CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
วาเลนไทน์นี้ มากกว่าการบอกรัก มาเริ่มต้นดูแลหัวใจของคุณและคนที่คุณรักกันเถอะ
14 กุมภาพันธ์ 2565
คณะแพทยศาสตร์
“แม้หัวใจจะมีไว้รักได้มากกว่าหนึ่งคน แต่หัวใจของคนหนึ่งคนก็มีเพียงแค่หนึ่งเดียว” ด้วยเหตุผลสำคัญนี้เราจึงต้องทะนุถนอมหัวใจของเราให้แข็งแรง เพราะการมีหัวใจที่แข็งแรงจะช่วยทำให้เรามีชีวิตอยู่กับคนที่รักไปได้อีกนาน
หัวใจเปรียบเสมือนปั๊มน้ำ ซึ่งทำหน้าที่สูบฉีดเลือดกลับจากปอด ปั้มและส่งเลือดที่ดี ที่มีคุณภาพ ผ่านการฟอกเลือด ฟอกอากาศ กรองเชื้อโรคแล้ว นำออกไปยังอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย หัวใจของเราทำงานแบบนี้ตลอดทั้งวัน 24 ชั่วโมง แม้กระทั่งตอนนอนหลับขณะที่อวัยวะอื่นพักผ่อน กล้ามเนื้อหัวใจก็ยังคงทำงาน
ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้หัวใจเกิดอันตรายหรือเกิดโรคนั้น แยกผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 70 ปี ขึ้นไป และผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี ไปจนถึงช่วงวัยรุ่น
กลุ่มแรกผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 70 ปี ขึ้นไป ปัจจัยเสี่ยงคืออายุที่เพิ่มมากขึ้นร่างกายย่อมเสื่อมถอยไปตามธรรมชาติ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะเปราะบางมีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่นโรคความดันโลหิตสูง มักพบได้มากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่น่ากลัวอย่างยิ่งต่อหัวใจ
กลุ่มต่อมาผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี จนถึงช่วงวัยรุ่น ปัจจัยเสี่ยงคือการนั่งอยู่เฉยๆ หรือการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งอยู่กับที่ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Sedentary เป็นพฤติกรรมประหยัดพลังงานในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน นอนเล่นโทรศัพท์มือถือติดต่อกันนานหลายชั่วโมง ซึ่งพฤติกรรมของคนยุคใหม่เหล่านี้จะมีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆในระยะยาว ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอ้วนลงพุง โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
หากลองนึกภาพเปรียบเทียบหัวใจและหลอดเลือดเหมือนยางหนังสติ๊ก เวลาที่ได้ออกแรง ยืดหยุ่น เคลื่อนไหว ยางหนังสติ๊กนั้นก็จะนุ่มนวล ทำงานได้ดีตามปกติ กว่าจะขาดก็ใช้เวลา แต่ตรงกันข้ามหากเราเก็บยางหนังสติ๊กไว้กับที่เป็นเวลานาน ยางก็แห้ง กรอบ พอนำมาดึงก็ขาดได้ง่าย ดังนั้นการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
สำหรับแนวทางในการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ นอกจากการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ เสริมผัก ผลไม้ ธัญพืช และไขมันที่ดีต่อสุขภาพในทุกวัน หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไขมันทรานส์และอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลสูง เพราะโรคอ้วนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ และโรคเรื้อรังต่างๆตามมาได้อีกด้วย
ฝากทิ้งท้ายสำหรับเรื่องของการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เนื่องจากเป็นวิธีที่จะทำให้เราได้รู้จักร่างกายของตนเองว่ามีจุดผิดปกติจุดไหนหรือไม่ และหากพบอาการผิดปกติในช่วงระยะเริ่มแรก ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายได้มากขึ้น เพราะการที่เราและคนที่เรารักมีสุขภาพหัวใจที่ดีไปด้วยกัน เป็นของขวัญที่พิเศษที่สุดในวาเลนไทน์นี้แล้ว
ข้อมูลโดย : อาจารย์แพทย์หญิง ทรรศลักษณ์ ทองหงส์ อาจารย์ประจำศูนย์โรคหัวใจภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียงโดย : ฟ้า ธัญญลักษณ์ สดสวย
นักประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU
ติดตามผ่านช่องทาง
Facebook : https://cmu.to/uIWxr
Website : https://cmu.to/g1jOo
Blockdit : https://bit.ly/3rOyvhc
Telegram : https://bit.ly/3BgTWue
Twitter : https://bit.ly/3rM0gqB
Line@MedCMU : https://bit.ly/3Bh6WzY
Instagram : https://bit.ly/3HOaQD3
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: