CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
สกัดแคโรทีนอยด์จากน้ำมันปาล์มดิบ พัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์
24 ธันวาคม 2561
คณะอุตสาหกรรมเกษตร
นักวิจัย มช. นำแคโรทีนอยด์สกัดจากน้ำมันปาล์มดิบ พัฒนาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวพรรณและเส้นผม มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันสูง ดูดซับรังสี UV ได้ดี อุดมด้วยวิตามินช่วยบำรุง ป้องกันผิวและเส้นผม แคโรทีนอยด์เป็นสารที่พบมากในปาล์มน้ำมัน แต่ปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้าแคโรทีนอยด์จากต่างประเทศ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ยา และเครื่องสำอาง เนื่องจากยังไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับภาคการผลิตของไทย ดังนั้น คณะผู้วิจัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. พัชรินทร์ ระวียัน คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ศึกษากรรมวิธีการผลิตแคโรทีนอยด์ที่เหมาะสม และได้ประสบความสำเร็จในการสร้างเครื่องต้นแบบผลิตแคโรทีนอยด์จากน้ำมันปาล์มดิบ ระดับกึ่งอุตสาหกรรม ที่มีกำลังการผลิตขนาด 100 กิโลกรัมต่อรอบ ตั้งอยู่ที่ศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ อ. เมือง จ. เชียงใหม่ แคโรทีนอยด์ที่ผลิตจากเครื่องต้นแบบ สามารถปรับความเข้มข้นได้ตามต้องการ โดยแคโรทีนอยด์ที่ความเข้มข้นสูงกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เหมาะสำหรับนำไปผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร เช่น น้ำพริกเผา ไส้กรอก และหมูยอ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ สำหรับแคโรทีนอยด์ที่มีความเข้มข้นประมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบว่ามีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อผิวพรรณและเส้นผมหลายประการ อาทิ มีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชันที่สูงมาก มีความสามารถในการดูดซับรังสี UV ได้ดี และอุดมไปด้วยวิตามิน จึงช่วยบำรุง และป้องกันผิวและเส้นผมจากการทำลายของอนุมูลอิสระและแสงแดดได้เป็นอย่างดี เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพตามวิถีธรรมชาติ และเพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากธรรมชาติ รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ ระวียัน จึงได้นำแคโรทีนอยด์ไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับผิวพรรณและเส้นผม หลากหลายชนิด ได้แก่ ซีรัมบำรุงผิวหน้า ครีมทาผิว ครีมกันแดด น้ำมันนวดตัว แชมพู ครีมหมักผม ครีมนวดผม โฟมล้างหน้า สบู่ ครีมอาบน้ำ แชมพูสำหรับสัตว์เลี้ยง และครีมนวดสำหรับสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ ยังมีน้ำมันหอมแก้วิงเวียน โลชันกันยุง และน้ำยาล้างจาน ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น ยังมีส่วนผสมของสารสกัดจากสมุนไพรไทยหลากชนิด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพผิวและเส้นผม ที่ต้องการการบำรุงที่แตกต่างกัน โครงการสร้างเครื่องต้นแบบผลิตแคโรทีนอยด์ ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ซึ่งมุ่งยกระดับ และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผลงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สวก. ให้เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการในงาน “ 46th International Exhibition of Inventions Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อวันที่ 11-15 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา และผลงาน “"ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเครื่องสกัดแคโรทีนอยด์จากนำ้มันปาล์มแดง” ซึ่งเป็นผลงานของ รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ ระวียัน อาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง สามารถคว้ารางวัลอันทรงเกียรติ นำชื่อเสียงมาสู่ สวก. และประเทศไทย
ข่าวบุคคลเด่น
งานวิจัยและนวัตกรรม
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ข่าวเด่น
ข่าวสาร PM2.5
ข้อมูลโดย : Faculty of Agro–Industry
ไฟล์แนบ
เอกสารแนบ
pdf
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: