CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
การสัมมนาเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์และพลาสติกชีวภาพ
22 พฤษภาคม 2562
คณะวิทยาศาสตร์
ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านวัสดุขั้นสูงสำหรับอิเล็กทรอนิกส์พิมพ์ได้และเซ็นเซอร์ ภายใต้ความร่วมมือของศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จัดการสัมมนา หัวข้อ เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์และพลาสติกชีวภาพ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน และกล่าวรายงานการจัดงาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินิตา บุณโยดม หัวหน้าศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ เมื่อวันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2562 ณ โรงแรมแคนทารี ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่
การสัมมนาดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ทำงานวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ ที่มีความสนใจงานวิจัยด้านเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์และพลาสติกชีวภาพ ได้สร้างเครือข่ายการพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานงานวิจัยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติสู่การพัฒนาองค์ความรู้เชิงประยุกต์ ภายใต้ความร่วมมือแกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ตลอดจนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ การผลิตต้นแบบ และผลิตภัณฑ์ทางด้านเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์และพลาสติกชีวภาพ โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนา จำนวน 70 คน ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากคณะวิทยาศาสตร์ มช. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ รวมทั้งบริษัทเอกชน ร่วมเป็นวิทยากรในการบรรยาย
ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านวัสดุขั้นสูงสำหรับอิเล็กทรอนิกส์พิมพ์ได้และเซ็นเซอร์ ก่อตั้งขึ้นโดยมีพันธกิจหลักเพื่อสร้างความร่วมมือทางด้านงานวิจัยและการพัฒนาองค์ความรู้เฉพาะทางด้านอิเล็กทรอนิกส์พิมพ์ได้และเซ็นเซอร์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้เกิดการทำงานวิจัยร่วมกันด้านวัสดุขั้นสูงสำหรับอิเล็กทรอนิกส์พิมพ์ได้และเซ็นเซอร์ ตั้งแต่ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ เช่น แก๊สเซ็นเซอร์ ไบโอเซ็นเซอร์ทางไฟฟ้าเคมีพิมพ์ได้ เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์พิมพ์ได้ รอยต่อพีเอ็นพิมพ์ได้ เทอร์โมอิเลคทริกพิมพ์ได้ ฉลากบรรจุภัณฑ์ฉลาด และ วัสดุทางการแพทย์สามมิติ เป็นต้น
การเติบโตอย่างรวดเร็วของวงการแพทย์ในปัจจุบันที่มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรักษาโรคของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น เครื่องพิมพ์ 3 มิติ จึงเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ทำให้สามารถใช้วัตถุดิบได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น โลหะ เซรามิก พลาสติก วัสดุชีวภาพ
การพิมพ์ 3 มิติ ขยายวงกว้างในทางการแพทย์หลากหลายสาขา ทั้งการสร้างอวัยวะเทียม การศัลยกรรมแก้ไขขากรรไกร ไปจนถึงอุปกรณ์ที่ช่วยให้การผ่าตัดแม่นยำและรักษาได้อย่างตรงจุด เพื่อช่วยในการรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างการพิมพ์ 3 มิติที่นำไปใช้ในกระบวนการทางการแพทย์ เช่น สร้างแบบจำลองที่ใช้ในการศึกษาทางการแพทย์ สร้างอุปกรณ์ที่ใช้เป็นแนวทาง (Surgical Guilds) ในการรักษาผู้ป่วย อุปกรณ์ที่ฝังในร่างกายผู้ป่วย (Implants) เช่น โครงร่างเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะของผู้ป่วย โครงร่างใบหูแทนกระดูกอ่อนเพื่อให้ร่างกายสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาห่อหุ้มเป็นใบหู ชิ้นส่วนกะโหลก ฟันเทียม ขาเทียม แขนเทียม ไปจนถึงการสร้างไตเทียมและหลอดเลือดเทียม ซึ่งมีการพัฒนาให้แพทย์สามารถทำความเข้าใจในอวัยวะของผู้ป่วยรายบุคคลเพื่อสามารถจัดทำอุปกรณ์การรักษาอย่างเหมาะสมกับตัวผู้ป่วย และการนำไปใช้พิมพ์อวัยวะเทียมเพื่อใช้ทดแทนอวัยวะของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้พลาสติกยังถูกนำไปใช้ในการผลิตสินค้าอื่นๆ อีกมากมายหลายประเภท เช่น โมเดลหุ่นโชว์ เครื่องประดับ ของตกแต่งบ้าน เคสสำหรับใส่มือถือ ซึ่งสินค้าเหล่านี้บางชิ้นอาจถูกทิ้งหลังใช้งานได้ไม่นาน การใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้มาเป็นวัสดุในการผลิตก็จะช่วยลดปริมาณขยะลงได้มาก มิติใหม่ในยุครู้ทันเทคโนโลยีจึงมีการนำนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 3D Printing มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน นอกจากจะช่วยลดโลกร้อนแล้วยังช่วยให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นจากอุบัติเหตุต่างๆ โดยไม่ต้องเจ็บตัวเพิ่มจากการผ่าตัดซ้ำด้วย
ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยี
ข่าวเด่น
ข่าวสาร PM2.5
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: