เทคโนโลยีโซลาร์เซลล์แห่งอนาคต “เพอรอฟสไกต์แบบฟิล์มบาง” ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน ทดแทนเซลล์แสงอาทิตย์แบบดั้งเดิม

25 สิงหาคม 2564

คณะวิทยาศาสตร์

นักวิจัยคณะวิทย์ มช. คิดค้นขั้วไฟฟ้าคาร์บอนสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ เพอรอฟสไกต์แบบฟิล์มบาง ต้นทุนต่ำ-ประสิทธิภาพสูง พร้อมพัฒนาสู่อุตสาหกรรม       


         "ขั้วไฟฟ้าคาร์บอนนี้ เตรียมจากกาวคาร์บอนด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนกับตัวทำละลายเอทานอลที่อุณหภูมิห้อง สำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์ที่มีประสิทธิภาพและเสถียร”กระบวนการดังกล่าวถือว่าเป็นกระบวนง่าย ต้นทุนต่ำ มีประสิทธิภาพสูง สามารถทดแทนระบบการเตรียมฟิล์มบางของโลหะที่มีต้นทุนสูงได้เป็นอย่างดี

ฟิล์มคาร์บอนที่ได้จากกระบวนการนี้มีความคงทนต่อความชื้น มีความยืดหยุ่นที่ดี ซึ่งเหมาะกับการใช้ในประเทศไทย ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถนำไปประยุกต์ในการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์แบบโค้งงอได้ในระดับอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต

เมื่อนำฟิล์มคาร์บอนไปประยุกต์เป็นขั้วนำไฟฟ้าในเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์ พบว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดที่ 12.1% ยิ่งไปกว่านั้นยังคงความเสถียรในระยะยาวได้ถึง 80% เป็นเวลานานกว่า 1,000 ชั่วโมงโดยไม่มีการห่อหุ้ม

งานวิจัยนี้เป็นผลงานวิจัยของ นางสาววรพรหม พัสธรธัชกร(1) นักศึกษาปริญญาโท จากห้องปฏิบัติการวิจัยเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cells Research Laboratory: SCRL) ภายใต้การให้คำปรึกษาของ รศ.ดร.ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล(2) ผศ.ดร.พิพัฒน์ เรือนคำ(3) และ อ.ดร.อัจฉราวรรณ กาศเจริญ(4) สังกัดภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มช. ร่วมมือกับ รศ.ดร.ประยูร ส่งสิริฤทธิกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และบริษัท T.A.O. Bangkok Corporation Ltd. ที่ให้การสนับสนุนกาวคาร์บอนคุณภาพสูง”

ผู้สนใจสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Passatorntaschakorn, W., Bhoomanee, C., Ruankham, P., Gardchareon, A., Songsiriritthigul, P., & Wongratanaphisan, D. Room-temperature carbon electrodes with ethanol solvent interlacing process for efficient and stable planar hybrid perovskite solar cells. Energy Reports, 2021, 7, 2493-2500. (ISI Q1, IF=6.870)

อ่านต่อ https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S235248472100247X 

#CMU #ChiangMaiUniversity #มช #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน #CMUSDGs #CMUSDG9

แกลลอรี่