CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
โรคไต อันตรายกว่าที่คิด
14 กุมภาพันธ์ 2565
คณะแพทยศาสตร์
ในบทความนี้จะกล่าวถึงโรคไตเรื้อรังซึ่งเป็นโรคไตที่พบมากที่สุด เมื่อการดำเนินของโรคไตเรื้อรังเข้าสู่ระยะสุดท้าย การรักษาด้วยยาจะไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต ซึ่งวิธีการบำบัดทดแทนไตมีอยู่ 3 วิธี คือ
1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
2. การล้างไตทางช่องท้อง
3. การปลูกถ่ายไต
ข้อมูลและสถิติจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องรับการบำบัดทดแทนไตพบว่าเพิ่มขึ้น ประมาณ 2 หมื่นรายต่อปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกปี โดยมีผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ล้างไตทางช่องท้อง และปลูกถ่ายไต รวมแล้วจำนวนประมาณ 1 แสน 5 หมื่นราย (สถิติ ปี พ.ศ. 2562)
จากการศึกษาวิจัยความชุกของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทยพบโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-5 มีความชุกรวมทั้งหมดประมาณ 17.5 เปอร์เซ็นต์ของประชากร เมื่อเทียบกับความชุกโรคไตเรื้อรังประเทศสหรัฐอเมริกา หรือประเทศในแถบยุโรปแล้วมีประเทศไทยมีอัตราความชุกโรคไตเรื้อรังที่สูงกว่า(ต่างประเทศที่กล่าวมาอัตราความชุกประมาณ 11-13 %) เมื่อคำนวณจากจำนวนประชากรทั้งหมดของไทยจึงคาดว่าคนไทยประมาณ 10 ล้านคน เป็นโรคไตเรื้อรัง แต่เนื่องจากโรคไตเรื้อรังระยะต้นมักจะไม่แสดงอาการ หรืออาการไม่ชัดเจน จึงทำให้ไม่ได้รับความสนใจหรือตัวผู้ป่วยเองก็ไม่ตระหนักถึงอันตราย ไม่ได้ให้ความสนใจ ไม่ไปรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ปล่อยให้มีการการเสื่อมของไตดำเนินไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสู่ระยะที่เป็นมากขึ้น ซึ่งในโรคไตเรื้อรังนี้ไตที่เสื่อมไปแล้วจะไม่กลับมาฟื้นเป็นปกติเหมือนเดิมอีก
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมีด้านใดบ้าง
ผลกระทบในระยะแรกๆอาจจะไม่ชัดเจนเนื่องจากไม่มีอาการและอาการแสดง หรือมีอาการที่รบกวนชีวิตของผู้ป่วยที่ไม่ชัดเจน ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้นจะไม่สูง แต่ผลกระทบที่มีมากจะเป็นในโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ที่เรียกว่าไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เป็นระยะที่ผู้ป่วยต้องมาฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือผู้ป่วยต้องมาล้างไตทางช่องท้อง แม้ว่าวิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือการปลูกถ่ายไต เพราะผู้ป่วยไม่ต้องมาฟอกเลือด หรือล้างไตทางช่องท้อง มีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงกับคนปกติ แต่มีข้อจำกัดที่จำนวนการปลูกถ่ายไตในแต่ละปีสามารถทำได้ประมาณ 600-700 ราย เท่านั้นซึ่งขึ้นอยู่กับสมรรถนะของสถาบันที่มีจำนวนไม่มากในประเทศไทยและจำนวนไตบริจาคในแต่ละปีด้วย
สำหรับผู้ป่วยที่เข้าสู่ภาวะไตวายระยะสุดท้าย ผลกระทบที่มากที่สุดคือผู้ป่วยที่เป็นไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องทำการฟอกเลือด หรือล้างไตทางช่องท้อง ผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยนอกจากจะมีภาวะสุขภาพแย่ลงและเทียบกับก่อนเจ็บป่วยจะไม่เหมือนเดิม กระทบต่อความสามารถในการทำงานหรือประกอบอาชีพ ต้องปรับตัวอย่างมากทำให้เกิดความเครียดความวิตกกังวล จะต้องเดินทางฟอกเลือด สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง อย่างต่อเนื่องกรณีที่ฟอกเลือดในโรงพยาบาลหรือศูนย์ฟอกเลือด หากผู้ป่วยที่ทำงานจะมีผลกระทบต่อความก้าวหน้าในงานอาชีพ อาจจะมีรายได้ลดลง หรืออาจจะต้องลาออกจากงานที่ทำอยู่ด้วย
นอกจากนี้หากเป็นผู้ป่วยสูงอายุทางครอบครัวจะต้องหาผู้ดูแลหรือต้องมีคนคอยรับคอยส่งมาฟอกเลือด ก็จะมีค่าใช้จ่ายซ่อนเร้นอยู่ ที่จะต้องจ้างคนมาดูแล เป็นต้น นอกจากนี้เป็นผลกระทบต่องบประมาณด้านสาธารณสุขที่มากขึ้นเนื่องจากการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต เช่น ฟอกเลือด หรือการล้างไตทางช่องท้องเป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งก็เป็นเงินที่มาจากการเสียภาษีของประชาชนด้วย
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเรื้อรัง
– ที่พบมากที่สุดคือโรคเบาหวาน พบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีสาเหตุมาจากเบาหวาน 30-40 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยไตเรื้อรังทั้งหมด ดังนั้นหากผู้ป่วยเบาหวานดูแลตัวเองได้ไม่ดี ควบคุมโรคไม่ได้ท้ายที่สุดการดำเนินของโรคจะสู่ระยะสุดท้ายและต้องฟอกเลือด หรือล้างไตทางช่องท้อง
-ความดันโลหิตสูง
-โรคหัวใจและหลอดเลือด
-โรคไตอักเสบ หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง เช่น กลุ่มโรค SLE
-ผู้ที่ได้รับยาหรือสารที่เป็นพิษต่อไต เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มเอนเสด ยาสมุนไพรบางชนิด ยาปฏิชีวนะบางชนิด
-เป็นนิ่วในไตหรือในระบบทางเดินปัสสาวะ
-โรคถุงน้ำในไต
-โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบนซ้ำหลายครั้ง
-มีมวลไตน้อยหรือลดลง หรือมีไตข้างเดียว
-ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป
-มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว
-ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือ โรคอ้วน
-สูบบุหรี่
บุคคลที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคไตเรื้อรัง และเป็นโรคไตเรื้อรังอยู่แล้ว ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร
-ถ้ามีโรคที่เป็นความเสี่ยงอยู่แล้ว ต้องควบคุมดูแลควบคุมรักษาให้ดี อาทิ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งผู้ป่วยจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง ยกตัวอย่าง เช่น โรคเบาหวาน ต้องควบคุมระดับน้ำตาลก่อนอาหารอยู่ในช่วง 80-130 มิลลิกรัม และควบคุมระดับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (ฮีโมโกลบินเอวันซี: HbA1C) ประมาณร้อยละ 7 เป็นต้น
-ลดความอ้วนหรือลดน้ำหนัก
-ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3-4 วันในหหนึ่งสัปดาห์
-รับประทานอาหารที่เหมาะสม และจำกัดโซเดียม(ลดเค็ม)
-ไม่ซื้อยากินเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์
-หยุดสูบบุหรี่
-ผู้ที่มีความเสี่ยงควรตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะการหน้าที่ของไตอย่างสม่ำเสมอ ซึ่ง ทำได้โดยการตรวจเลือด และตรวจปัสสาวะ
-ระวังภาวะหรือโรคที่ทำให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง เช่น การติดเชื้อทางเดินอาหาร ท้องเสียอย่างรุนแรง
ยาที่มีอันตรายต่อไตอาจจะทำให้ไตวาย หรือการดำเนินของโรคแย่ลงได้ในผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือเป็นโรคไตเรื้อรังอยู่แล้ว
ยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด(NSAIDs) ตัวอย่างยาชื่อในกลุ่มนี้ เช่น แอสไพริน(aspirin) ไอบูโพรเฟน(ibruprofen) พอนสแตน(ponstan?) ไดโคลฟีแน็ก(diclofenac) เป็นต้น และยาแก้ปวดกลุ่มที่สำคัญอีกกลุ่มคือยากลุ่มค็อกทู(COX-2) ตัวอย่างชื่อยากลุ่มนี้ เช่น ซีลีเบรกซ์(cerebrex?) อาร์คอกเซีย(arcoxia?) ไดนาสแตท(dynastat?) ยาแก้ปวดทั้งสองกลุ่มนี้ มีรายงานว่าทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว และกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังหากได้รับยากลุ่มนี้โดยไม่ได้ผ่านการพิจารณาจากแพทย์ผู้รักษา อาจจะทำให้มีภาวะไตวาย บางรายถึงขั้นต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเพื่อแก้ไขปัญหาของเสียคั่งจากไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้ เนื่องจากเป็นยาแก้ปวดที่มีขายในร้านขายยาทั่วไป หากไม่ได้แจ้งเภสัชกรว่าเป็นโรคไตเรื้อรังหรือไม่ทราบว่าตัวเองมีความเสี่ยงอาจจะได้รับยากลุ่มนี้ทำให้เกิดผลเสียตามที่กล่าวมาแล้ว
ยาปฏิชีวนะรับประทานบางชนิด เช่น ยาซิโปรฟลอกซาซีน(ciprofloxacin) ยาปฏิชีวนะฉีดกลุ่มอะมิโนไกล์โคไซด์(aminoglycoside) เช่น ยาเจนตามัยซิน(gentamycin) ยาอะมัยกิน(amikin) นอกจากนี้ยาหรือสารทึบรังสีที่ใช้ในการตรวจซีทีแสกน ก็มีความเสี่ยงจะทำให้ไตเสื่อมมากขึ้นได้ ปกติแพทย์จะพิจารณาใช้ด้วยยากลุ่มนี้ความระมัดระวัง
กลุ่มสมุนไพรหรือผลไม้ที่มีข้อมูลว่าอันตรายต่อผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงหรือเป็นโรคไตเรื้อรัง ดังนั้นควรใช้สมุนไพรด้วยความระมัดระวัง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอโดยฌพาะผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรังอยู่ตัวอย่างสมุนไพรหรือผลไม้ที่มีหลักฐานว่ามีอันตรายสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงหรือเป็นโรคไตเรื้อรัง เช่น มะเฟือง ลูกเนียง(มีสารที่ก่อให้เกิดอาการพิษที่ชื่อว่า กรดแจงโคลิค (djenkolic acid) ซึ่งเป็นพิษต่อไตอาจส่งผลให้ระบบไตล้มเหลวได้) ไคร้เครือ(เป็นพิษต่อตับ ไต และ ต่อมหมวกไต โดยทำให้เกิดไตวายและเป็นมะเร็งทางเดินปัสสาวะ) แฮ่ม นอกจากนี้สมุนไพร เช่น หนานเฉาเหว่ยหรือ(ป่าช้าเหงา) จากประสบการณ์ทำงานในหน่วยไตเทียมพบว่าทำให้ไตเสื่อมมากขึ้นเมื่อใช้ในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
นอกจากนี้ตัวอย่างสมุนไพรที่อาจจะมีความเสี่ยง เช่น ชะเอมเทศ(อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง) เห็ดหลินจือ โสม(เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงหากรับประทานมากเกินไป) ลูกยอ(อาจทำให้มีโพแทสเซียมในเลือดสูง เป็นอันตรายต่อไต) หญ้าไผ่น้ำ(มีฤทธิ์ขับปัสสาวะทำให้ไตต้องทำงานหนักมากเกินไป) ปอบิด(หรือปอกะบิด:เพิ่มการทำงานของตับและไต) หญ้าหนวดแมว(อาจทำให้มีโพแทสเซียมในเลือดสูง เป็นอันตรายต่อไต) มะนาวโห่(อาจมีผลทำให้ไตขับสารโพแทสเซียมออกมาไม่ทัน ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ) เถาวัลย์เปรียง(มีสารแก้ปวดคล้ายยากลุ่มเอ็นเสด) ปวยเล้ง(มีปริมาณโพแทสเซียมที่สูง ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง) ตะลิงปลิง เครนเบอรี่ (รับประทานมากทำให้เกิดนิ่ว และผลการทำงานของไตผิดปกติ) ต้นอ่อนข้าวสาลี(มีปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูงมาก ผู้ป่วยโรคไตจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน) เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: คุณเสาวรส ปริญญะจิตตะ หัวหน้าหน่วยไตเทียมฉุกเฉิน งานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรศาสตร์ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: