CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
หมอเตือนหน้าฝน ระวังโรคไข้เลือดออกระบาด เผยปี 63 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 7.2 หมื่นราย เสียชีวิต 52 ราย
14 ตุลาคม 2564
คณะแพทยศาสตร์
แพทย์รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ เตือนประชาชนระวังยุงลายนำเชื้อไวรัสเดงกีก่อโรคไข้เลือดออก ระบาดช่วงหน้าฝน พบในปี 63 มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากไข้เลือดออกจำนวนมาก ยันปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้ ย้ำให้ทุกครอบครัวป้องกันตนเองกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
รศ.ดร.พญ.ทวิติยา สุจริตรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า “ไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ DENV-1, DENV-2, DENV-3 DENV-4 โดยมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค ซึ่งในประเทศไทยพบยุงลาย 2 ชนิด คือยุงลายบ้านและยุงลายสวน หากติดเชื้อสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้นตลอดชีวิต โดยปกติแล้วยุงลายไม่ได้มีเชื้อไวรัสเดงกี แต่เมื่อยุงลายไปกัดคนที่กำลังป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ยุงจะได้รับเชื้อไวรัสเดงกี และเมื่อยุงตัวนี้บินไปกัดคนใหม่ ก็จะปล่อยเชื้อไวรัสเดงกีเข้าไปสู่อีกคนทันที ทำให้โรคสามารถติดต่อจากคนสู่คนโดยมียุงเป็นพาหะนำโรค จากสถิติของกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขในปี 2563 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 72,000 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 52 ราย ซึ่งถือว่าสูงกว่าเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งเป้าไว้
โรคไข้เลือดออกมีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 มีไข้สูงลอย 39-41 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก บางรายมีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร มีผื่นขึ้น มีจุดเลือดออกตามตัวหากมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำร่วมด้วย ,ระยะที่ 2 ภาวะวิกฤต เกิดจากการที่ผนังของเส้นเลือดฝอยสูญเสียความคงตัวทำให้ Plasma ที่อยู่ในหลอดเลือดรั่วออกนอกเส้นเลือด ผู้ป่วยจะมีภาวะความดันโลหิตต่ำ อาจมีภาวะเลือดออกง่ายผิดปกติจนกระทั่งทำให้เกิดภาวะช็อก หรือเสียชีวิตได้ ,ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว ระยะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มกลับมารับประทานอาหารได้ เริ่มมีความอยากอาหาร ปัสสาวะเริ่มออกเยอะ มีผื่นแดงแบบจุดขาวตรงกลาง และมีอาการคันมาก หากเราพบผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้แสดงว่าคนไข้เข้าสู่ระยะฟื้นตัวแล้ว”
อาจารย์แพทย์ประจำสาขาโรคติดเชื้อ กล่าวต่อว่า “ในส่วนการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก หากคนไข้มาในระยะแรกของการมีไข้ส่วนใหญ่แพทย์จะตรวจหาแอนติเจนของเชื้อร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แต่หากผู้ป่วยมาพบแพทย์ในระยะ 5 วัน หลังจากที่มีไข้จะใช้วิธีการตรวจทางน้ำเหลือง เพื่อยืนยันแอนติบอดี้ต่อโรคไวรัสไข้เลือดออก และปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสเฉพาะสำหรับการรักษาโรคไข้เลือดออก แพทย์จะรักษาตามอาการ หากอยู่ในระยะวิกฤตแพทย์จะให้สารน้ำทดแทนป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะช็อก หรืออาจมีการเติมเลือดหรือผลิตภัณฑ์ของเลือดตามระยะของโรค
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกแล้ว 1 ชนิด ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในเด็กอายุ 9 ปีขึ้นไปจนถึงผู้ใหญ่อายุ 45 ปี แต่สิ่งที่สำคัญคือการป้องกันไม่ให้ยุงกัด ไม่ให้เราติดเชื้อไวรัสเดงกี สวมใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ทายาฉีดสเปรย์ป้องกันยุง กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ใช้ทรายอะเบทในการทำลายลูกน้ำยุงลายก็จะเป็นการตัดวงจรการระบาดของยุงได้ทุกชนิด”
สุขภาพ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: