CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
มหาสังฆทาน 9 วัด ครั้งที่ 42
1 มิถุนายน 2564
คณะบริหารธุรกิจ
"ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ก้องภู นิมานันท์ คณบดี และรองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนา รองคณบดี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมทั้งบุคลากรคณะฯ ร่วมทำบุญโครงการมหาสังฆทาน 9 วัด ครั้งที่ 42 เพื่อเป็นพุทธบูชา เนื่องในวันวิสาขบูชา ถวายแด่ วัดหมื่นล้าน วัดแสนฝาง วัดหมื่นสาร วัดหมื่นตูม วัดหมื่นเงินกอง วัดพันอ้น วัดพันแหวน วัดพันเตา วัดพันตอง ถวายระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม - 6 มิถุนายน 2564 จัดโดยคณะบริหารธุรกิจร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยวัดในโครงการมหาสังฆทาน 9 วัด ครั้งที่ 42 นี้ เป็นวัดที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ทั้ง 9 แห่ง ดังนี้
1) วัดหมื่นล้าน ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2002 ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช ในราชวงศ์มังราย ผู้สร้างวัดหมื่นล้านคือ “หมื่นโลกสามล้านขุนพลแก้ว” เพื่ออุทิศบุญกุศลให้กับผู้เสียชีวิตในสงครามอยุธยา-ล้านนา
2) วัดแสนฝาง สร้างขึ้นในสมัยพระญาแสนภู กษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณปี พ.ศ. 2119 แต่เดิมเรียกกันว่า “วัดแสนฝัง” ที่มาของชื่อนี้ พระเจ้าแสนภูทรงมีพระราชประสงค์จะฝากฝังขุมพระราชทรัพย์ของพระองค์ไว้กับพุทธศาสนา จึงสร้างวัดแห่งนี้ขึ้น คำว่า “แสน” มาจากชื่อของพระเจ้าแสนภู คำว่า “ฝัง” คือการบริจาคพระราชทรัพย์ของพระองค์ ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดแสนฝัง” หรือ “วัดแสนฝาง” มาตราบเท่าทุกวันนี้
3) วัดหมื่นสาร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2069 ในสมัยแผ่นดินพระเมืองเกษเกล้า แห่งราชวงศ์เม็งราย ขุนนางยศชั้นหมื่น ชื่อ หมื่นหนังสือวิมลกิตติ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรองราชทูตและแปลพระราชสาส์น ได้เป็นผู้สถาปนาวัดแห่งนี้ วัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดหมื่นสาร วัดแห่งนี้มีความเกี่ยวข้องกับชาวญี่ปุ่น
4) วัดหมื่นตูม สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2021 ในสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว คำว่า หมื่นตูม เดิมเป็นขุนนางท่านหนึ่ง มียศบรรดาศักดิ์เป็น หมื่น ส่วนของท่านชื่อ ตูม ได้นำญาติ บริวาร ศรัทธาประชาชน ร่วมกันช่วยสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาเพื่อถวายเป็นพระพุทธบูชา เมื่อสร้างวัดนี้เสร็จ จึงเรียกชื่อว่า วัดหมื่นตูม ตามชื่อผู้นำสร้างถวาย
5) วัดหมื่นเงินกอง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้ากือนา ระหว่าง พ.ศ. 1882 – 1916 หมื่นเงินกอง เป็นชื่อของมหาอำมาตย์ตำแหน่ง ""ขุนคลัง"" เป็นผู้สร้างวัด ""หมื่นเงินกอง"" เพื่อเป็นอนุสรณ์ยศถาบรรดาศักดิ์ที่ท่านได้รับ
6) วัดพันอ้น สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2044 ใน รัชสมัยของพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช (พญาแก้วหรือพระเมืองแก้ว) คำว่า “พันอ้น” นั้น สันนิษฐานได้ว่าเป็นชื่อผู้สร้างวัดที่ถวายไว้กับพระพุทธศาสนา และผู้สร้างเป็นทหารหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์เป็น “พัน”
7) วัดพันแหวน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2040 โดยขุนนางยศ “พัน” ชื่อว่า “แหวน” จึงเรียกชื่อวัดว่า “พันแหวน” ตามผู้สร้างวัด ซึ่งการตั้งชื่อวัดตามนามผู้สร้างนั้นถือเป็นธรรมเนียมนิยมในการสร้างวัดราษฎร์ของล้านนาในสมัยนั้น
8) วัดพันเตา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2040 เดิมเป็นเขตสังฆาวาสและพื้นที่หล่อพระอัฎฐารสของวัดเจดีย์หลวง ต่อมาได้สร้างเป็นวัดพันเตา แต่เดิมคนเชียงใหม่เรียกที่นี่ว่าวัด “ปันเต้า” (พันเท่า) อันหมายถึงการที่มาทำบุญเพียงหนึ่งจะได้บุญกลับไปเป็นพันเท่า ภายหลังเพี้ยนเป็น “พันเตา” อีกที่มาหนึ่ง น่าจะมาจากการใช้วัดนี้เป็นแหล่งสร้างเตาหล่อพระนับร้อยนับพันเตา จึงได้ชื่อว่า “วัดพันเตา”
9) วัดพันตอง แต่เดิมชื่อว่า “วัดพระงาม” สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2000 ในสมัยราชวงศ์มังราย ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง และกลายเป็นวัดร้างอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งในสมัยของพระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่พระองค์แรก ได้เกณฑ์คนมาจากบ้านฮ่อม เมืองเชียงแสน มาตั้งรกรากบริเวณวัดร้างแห่งนี้ ชาวบ้านฮ่อมจึงช่วยกันบูรณะและตั้งชื่อว่า “วัดพันทอง” ตามน้ำหนักของทองพันชั่ง ซึ่งเป็นน้ำหนักของพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่นำมาจากเชียงแสนด้วย ต่อมาชื่อเพี้ยนมาเป็น “วัดพันตอง” จนกระทั่งปัจจุบัน"
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ข่าวเด่น
ข้อมูลโดย : https://www.ba.cmu.ac.th/th/accba010664
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: