CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
นักวิจัยภาควิชาฟิสิกส์ฯ คณะวิทย์ มช. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสเปกตรัมของรังสีคอสมิกจากทวีปแอนตาร์กติกา โดยใช้เครื่องตรวจวัดนิวตรอนที่ติดตั้งบนเรือตัดน้ำแข็ง US Coast Guard และ "ช้างแวน"
5 มิถุนายน 2567
คณะวิทยาศาสตร์
ทีมนักวิจัยภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกันศึกษาวิจัยในหัวข้อ Solar Magnetic Polarity Effect on Neutron Monitor Count Rates: Comparing Latitude Surveys and Antarctic Stations เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสเปกตรัมของรังสีคอสมิก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอนุภาคประจุบวก เช่น โปรตอนและแอลฟ่า
โดยเมื่อรังสีคอสมิกจากอวกาศชนกับอะตอมในชั้นบรรยากาศโลก จะเกิดอนุภาคย่อยจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคืออนุภาคนิวตรอน ซึ่งเป็นอนุภาคที่ไม่มีประจุ ทำให้สามารถผ่านทะลุลงมายังพื้นดินได้ง่าย เราสามารถตรวจวัดนิวตรอนได้โดยใช้เครื่องตรวจวัดนิวตรอน (Neutron Monitor) เนื่องจากอิทธิพลของวัฏจักรดวงอาทิตย์ (Solar Cycle) และวัฏจักรขั้วสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ (Solar Magnetic Polarity) ส่งผลกระทบต่อปริมาณรังสีคอสมิกที่เข้าสู่โลก ทำให้อัตราการนับจำนวนนิวตรอนจากเครื่องตรวจวัดนิวตรอนเปลี่ยนแปลงไป
การศึกษาครั้งนี้ช่วยให้เราทราบถึงผลกระทบที่ซับซ้อนจากอิทธิพลของดวงอาทิตย์ ในงานวิจัยนี้ได้ใช้ข้อมูลจากเครื่องตรวจวัดนิวตรอนแบบเคลื่อนที่ (Transportable Neutron Monitor) โดยเครื่องตรวจวัดนิวตรอนนี้ถูกนำไปติดตั้งบนเรือตัดน้ำแข็งของ US Coast Guard เพื่อบันทึกข้อมูลการเดินทางไปและกลับจากสหรัฐอเมริกาไปยังทวีปแอนตาร์กติกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 ถึงปี ค.ศ. 2007 (รวมระยะเวลา 13 ปี) นอกจากนี้ยังได้ใช้ข้อมูลจากเครื่องตรวจวัดนิวตรอนแบบเคลื่อนที่ ชื่อ “ช้างแวน (Changvan)” ที่ติดตั้งบนเรือตัดน้ำแข็งสัญชาติจีนชื่อ Xue Long (แปลว่า “มังกรหิมะ”) ในช่วงระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 ถึงปี ค.ศ. 2019 มาร่วมวิเคราะห์ด้วย
จากการที่มีข้อมูลหลายปีการสำรวจที่ครอบคลุมสองวัฏจักรของดวงอาทิตย์ (วัฏจักรที่ 23 และ 24) และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลจากเครื่องตรวจวัดที่ตั้งอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา ทำให้เราได้ค้นพบปริศนาการไขว้ข้ามของสเปกตรัม (Spectral Crossovers) ของรังสีคอสมิก ซึ่งสามารถยืนยันผลของการไขว้ข้ามในกรณีที่ขั้วของสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ตรงกันข้ามในสองปีการสำรวจ
ผลการศึกษาที่ได้สอดคล้องกับผลการวิจัยจาก Nuntiyakul et al. (2014) และ Mangeard et al. (2018) ซึ่งผลของการเกิดการไขว้ข้ามของสเปกตรัมรังสีคอสมิกดังกล่าว สามารถอธิบายได้ว่าการดริฟท์ (Drifts) จะมีอิทธิพลต่อช่วงพลังงานต่ำ และการฟุ้งที่ถูกควบคุมด้วยการหมุน (Helicity-Modulated Diffusion) จะมีอิทธิพลต่อช่วงพลังงานสูงของสเปกตรัม นอกจากนี้ยังค้นพบว่าสเปกตรัมของรังสีคอสมิกจะไม่ไขว้ข้ามหากขั้วของสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์เป็นขั้วเดียวกัน ผลของข้อมูลที่นำมาใช้เปรียบเทียบระหว่างสองปีการสำรวจนี้อยู่ในช่วง Solar Minimum (จำนวน Sunspots น้อยที่สุด) ในทั้งสองกรณี
รังสีคอสมิก
ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความแปรปรวนของสภาพอวกาศ (Space Weather) และส่งผลต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ทั้งในอวกาศและบนโลก นักวิทยาศาสตร์ทราบว่าพายุสุริยะ ลมสุริยะ ความแปรปรวนของสนามแม่เหล็กโลก การเปลี่ยนแปลงในชั้นบรรยากาศ และรังสีคอสมิก เป็นดัชนีสำคัญที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอวกาศ และผลกระทบต่อโลก รวมถึงผลกระทบทั้งทางชีวภาพต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิต และทางกายภาพต่อเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้น
การศึกษารังสีคอสมิกจึงเป็นงานวิจัยพื้นฐานที่สำคัญ
ที่สามารถนำไปสู่การเข้าใจทั้งฟิสิกส์ของดวงอาทิตย์ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับดาวฤกษ์ที่มีลักษณะทางกายภาพใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ (เช่น มวล ขนาด และอายุ) รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการทำนายสภาพอวกาศ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจเนื่องจากเกี่ยวกับอุปกรณ์การสื่อสาร เช่น ดาวเทียม รวมไปถึงเป็นการเตรียมความพร้อมกับประเทศไทยที่กำลังจะส่งดาวเทียมดวงแรกขึ้นไปยังอวกาศอีกด้วย
ผลงานได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Astrophysical Journal
Published: 2023 November 14
https://doi.org/10.3847/1538-4357/ad02f1
คณะนักวิจัย
นางสาวเกล็ดทราย ภูผาคุณ
นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาดาราศาสตร์ มช.
ผู้ประพันธ์อันดับแรก (First Author)
ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วม IceCube Summer Student Program ประจำปี 2565 ณ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผศ.ดร.วราภรณ์ นันทิยกุล
อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มช.
ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding Author)
นางสาวสิดารัศมิ์ คำภักดี
นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาดาราศาสตร์ มช.
ผู้ร่วมวิจัย (Co-Author)
ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วม IceCube Summer Student Program ประจำปี 2565 ณ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผศ.ดร.ศิรามาศ โกมลจินดา
อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มช.
ผู้ร่วมวิจัย (Co-Author)
งานวิจัยและนวัตกรรม
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: