CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
อาจารย์พยาบาล มช. ผู้แทนประเทศไทยร่วมประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 77 (The 77th World Health Assembly: WHA77)
9 มิถุนายน 2567
คณะพยาบาลศาสตร์
ศาสตราจารย์ ดร.ภัทราภรณ์ ภทรสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เชิงประจักษ์ในการดูแลทางสุขภาพแห่งประเทศไทย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะกรรมการสภาการพยาบาล (วาระพ.ศ. 2565-2569) ผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 77 (The 77th World Health Assembly: WHA77) ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2567 ณ สำนักงานสหประชาชาติ (Palais Des Nations) นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เวทีสุขภาพระดับโลกซึ่งมีผู้แทนจาก 194 ประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุมในการตัดสินใจด้านนโยบายสุขภาพ โดยมีวาระสำคัญที่เป็นประเด็นความท้าทายทางสุขภาพ รวมทั้งการบริหารจัดการขององค์การอนามัยโลก
.
สำหรับมติสมัชชาอนามัยโลกครั้งนี้ มีสาระสำคัญคือ เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกดำเนินการสร้างการมีส่วนร่วมของสังคมให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ด้วยหลัก 7 ข้อ ได้แก่
.
1.เสริมสร้างขีดความสามารถของภาครัฐในการออกแบบและจัดกระบวนการมีส่วนร่วมของสังคมอย่างมีคุณภาพ
.
2.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาค หลากหลายและครอบคลุม โดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบางและ/หรือคนชายขอบ
.
3.มุ่งมั่นให้การมีส่วนร่วมของสังคมส่งผลต่อการตัดสินใจด้านสุขภาพอย่างโปร่งใส ในทุกขั้นตอนของกระบวนการโยบายและในทุกระดับของระบบ
.
4.จัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของสังคมอย่างสม่ำเสมอ โปร่งใส และต่อเนื่อง โดยใช้กลไกต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากนโยบายสาธารณะและตัวบทกฎหมาย
.
5.จัดสรรทรัพยากรของภาครัฐอย่างเพียงพอและยั่งยืน เพื่อสนับสนุนให้การมีส่วนร่วมของสังคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
.
6.เสริมสร้างขีดความสามารถของภาคประชาสังคม เพื่อให้สามารถเข้าร่วมการมีส่วนร่วมของสังคมได้
.
7.สนับสนุนการทำวิจัย โครงการ/โปรแกรมนำร่อง ตลอดจนการติดตามและประเมินผลที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสังคม
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
สุขภาพ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: