CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดตัวกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ไผ่ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG
27 ธันวาคม 2567
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2567 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กานต์ คำแก้ว หัวหน้าศูนย์วิจัยและบริการวิชาการสถาปัตยกรรม ได้เปิดตัว กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ไผ่ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bamboo to BCG Model) ภายใต้โครงการ "Creative LANNA Forward" เพื่อยกระดับศักยภาพของไผ่ในฐานะทรัพยากรสร้างสรรค์ และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสนับสนุนการบ่มเพาะภูมิปัญญาล้านนาให้ก้าวสู่มิติใหม่ของนวัตกรรม สร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่น และยกระดับสู่ระดับสากล
นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 เน้นย้ำถึงความสำคัญของไผ่ในฐานะพืชเศรษฐกิจใหม่ที่มีศักยภาพสูง ทั้งในด้านการใช้งานเชิงอุตสาหกรรมและการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษ PM 2.5 โดยกิจกรรมในครั้งนี้มุ่งเน้นการใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อการออกแบบที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและลดของเสียในกระบวนการผลิต
ในฐานะหัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กานต์ คำแก้ว กล่าวว่า “โครงการนี้เน้นการประยุกต์ใช้ศาสตร์แห่งการออกแบบเพื่อสร้างนวัตกรรมจากภูมิปัญญาล้านนา โดยใช้ไผ่เป็นตัวกลางในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสมัยใหม่ การออกแบบโดยใช้กระบวนการ Design Thinking จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ทั้งด้านการตลาดและความยั่งยืน”
เวทีสัมมนาภายในงาน นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กานต์ คำแก้ว ร่วมกับ นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ BIG BAM Model (Bio-Green Bamboo Activity Development Model) ซึ่งประกอบด้วยการสำรวจข้อมูล การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด และการเพิ่มมูลค่า โดยมีการเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และสร้างนวัตกรรมที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ ในงานยังมี Workshop งานจักสานจากไผ่ และ นิทรรศการไผ่ไทยคราฟต์ ที่แสดงผลงานออกแบบจากไผ่ของวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของการผสานภูมิปัญญากับแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร 053-942843 หรือ 093-5794160 (ปาม), 087-7412131 (แอน)
.
ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ลิงค์ : https://forms.gle/zqF3dgV8xRXr95PH8
.
#BIGBAM #ผลิตภัณฑ์จากไผ่ #วิสาหกิจชุมชน #เชียงใหม่ #ลำพูน #ลำปาง #BCGModel
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: