CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
คณะพยาบาลศาสตร์ มช. อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย จัดกิจกรรมตัดตุงปี๋ใหม่เมือง ประจำปี 2564
9 เมษายน 2564
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และ ภูมิปัญญาไทย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ (ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง) จัดกิจกรรมตัดตุงปี๋ใหม่เมือง ประจำปี 2564 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานี แก้วธรรมานุกูล คณบดี เป็นประธาน วิทยากรรับเชิญ ได้แก่ คุณเฉลิมศรี โตน้อย บุคลากรอาวุโสของคณะฯ (อดีตหัวหน้าหน่วยสารบรรณและประชาสัมพันธ์) ซึ่งได้รับความสนใจจากคณาจารย์และบุคลากรร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2564
"ตุง" หรือ "จ้อ" เป็นภาษาถิ่นทางภาคเหนือที่ชาวล้านนาเรียกขานกันทั่วไป หมายถึง ธง ในภาษาภาคกลาง มีลักษณะตรงกับภาษาบาลีว่า ปฎากะ หรือ ธงปฎาก "ธงตะขาบ" ซึ่งเมื่อครั้งสมัยหริภุญชัยในช่วงศตวรรษที่17 พบว่าชาวหริภุญชัย เคยมีโรคอหิวาตกโรคระบาด ผู้คนต่างพากันหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองสะเทิง เมื่ออหิวาตกโรคหายไปก็พากันกลับมาบ้านเมืองเดิม คาดว่าคงได้มีการรับวัฒนธรรมการถวายธงหรือตุงที่มีเสาหงส์มาจากชาวมอญมาด้วย พบว่าหงส์ล้านนานี้เป็นสิ่งสำคัญมากของชาวรามัญนั้น ได้ปรากฏว่าเป็นส่วนประกอบอยู่กับตุงในล้านนาคือ "ตุงกระด้าง" มีลักษณะรูปทรงเหมือนกัน และมีลักษณะของธงตะขาบของชาวรามัญก็คล้ายคลึงกับ "ตุงไชย" ของล้านนาด้วยเช่นกัน "ตุง" ทำด้วยวัสดุต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น ไม้ โลหะ กระดาษ ผ้า ใบลาน พลาสติก เป็นต้น มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุ ส่วนปลายแขวนติดกับเสา หรือผูกติดกับปลายไม้ เป็นแผ่นยาวลงมา "ตุง" มีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีรูปแบบ ขนาด และรายละเอียดวัสดุที่ใช้ในการตกแต่งแตกต่างกันไปตามความเชื่อ และพิธีกรรมทางศาสนา ตลอดจนความนิยมของท้องถิ่นและการใช้งาน สำหรับตุงไส้หมู มีลักษณะเป็นพวงประดิษฐ์ รูปร่างคล้ายจอมแหหรือปรางค์ ทำจากกระดาษสีหรือกระดาษแก้วสีต่างๆ อย่างน้อยแผ่นละสี มาวางซ้อนกันแล้วพับทแยงมุมหลาย ๆ ทบ ใช้กรรไกรตัดสลับกันเป็นลายฟันปลาจนถึงส่วนปลายสุด เมื่อคลี่ออกและจับหงายขึ้น จะเห็นเป็นพวงกระดาษที่สวยงาม ศิลปะการตัดกระดาษให้เป็น ตุงไส้หมู เป็นองค์ความรู้ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งชาวล้านนาจะใช้ในพิธีทางศาสนาหรือกิจกรรมทางประเพณีของชาวล้านนา โดยเฉพาะชนกลุ่มไท ได้แก่ ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทยอง ไทใหญ่ เป็นต้น นั่นคือ ประเพณีปี๋ใหม่ (สงกรานต์) ในพิธีกรรม หรือประเพณีดังกล่าว ชาวล้านนาจะจัดเตรียมข้าวของต่างๆ สำหรับใช้ในพิธีใน "วันแต่งดา" คือวันสุกดิบ หรือวันเตรียมข้าวของ ซึ่งจะจัดทำก่อนหน้างานประมาณ 1 วัน
การตัดตุงไส้หมู
วัสดุและอุปกรณ์ ประกอบด้วย กระดาษว่าวสี 2 สี และ กรรไกร
ขั้นตอนและวิธีการทํา
เลือกกระดาษมาสองสีสีอะไรก็ได้แล้วแต่ชอบนํากระดาษทั้งสองแผ่นมาวางทับกันพับกระดาษให้เป็นรูปสามเหลี่ยม โดยตัดส่วนที่เหลือออก พับครึ่งให้เป็นรูปสามเหลี่ยม พับครึ่งด้านที่หนึ่ง และ พับครึ่งด้านที่สอง เพื่อให้เป็นรูปสามเหลี่ยมจะได้กระดาษเป็นรูปสามเหลี่ยม พับกระดาษอีกด้านให้เป็นรูปเหมือนจรวด ตัดขอบด้านทะแยงให้เป็นรูปหยักหรือลวดลายตามแต่ถนัด หลังจากนั้นตัดขอบอีกด้าน ตัดส่วนสามเหลี่ยมด้านบนโดยตัดสลับคลี่กระดาษที่พับออกมา ให้เป็นลักษณะสี่เหลี่ยม ตัดกระดาษแผ่นเล็กและสอยด้ายเพื่อนําไปผูกมัดกับกิ่งไม้จะได้เป็นตุงไส้หมู
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: