CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
ฝ้า กระ รักษาอย่างไรให้หาย?
26 เมษายน 2567
คณะแพทยศาสตร์
ปัญหาเรื่อง กระ ฝ้า นับเป็นปัญหากวนใจทุกคน โดยเฉพาะสาวๆ ที่มักจะพบกระ ฝ้า ขึ้นบนใบหน้า ทำให้ขาดความมั่นใจในการเปิดเผยใบหน้า ส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักจะพบบ่อยในผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป หากรักษาไม่ถูกวิธีอาจจะส่งผลให้กระ ฝ้าเพิ่มมากขึ้นหรือสีเข้มกว่าเดิม จนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน หลายคนอาจจะมีคำถามว่าส่วนไหนของร่างกายที่มักจะเกิด ฝ้า กระ ได้ง่าย คำตอบคือ
สำหรับฝ้า บริเวณที่พบบ่อย ได้แก่
• หน้าผาก
• จมูก
• โหนกแก้ม
บริเวณที่พบได้แต่ไม่บ่อยเท่าในส่วนของใบหน้าคือ
• รอบดวงตา
• แขน
ส่วนกระสามารถพบได้บ่อยบริเวณโหนกแก้ม และดั้งจมูก
ฝ้า กระ เกิดจากอะไร?
ฝ้าและกระเกิดจากเซลล์เม็ดสีในร่างกายของคนเรา ถูกปัจจัยต่างๆ กระตุ้น ส่งผลให้เซลล์เม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น และส่งผ่านเม็ดสีมายังบริเวณของผิวหนัง ทำให้เราเห็นสีผิวบริเวณดังกล่าวเข้มขึ้น นอกจากนี้สำหรับฝ้ายังมีเซลล์ภูมิคุ้มกันอื่นๆ หลั่งสารใต้ผิวหนัง มากระตุ้นเม็ดสีให้สร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้น และกระตุ้นให้มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณที่มีเม็ดสีหรือที่เป็นฝ้า ดังนั้นในบางคนจะสังเกตเห็นว่าที่บริเวณเกิดฝ้ามีเส้นเลือดอยู่ร่วมด้วยเรียกว่า “ฝ้าเลือด”
ฝ้าและกระ ต่างกันอย่างไร
ฝ้า จะมีลักษณะเม็ดสีเป็นปื้นๆ เรียบไปกับผิวหนัง มีทั้งสีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลอมเทา ขึ้นอยู่กับความตื้นลึกของฝ้าว่าอยู่ในชั้นไหนของผิวหนัง
กระ จะมีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ ขอบเขตชัดเจน กระจายอยู่เด่นที่บริเวณโหนกแก้ม ดั้งจมูก
ปัจจัยที่ทำให้เกิด ฝ้า กระ
– พันธุกรรม
– แสงแดด (UV)
– ฮอร์โมน
– ยาคุมกำเนิด , ยากันชักบางตัว
– แสงสีขาว
– ความร้อน (เช่น ผู้ที่ต้องทำงานหน้าเตา)
แนวทางการรักษา
•ลดการทำงานของเซลล์เม็ดสี
– ป้องกันรังสี UV และ VL (visible light)
– หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ
– ใช้ยาหรือเวชสำอางที่มีฤทธิ์ลดการทำงานของเม็ดสี
•กำจัดเม็ดสีที่สร้างมากเกินไป
– เพิ่มการผลัดเซลล์ผิว
– การใช้เลเซอร์
•ป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
– แนะนำให้ใช้ครีมกันแดด (Sunscreen) ที่สามารถป้องกันรังสี UV และ Visible light ได้ ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยสำหรับการทาทั่วใบหน้าแนะนำให้ใช้ปริมาณ 2 ข้อนิ้วมือ หรือประมาณเหรียญสิบบาท และแม้ว่าจะอยู่ในอาการก็แนะนำให้ทาสารกันแดดทุกวัน ส่วนในกรณีที่ต้องอยู่กลางแดด หรือต้องลงน้ำแนะนำให้ทาครีมกันแดดซ้ำอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
– เสื้อผ้าก็มีประสิทธิภาพในการป้องกันแดด เสื้อผ้าที่มีโทนสีเข้มจะช่วยป้องกัน UV ได้ดีกว่าโทนสีอ่อน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ของผ้าที่ส่งผลต่อความสามารถในการป้องกันแดด เช่น เนื้อผ้า ซึ่งหากเราเลือกเสื้อผ้าที่มีประสิทธิภาพกัน UV ได้มาก ก็จะทำให้การปกป้องผิวหนังจากรังสี UV มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
– การใช้หมวก หรือกางร่ม สำหรับหมวกแนะนำให้เลือกหมวกที่มีปีกกว้าง เพราะจะช่วยปกป้องใบหน้าจากรังสี UV ได้
– กระจกหรือฟิล์มกรองแสง จะช่วยป้องกันแสงแดดที่ส่องมาในรถหรือในบ้าน
สำหรับการรักษานั้น ยายังคงเป็นมาตรฐานหลักในการรักษาฝ้า ส่วนเลเซอร์หรืออาหารเสริมต่างๆ เป็นทางเลือกเสริมในการรักษาเพิ่มเติมควบคู่ไปกับการรักษาหลัก ส่วนกระนั้นสามารถใช้เลเซอร์เพื่อรักษาให้ดีขึ้นได้ ทั้งนี้การจะเลือกการรักษาอย่างไรนั้นต้องอาศัยการวินิจฉัยที่ถูกต้องและการปรึกษาร่วมกันระหว่างแพทย์และผู้ป่วย นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญเช่นกันนอกเหนือจากการรักษาคือการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดการกลับเป็นซ้ำ ดังนั้นเมื่อเกิดฝ้า กระ และมีความกังวลใจ ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องและเห็นผลที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : อ.พญ.รุจิรา รุจิเวชพงศธร อาจารย์หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง : นางสาวสมัชญา หน่อหล้า
ภาพ/ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: