CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
อยู่อย่างสุขใจ ในครอบครัวต่างวัย
22 เมษายน 2568
คณะแพทยศาสตร์
ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่คนมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกหลากหลายวัย เช่น คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย คุณลุง คุณป้า คุณน้า คุณอา เป็นต้น แม้ว่าการอาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีสมาชิกหลากหลายช่วงวัย (multi-generation family) นี้จะมีข้อดีหลายอย่าง เช่น การดูแลช่วยเหลือเกื้อกูลทางด้านร่างกาย และ ด้านจิตใจ แต่ความท้าทายที่เกิดจากความแตกต่างกันของความเชื่อ มุมมอง และ วิธีในการใช้ชีวิต ของคนแต่ละวัยนั้นก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากยิ่ง
?เทคนิคง่ายๆ 3 ข้อ ที่ช่วยให้การอยู่ร่วมกันในครอบครัวต่างวัยเป็นไปอย่างราบรื่น
คือเทคนิค “ฟัง – พูด – ทำ”
“ฟัง” เพื่อเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อโต้ตอบ
คนแต่ละวัยเติบโตมาในยุคที่แตกต่างกัน ความเชื่อหรือมุมมองในชีวิตก็ย่อมต่างกัน การที่เราต้องการจะเข้าใจใครสักคน จึงไม่ควรรีบด่วนตัดสิน
ลอง “ฟัง” ด้วยใจ อยากรู้ว่าเขาคิดอย่างไร ผ่านอะไรมาบ้าง และเหตุผลเบื้องหลังความเชื่อนั้นคืออะไร
การเปิดโอกาสให้เขาเล่าเรื่องในชีวิต จะทำให้เราเข้าใจเขามากขึ้น และสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นได้โดยไม่ต้องฝืนใจ
“พูด” ดีๆ เพื่อรักษาน้ำใจ
อยู่ร่วมกันย่อมมีความคิดเห็นไม่ตรงกันบ้าง แต่การพูดด้วยอารมณ์หรือคำพูดเชิงตำหนิซ้ำๆ อาจทำให้บรรยากาศในบ้านตึงเครียด เราสามารถเลือก “พูด” ในทางที่สร้างสรรค์มากขึ้น เช่น
• ชื่นชม ในข้อดีหรือจุดแข็งของคนในบ้าน
• ขอบคุณ ในสิ่งเล็กๆ ที่เขาทำให้เรา
• หรือเมื่อมีปัญหา ก็เลือกพูดด้วยเหตุผลมากกว่าใช้อารมณ์
เพียงเท่านี้ การพูดคุยในบ้านก็จะเป็นพื้นที่ปลอดภัยมากขึ้นสำหรับทุกคน
“ทำ” กิจกรรมร่วมกันเพื่อกระชับสัมพันธ์
กิจกรรมเล็กๆ อย่างทำอาหาร ดูหนัง หรือออกกำลังกายร่วมกัน เป็นเครื่องมือชั้นดีในการเชื่อมใจคนในครอบครัว แต่ขอให้ตั้งกติกาไว้ล่วงหน้า เช่น
• ไม่ใช้เวลาเหล่านี้เพื่อตำหนิกัน
• ไม่ชวนคุยเรื่องปัญหาหนักๆ
• ตั้งใจใช้เวลานี้เพื่อสร้างความสุขและเรียนรู้กันกิจกรรมเหล่านี้ยังเปิดโอกาสให้คนต่างวัยได้แลกเปลี่ยนความรู้ เช่น เด็กรุ่นใหม่สอนเทคโนโลยีให้ผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันก็เรียนทำกับข้าวแบบดั้งเดิมจากคุณตาคุณยาย
ความสุขในครอบครัว ไม่ได้เกิดจากการที่ทุกคนคิดเหมือนกันแต่เกิดจากความพยายาม “เข้าใจ เห็นใจ และช่วยกันประคองความสัมพันธ์ไว้”
ในยุคที่ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียด โรคซึมเศร้า หรือการพึ่งพาสารเสพติดเพิ่มสูงขึ้น การมีครอบครัวที่ “เข้าใจและดูแลกัน” คือเกราะป้องกันสำคัญที่สุด
ช่วยกันทำให้บ้านของเราเป็นที่ที่ อบอุ่น น่าอยู่ และปลอดภัย สำหรับทุกคนในทุกวัยด้วยกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ผศ.นพ.อัศวิน นาคพงศ์พันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง : นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#วันครอบครัว #MedCMU #คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #แพทย์เชียงใหม่ #แพทย์มช #หมอสวนดอก #โรงพยาบาลสวนดอก #Medcmuในมือคุณ #สื่อสารองค์กรMedcmu
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: