามเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เก็บข้อมูลในปี 2563 ได้แก่

1. Best Publication: รางวัลตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูลสากล (SCOPUS) ในปี พ.ศ.2563 จำนวน 3 รางวัล คือ
- นักวิจัยรุ่นใหม่ : รองศาสตราจารย์ ดร.ธรณิศวร์ ดีทายาท
- นักวิจัยรุ่นกลาง : ศาสตราจารย์ ดร.นคร ทิพยาวงศ์
- นักวิจัยรุ่นอาวุโส : ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์

2. Highest Publications in Scopus Q1: รางวัลผู้ผลิตผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูล Scopus และมีค่า Q1 จำนวนสูงสุด ในปี พ.ศ.2563 ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.นคร ทิพยาวงศ์

3. First Publication of the Year in Scopus Q1: รางวัลผู้ได้รับการตอบรับตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูล Scopus และมีค่า Q1 เป็นผลงานแรก ในปี พ.ศ.2563 ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. Matthew Cole ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Sound and Vibration

4. Published in Highest Impact Factor Journal: รางวัลตีพิมพ์เผยแพร่ที่มีค่า Impact Factor 2020 สูงสุด ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดลเดช ตันตระวิวัฒน์ ตีพิมพ์ในวารสาร Nan0 Energy มีค่า Impact Factor 2020 = 17.881

5. Best Citation: รางวัลผู้ที่มีผลงานตีพิมพ์ได้รับการอ้างอิงผลงานตีพิมพ์ (Citation) ในฐานข้อมูล Scopus ปี พ.ศ.2563 จำนวน 5 อันดับแรก (ตัดการอ้างอิงผลงานตีพิมพ์ของผู้เขียนออก)
(1) ศาสตราจารย์ ดร.นคร ทิพยาวงศ์ จำนวน 282 ครั้ง
(2) ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ จำนวน 220 ครั้ง
(3) ศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ เทอดทูล จำนวน 143 ครั้ง
(4) รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย เปรมฤดีปรีชาชาญ จำนวน 138 ครั้ง
(5) รองศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ธีรอำพน จำนวน 136 ครั้ง

6. Best Grant Budget: รางวัลนักวิจัยที่ได้รับทุนโครงการวิจัย/โครงการบริการวิชาการรับจริงสูงสุด ในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 5 อันดับแรก
(1) รองศาสตราจารย์ชูโชค อายุพงศ์ จำนวน 10,531,700.00 บาท
(2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ วรยศ จำนวน 10,118,250.00 บาท
(3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุชา พรมวังขวา จำนวน 8,398,557.00 บาท
(4) รองศาสตราจารย์วงกต วงศ์อภัย จำนวน 8,368,290.48 บาท
(5) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรประเสริฐ จำนวน 4,565,723.00 บาท

7. Best Overhead Budget: รางวัลนักวิจัยที่มีเงินค่าบริหารโครงการ (OHC) เข้าจริงสูงสุด ในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 5 อันดับแรก
(1) รองศาสตราจารย์วงกต วงศ์อภัย จำนวน 583,901.02 บาท
(2) รองศาสตราจารย์ชูโชค อายุพงศ์ จำนวน 568,088.00 บาท
(3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรประเสริฐ จำนวน 366,866.50 บาท
(4) ศาสตราจารย์ ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล จำนวน 353,378.80 บาท
(5) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ วรยศ จำนวน 330,750.00 บาท

8. Overall Research Performance (Field-Weighted Citation Impact): กลุ่มที่มีความเข้มแข็งของบทความวิจัยสูงสุดในแพลทฟอร์ม SciVal ได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยีวิศวกรรมพลังงาน มช. ซึ่งมี ศาสตราจารย์ ดร.นคร ทิพยาวงศ์ เป็นหัวหน้าศูนย์ฯ

9. Research Excellence: รางวัลผลิตผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ (Journal) ในฐานข้อมูลสากล ต่อคณาจารย์ในสาขาวิชา ปี พ.ศ.2563 จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

แกลลอรี่