CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
รับมืออย่างไร เมื่อเจอคน Toxic
25 ตุลาคม 2567
คณะแพทยศาสตร์
นิยามของคำว่า Toxic โดยทั่วไป หมายถึง สิ่งที่เป็นพิษ หรือเป็นอันตรายต่อคนหรือสิ่งรอบข้าง ซึ่งหากนำมาขยายลักษณะของบุคคล (Toxic Person/people) ก็จะหมายถึงบุคคลที่สร้างปัญหา ความขัดแย้ง หรือ ส่งความรู้สึกด้านลบให้กับคนรอบข้าง ในทางจิตเวชศาสตร์นั้น ยังไม่มีการวินิจฉัยที่แน่ชัดว่าความ Toxic เป็นโรคหรือความผิดปกติ แต่มีการวินิจฉัยแนวคิดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์ ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความ Toxic เรียกว่า บุคลิกแปรปรวน (Personality disorders) โดยเป็นพฤติกรรมที่อาจถูกบ่มเพาะมาตั้งแต่เด็ก ทำให้แสดงออกพฤติกรรมนั้นออกมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ อย่างไรก็ตามความ Toxic อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่โดนบีบบังคับ สถานการณ์คับขัน ไม่ทันได้ตั้งตัวมาก่อน หรืออาจจะมาจากความผิดหวังในตัวเอง ตัดสินตัวเองอย่างหนัก เป็นผลให้เกิดการนำความคิด หรือ ความรู้สึกของตัวเองมาตัดสินคนอื่นไปด้วย และ ทำให้มีพฤติกรรมที่สร้างปัญหา และความขัดแย้ง หรือส่งผ่านความคิดด้านลบให้กับคนอื่นแทน โดยคนที่ Toxic นี้เอง อาจนำไปสู่ Toxic Relationship หรือ ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ โดยเกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนสองคนขึ้นไป ที่เกิดความขัดแย้ง ปัญหา หรือความรู้สึกด้านลบ ที่ส่งผ่านระหว่างกัน จนทำให้เกิดความอึดอัดขึ้นในทุกฝ่าย
รู้ได้อย่างไรว่าตัวเราเอง หรือ เขา เป็นคน Toxic
เนื่องจากคน Toxic มักจะมีพฤติกรรมที่เกิดสม่ำเสมอ กับทุกคนและทุกความสัมพันธ์ในชีวิต การลองสำรวจคนรอบข้าง สอบถามหรือแลกเปลี่ยนกันว่า เจอกับความ Toxic หรือมีความรู้สึกอึดอัดจากบางพฤติกรรมเหมือนกันกับเราหรือไม่ หากพบว่าคนอื่นไม่โดน หรือมีเพียงเราคนเดียวที่อึดอัด อาจกลับมาทบทวนตัวเองว่าเราอาจมีความไม่ชอบในลักษณะบางอย่างของเขา (เป็นความไม่ชอบส่วนตัว) หรือเราเองต่างหากที่มีพฤติกรรม Toxic ต่อคนอื่น แต่ในทางกลับกัน หากคนอื่นก็โดนเหมือนกัน นั่นก็มีแนวโน้มว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่มีความ Toxic ต่อคนอื่นจริง และส่งผลกระทบกับคนในชีวิตหลายคน
6 ลักษณะของคน Toxic ที่พบได้บ่อย
1. ติติงแต่ไม่เปิด มักจะโฟกัสเฉพาะจุดที่เป็นปัญหา และมีวิธีแก้ปัญหาอยู่ในหัวซึ่งคิดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดอยู่แล้ว ถ้าใครทำนอกเหนือจากนี้จะมองว่า ไม่มีความคิด ไม่ดี หรือผิด
2. ระเบิดอารมณ์ ชอบใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล โดยเฉพาะในเรื่องที่ตนเองผิด มักจะใช้อารมณ์โกรธ หรือโมโห เสียงดัง ก้าวร้าว ใส่คนอื่น เพื่อต้องการควบคุม และต้องการลดความรู้สึกผิดหรือขายหน้าที่เกิดขึ้น
3. ชอบชมไปงั้นๆ ซึ่งไม่ได้ชมออกมาจากใจ แต่ชื่นชมเพื่อให้ได้ประโยชน์บางอย่าง เช่น ชมเพื่อจะใช้งานเพิ่ม ชมเพื่อหวังผล
4. ฉันเป็นศูนย์กลาง เพื่อต้องการควบคุมคนอื่น และทุกคนต้องทำตามที่ตนเองต้องการ หรือต้องปรับตัวเข้าหาตนเอง มากกว่าที่ตนจะปรับตัวเข้าหาคนอื่น
5. วางหมากปั่นหัว ชอบยุแยงให้คนอื่นทะเลาะกัน แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ส่วนใหญ่มักจะเห็นได้ชัดในที่ทำงานที่มีการแข่งขันสูง
6. ทำตัวตกเป็นเหยื่อ รับบทพระเอก นางเอก ทำตัวเหมือนเป็นผู้ถูกกระทำตลอดเวลา ไม่ว่าใครจะทำอะไร จะสามารถปรับเปลี่ยนมุมมองให้คนอื่นมองว่าตนเองเป็นผู้ถูกกระทำ และควรได้รับความช่วยเหลือ หรือ งดเว้นโทษ หรือ งานบางอย่างตลอดเวลา
รับมืออย่างไร
คน Toxic มักจะยินดี เมื่อมีคนตอบโต้ด้วยความรุนแรง หรือรู้สึกกับสิ่งที่เขากระทำ เพราะการได้เห็นมุม Toxic ของคนอื่น เป็นการย้ำปมในใจของคน Toxic ว่า ไม่มีใครที่ทำดีนอกจากตัวเอง วิธีการในการรับมือกับคน Toxic จึงมีหลักการดังนี้
– ไม่ตอบโต้ด้วยความรุนแรง ไม่แก้แค้น เพราะนั่นนำไปสู่การเป็นหนึ่งในคน Toxic และทำระบบความสัมพันธ์ที่ Toxic ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง
– พยายามหลีกเลี่ยงคน Toxic ให้ได้มากที่สุด ทั้งทางด้านสถานที่ และ จิตใจ
– สร้างขอบเขตการทำงาน หรือ เรื่องที่ต้องการพูดคุยกัน แต่หากสร้างขอบเขตได้ยาก อาจจำเป็นจะต้องให้การสะท้อนกลับโดยใช้ข้อมูล (เช่น ใช้กฎเกณฑ์ หรือ กฎหมาย หากจำเป็น)
ขอบคุณข้อมูลจาก : ผศ.นพ.อวิรุทธ์ อุ่นอารมย์ อาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียง : นางสาวสมัชญา หน่อหล้า
ภาพ/ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
×
RoomID:
Room Name:
Description: