CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
เด็กสมาธิสั้น และปัสสาวะรดที่นอน มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร?
24 มิถุนายน 2567
คณะแพทยศาสตร์
รู้จักสมาธิสั้น
สมาธิจะมีมากหรือน้อยในแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ขึ้นกับหลายปัจจัย ได้แก่ การเจริญเติบโตของระบบประสาทและสติปัญญา ซึ่งทำให้ในเด็กที่อายุมากขึ้นก็จะมีสมาธิมากขึ้นตามวัย
โดยปกติเด็กเล็กๆ ช่วงขวบปีแรกจะมีสมาธิไม่เกิน 2-3 นาที หลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือในช่วง 1-2 ขวบจะมีสมาธิประมาณ 3-5 นาที วัยอนุบาลสามารถมีสมาธิประมาณ 5-15 นาที และช่วงประถมต้นอาจมีสมาธิได้นานถึง 15-30 นาทีขึ้นไป
โรคสมาธิสั้น
เป็นปัญหาพฤติกรรมที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กวัยเรียน เป็นภาวะบกพร่องในการทำงานของสมองที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติใน 3 ด้านหลัก
ได้แก่
• ขาดสมาธิที่ต่อเนื่อง เช่น เหม่อลอย ทำงานไม่มีระเบียบ
• ซน เคลื่อนไหวมากกว่าปกติหรืออยู่ไม่นิ่ง เด็กอาจวิ่งไปมา พูดไม่หยุด ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่ม “Hyperactivity”
• ขาดการยั้งคิดหรือหุนหันพลันแล่นที่ไม่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เช่น เล่นอยู่กับเพื่อนอย่างสนุกแล้วผลักเพื่อนล้มลง ยั้งแรงไม่ได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโรคสมาธิสั้นมีหลายอาการด้วยกัน
อาการโรคสมาธิสั้นในแต่ละช่วงวัย
อาการของโรคสมาธิสั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัย เด็กเล็กมักแสดงอาการในกลุ่ม Hyperactivity ยุกยิก ไม่นิ่ง เมื่อโตขึ้นเป็นวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่มักแสดงอาการในรูปแบบการขาดสมาธิที่ต่อเนื่องมากกว่า เช่นนั่งทำงานได้แป๊บเดียวก็หาอะไรทำ หรือคว้ามือถือมาเล่น เป็นต้น
อุบัติการณ์ของโรคสมาธิสั้นจากรายงานทั่วโลกพบเด็กวัยเรียนที่เป็นโรคสมาธิสั้น ประมาณร้อยละ 5-10 นั่นแปลว่า ในห้องเรียนหนึ่ง ถ้ามีนักเรียน 50 คน จะมีโอกาสพบเด็กโรคสมาธิสั้นในห้องนั้น 2-5 คน และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
สาเหตุการเกิดโรคสมาธิสั้น
• ปัจจัยด้านชีวภาพด้านสมอง พบว่าสมองมีความสัมพันธ์กับโรคสมาธิสั้นคือสมองส่วนหน้า
• ปัจจัยด้านพันธุกรรมในเรื่องของยีนส์ พบยีนส์บางตัวที่ควบคุมเกี่ยวกับสารสื่อประสาทในสมอง
• ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม จะพบสมาธิสั้นมากในกลุ่มที่มีประวัติว่าคุณแม่ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ในขณะตั้งครรภ์
“โรคสมาธิสั้นไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง แต่การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้อาการซน สมาธิสั้นเพิ่มมากขึ้นจนส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กได้”
การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นตามเกณฑ์ DSM-5 จำนวนอย่างน้อย 6 ใน 9 ข้อ ร่วมกับ
– แสดงอาการก่อนอายุ 12 ปี
– แสดงอาการอย่างน้อย 2 แห่งขึ้นไป (เช่น บ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน)
– อาการรบกวนต่อหรือลดคุณภาพของการทำหน้าที่ด้านสังคม การเรียน หรือการทำงาน
– อาการต้องไม่เกิดในช่วงของโรคจิตเภทหรือโรคจิตชนิดอื่นๆ
แนวทางการช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นที่จะพูดถึงในวันนี้ ประกอบด้วย 2 แนวทางหลัก ได้แก่
– การรักษาด้วยยา
– การปรับพฤติกรรม
ส่วนการรักษาและคำแนะนำอื่น ๆ อาทิ การฝึกสติ (Mindfulness) การให้อาหารเสริม นิวโรฟีดแบ็ค (Neurofeedback) ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนทางการแพทย์
เด็กสมาธิสั้นกับการปัสสาวะรดที่นอนมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร?
มีสาเหตุบางอย่างร่วมกัน เช่น
– สมองยังมีการพัฒนาได้ไม่เต็มที่ มีพัฒนาล่าช้ากว่าคนอื่น ทำให้ควบคุมสมาธิหรือการขับถ่ายได้ช้ากว่าคนอื่น
– สาเหตุทางพันธุกรรมซึ่งพบได้ในทั้งสองโรค
พบว่าเด็กสมาธิสั้นมีปัสสาวะรดที่นอนร่วมด้วย 20-30 เปอร์เซ็นต์ และเด็กที่มีปัสสาวะรดที่นอนมีภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุด คือโรคสมาธิสั้นชนิดขาดสมาธิต่อเนื่อง ซึ่งอาจเกิดจากหลายการนอนไม่พอ เนื่องจากมีการปลุกให้ลุกปัสสาวะในเวลากลางคืน
ปัสสาวะรดที่นอนจะวินิจฉัยเมื่อเด็กมีอายุตั้งแต่ 5 ขวบขึ้นไป สาเหตุหลักของปัสสาวะรดที่นอนคือ
– การหลับผิดปกติ ปลุกตื่นยาก
– ไตผลิตน้ำปัสสาวะมากกว่าปกติเวลานอน
– กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินเวลานอน
ปัสสาวะรดที่นอนส่งผลกระทบต่อเด็กหลายประการคือ นอนหลับไม่สนิท กลางวันง่วงนอน ขาดสมาธิ ขาดความมั่นใจ ซึมเศร้า และอาจเป็นที่มาของความรุนแรงในครอบครัวได้
การรักษาหลักของปัสสาวะรดที่นอน
– การปรับพฤติกรรม ให้ดื่มน้ำให้เพียงพอ ไม่มากหรือน้อยเกินไป ปัสสาวะก่อนนอนทุกครั้ง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่จะทำให้มีน้ำปัสสาวะในปริมาณมาก เช่น น้ำหวาน นม อาหารรสเค็ม ขนมกรุบกรอบ
– การใช้เครื่อง Alarm เพื่อปลุกเตือนขณะปัสสาวะรดที่นอน
– การทานยา desmopressin เพื่อลดการขับปัสสาวะก่อนนอน
– การทานยา antimuscarinic เพื่อลดการบีบตัวกระเพาะปัสสาวะก่อนนอน
หากสงสัยว่าบุตรหลานของท่านมีอาการของโรคสมาธิสั้น และหรือปัสสาวะรดที่นอน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้การดูแลรักษาที่ถูกต้องต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.นพ.พิษณุ มหาวงศ์ อาจารย์ประจำหน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. และ รศ.พญ.นงลักษณ์ บุญชูดวง อาจารย์ประจำหน่วยพัฒนาการและพฤติกรรม ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง:นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: