CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
เชื้อโรคจากมือ : อันตรายที่มากกว่าที่คิด
11 ตุลาคม 2567
คณะแพทยศาสตร์
ความสำคัญของการล้างมือ
มนุษย์ใช้มือในหลากหลายกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การติดต่อสื่อสาร หรือการประกอบอาหาร โดยที่เราอาจไม่ทันคิดว่า มือของเรายังเป็นช่องทางสำคัญในการนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เมื่อเราหยิบจับสิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม เชื้อโรคก็สามารถติดมากับมือเรา และหากเราสัมผัสอาหารหรือร่างกายโดยไม่ล้างมือ เชื้อโรคเหล่านั้นก็จะเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดโรคได้ง่าย
เชื้อโรคที่มาจากมือสกปรก
เชื้อโรคที่ติดมากับมือที่ไม่ได้ล้างสามารถนำไปสู่โรคหลายชนิด ดังนี้ :
1. โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 วัณโรค ซึ่งสามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย
2. โรคติดต่อทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง อหิวาตกโรค ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ และพยาธิชนิดต่างๆ ซึ่งเกิดจากการหยิบอาหารใส่ปากด้วยมือที่ไม่สะอาด
3. โรคติดต่อจากการสัมผัสโดยตรง เช่น โรคตาแดง เชื้อรา และหิด เมื่อมือสัมผัสแผลหรือสารคัดหลั่งแล้วมาสัมผัสร่างกายตัวเองหรือผู้อื่น
ทุกคนสามารถติดเชื้อโรคจากมือได้ แต่เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำจะมีความเสี่ยงสูงและอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป
เมื่อไหร่ควรล้างมือ?
เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค เราควรล้างมือในหลายสถานการณ์ โดยเฉพาะในสถานพยาบาล องค์การอนามัยโลกได้กำหนด 5 ช่วงเวลาสำคัญในการล้างมือสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ :
1. ก่อนสัมผัสผู้ป่วย
2. ก่อนทำหัตถการ
3. หลังสัมผัสอุปกรณ์หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
4. หลังสัมผัสผู้ป่วย
5. หลังสัมผัสสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วย
ในชีวิตประจำวัน เราควรล้างมือเมื่อ
• สังเกตเห็นว่ามือเปื้อน
• ก่อนและหลังเตรียมหรือรับประทานอาหาร
• หลังเข้าห้องน้ำหรือสัมผัสอุปกรณ์สาธารณะ
• ก่อนและหลังดูแลผู้ป่วย
• หลังสัมผัสสัตว์หรือของเสียจากสัตว์
วิธีการล้างมือให้สะอาด
เพื่อให้มือปราศจากเชื้อโรค ควรถอดแหวน สร้อยข้อมือ หรือนาฬิกาออกก่อนล้างมือ และใช้วิธีล้างมือที่ถูกต้องด้วยน้ำและสบู่เป็นเวลา 40-60 วินาที โดยปฏิบัติตาม 7 ขั้นตอน ดังนี้ :
1. ล้างฝ่ามือด้านหน้า
2. ฟอกหลังมือและง่ามนิ้วด้านหลัง
3. ฟอกง่ามนิ้วมือบริเวณตรงกลาง
4. ฟอกนิ้วและข้อนิ้วมือด้านหลัง
5. ฟอกรอบนิ้วหัวแม่มือ
6. ฟอกปลายนิ้วและเส้นลายฝ่ามือ
7. ฟอกรอบข้อมือ แล้วเช็ดมือด้วยผ้าสะอาด
การล้างมืออย่างถูกวิธีเป็นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพในการลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคและลดโอกาสการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ผศ.นพ.ปรเมษฐ์ วินิจจะกูล อาจารย์หน่วยโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียง: นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: