CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
ธาลัสซีเมีย โรคเลือดจางที่ไม่ควรมองข้าม
30 พฤษภาคม 2567
คณะแพทยศาสตร์
โรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ เป็นโรคโลหิตจางทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพบในประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย นอกจากนี้ พบในประชากรแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้ด้วย ประชากรไทยมียีนแฝงธาลัสซีเมียหรือที่เรียกว่า เป็นพาหะธาลัสซีเมียประมาณหนึ่งในสามของประชากร และมีผู้ที่เป็น
โรคธาลัสซีเมียประมาณร้อยละ 1 ของประชากร
ส่วนประกอบของเลือด
เซลล์เม็ดเลือด มี 3 ชนิด ได้แก่
-เม็ดเลือดแดง รูปร่างกลมแบน ย้อมติดสีแดงเนื่องจากมีสารประกอบฮีโมโกลบินซึ่งมีหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อปลายทาง ถ้ามีเม็ดเลือดแดงปริมาณน้อยลง จะเรียกว่าเลือดจาง
-เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่หลักคือต่อสู้กับเชื้อโรค ได้แก่ เม็ดเลือดขาวต่ำ เพราะฉะนั้นเม็ดเลือดขาวทำงานผิดปกติ จะทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น
-เกล็ดเลือด ทำหน้าที่ให้เลือดหยุดไหล เพราะฉะนั้นถ้าเกล็ดเลือดต่ำ จะมีเลือดออกผิดปกติ เช่น มีรอยช้ำตามตัว หรือเลือดออกตามไรฟันได้
ส่วนน้ำเหลือง (พลาสมา) ประกอบด้วยโปรตีน ที่ทำหน้าที่หลายชนิด มีโปรตีนสำคัญ เช่นอิมมิวโนโกลบูลิน ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันของร่ายกาย
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
ธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางทางพันธุกรรม มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบยีนด้อย เกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างฮีโมโกลบิน ทำให้สร้างฮีโมโกลบินที่ปกติได้น้อยลง ผู้ป่วยจะมีอาการซีด ตัวเหลืองตาเหลือง อวัยวะภายในช่องท้อง ได้แก่ ตับ และม้าม มีขนาดโตขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูก รูปหน้าเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตช้า
พาหะธาลัสซีเมีย
คนเรามีโครโมโซมหรือแท่งพันธุกรรมที่บรรจุรหัสทางพันธุกรรมอยู่เป็นคู่รวม 23 คู่ ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียเกิดจากการมียีนธาลัสซีเมียเข้าคู่กัน ส่วนพาหะธาลัสซีเมีย หรือผู้ที่มียีนแฝงธาลัสซีเมีย เป็นผู้ที่มียีนธาลัสซีเมียคู่กับยีนโกลบินปกติ ซึ่งไม่มีอาการ และตรวจพบได้โดยการตรวจเลือดวิธีพิเศษเพื่อวินิจฉัยธาลัสซีเมีย
ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียต้องรับเลือดทุกรายหรือไม่
โรคธาลัสซีเมียมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของโรคและลักษณะทางพันธุกรรม บางชนิดทารกจะมีอาการซีดมากตั้งแต่ช่วงทารกในครรภ์ บางชนิดทารกเริ่มมีอาการซีดเมื่ออายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ต้องรับเลือดทุกเดือน และบางชนิดที่อาการน้อย อาจตรวจพบว่าซีดโดยบังเอิญตอนเป็นผู้ใหญ่ ไม่จำเป็นต้องรับเลือด
ใครบ้างที่อาจเป็นพาหะของธาลัสซีเมีย
คนไทยทั่วไปประมาณ 1 ใน 3 เป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้องตรวจเลือดด้วยวิธีพิเศษเพื่อคัดกรองหรือวินิจฉัย
การรักษา
แบ่งตามอาการของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยที่ระดับฮีโมโกลบินต่ำจะวางแผนการรับเลือดอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ร่วมกับการให้ยาขับธาตุเหล็กเพื่อลดภาวะธาตุเหล็กเกิน และการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ส่วนผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องรับเลือดในระยะยาว ให้การดูแลรักษาทั่วไป รับประทานอาหารให้ถูกหลัก ออกกำลังกายให้แข็งแรง รับประทานวิตามินโฟลิก และเฝ้าระวังภาวะซีด อ่อนเพลียเมื่อมีการติดเชื้อหรือการเจ็บป่วยอื่น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.พญ.พิมพ์ลักษณ์ เจริญขวัญ รองหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์ธาลัสซีเมีย และโลหิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง : นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: