CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
12 พฤศจิกายน วันปอดอักเสบโลก (WORLD PNEUMONIA DAY)
14 พฤศจิกายน 2566
คณะแพทยศาสตร์
องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้วันที่ 12 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันปอดอักเสบโลก หรือวันปอดบวมโลก (World Pneumonia Day) เพื่อรณรงค์ป้องกันโรคปอดอักเสบหรือปอดบวม ซึ่งเป็นโรคที่มีอุบัติการณ์สูงและเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยที่สำคัญของประเทศไทยเป็นอันดับที่ 6 (อัตราผู้ป่วยใน 1,083.77 ต่อประชากร 100,000 คน โดยมีอัตราป่วยสูงในประชากรที่มีอายุน้อยกว่า 4 ปี และอายุมากกว่า 60 ปี) และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 (อัตราการเสียชีวิต 49.7 ต่อประชากร 100,000 คน) (ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2564)
กลุ่มเสี่ยงของโรคปอดอักเสบ คือใครบ้าง
– เด็กเล็ก
– ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคไตวายเรื้อรัง โรคอ้วน โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน
– หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์)
สาเหตุของการเกิดโรค
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส (เช่น ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 อาร์เอสวี) จากการสูด สำลักสารคัดหลั่งจากช่องปากและคอ หรือการสูดหายใจเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างและถุงลมปอด ในรายที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจพบจากการติดเชื้อราหรือเชื้อปรสิตเพิ่มเติมจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ไอ อาจจะมีเสมหะร่วมหรือไม่ก็ได้ หายใจหอบเหนื่อย บางรายมีเจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าหรือไอ บางรายอาจมีอาการน้ำมูก คัดจมูก เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัวนำมาก่อน ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการซึม สับสน อุณหภูมิกายต่ำ ภาวะช็อก มีความอิ่มตัวของออกซิเจนปลายนิ้วต่ำ (น้อยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์) และภาวะหายใจล้มเหลว
การรักษา
– ในรายที่มีอาการไม่รุนแรง ได้แก่ การให้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน ร่วมกับการรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ เป็นต้น
– ในรายที่มีอาการรุนแรง เช่น มีอัตราการหายใจเร็ว ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ความดันโลหิตต่ำ ซึมหรือสับสน จำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล โดยจะได้รับยาปฏิชีวนะชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ร่วมกับการให้ออกซิเจนและการให้สารน้ำ รวมทั้งการรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.นพ.อรรถวุฒิ ดีสมโชค
หัวหน้าหน่วยวิชาระบบการหายใจ เวชบำบัดวิกฤตและภูมิแพ้
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง : นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: