CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
ผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Characteristics of gut microbiota in captive Asian elephants (Elephas maximus) from infant to elderly ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Scientific Reports (Published : 27 December 2023)
5 มกราคม 2567
คณะสัตวแพทยศาสตร์
หนึ่งในผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Characteristics of gut microbiota in captive Asian elephants (Elephas maximus) from infant to elderly ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Scientific Reports (Published : 27 December 2023) ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล ISI Quartile 2 (Journal Impact factor 4.6), SJR Quartile 1, Scopus Quartile 1
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://doi.org/10.1038/s41598-023-50429-1
งานวิจัยเรื่อง Characteristics of gut microbiota in captive Asian elephants (Elephas maximus) from infant to elderly เป็นการศึกษาจุลินทรีย์ในลำไส้ (Gut microbiota) ของช้างเลี้ยงเอเชียตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชราโดยวิธี 16S rRNA sequencing จากตัวอย่างอุจจาระช้างที่มีสุขภาพดีจำนวนทั้งหมด 134 เชือก โดยพบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ของช้างแต่ละช่วงวัยมีโครงสร้างแตกต่างกัน โดยช้างวัยเด็ก (อายุระหว่าง 2 เดือน) มีความหลากหลายของจุลินทรีย์ในลำไส้ต่ำที่สุด องค์ประกอบของจุลินทรีย์ในลำไส้ยังคงสม่ำเสมอและมีเสถียรภาพจนกระทั่งช่วงโตเต็มวัย (อายุระหว่าง 10 ถึง 55 ปี) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในช้างสูงอายุ (อายุระหว่าง 10 ถึง 55 ปี) และลดลงเล็กน้อยในช่วงสูงวัย (อายุมากกว่า 55 ปี)
จุลินทรีย์ในลำไส้ที่เป็นองค์ประกอบหลักในทุกกลุ่มประกอบไปด้วย ได้แก่ phylum Firmicutes ตามด้วย Bacteroidetes และ Actinobacteria ตามลำดับ โดยพบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ของลูกช้างประกอบไปด้วยแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหมักย่อยนม เช่น Bifidobacterium และ Akkermansia และมีแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหมักเยื่อใยน้อยกว่าเมื่อเทียบกับช้างช่วงโตเต็มวัย โดยเฉพาะแบคทีเรีย Lachnospiraceae_NK3A20_group พบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นในช้างหลังจากหย่านม
นอกจากนี้การศึกษานี้ยังได้ทำการหาความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์ในลำไส้และค่าพารามิเตอร์ของเลือด โดยพบว่าแบคทีเรียใน genus Mycoplasma และ Prevotella มีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับอัลบูมินในซีรั่ม และแบคทีเรียใน family Lactobacillaceae โดยเฉพาะ genus Lactobacillus มีความสัมพันธ์เชิงลบกับโปรตีนทั้งหมดในช้างช่วงโตเต็มวัยและช้างโตเต็มวัย
จุลินทรีย์ในลำไส้มีบทบาทสำคัญต่อร่างกาย โดยช่วยย่อยสลายใยอาหารบางชนิดที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ โดยการหมักใยอาหาร และสร้างเมแทบอไลต์ (metabolite) มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะกรดไขมันสายสั้น (short-chain fatty acids) ซึ่งส่งผลต่อการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ความเข้าใจในองค์ประกอบและความหลากหลายของจุลินทรีย์ในลำไส้ของช้างตลอดช่วงพัฒนาการต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากภาวะเปลี่ยนแปลงของสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ (dysbiosis) อาจทำให้สรีรวิทยาของระบบทางเดินอาหารบกพร่อง และส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของช้าง การระบุลักษณะของจุลินทรีย์ในลำไส้ทำให้นักวิจัยสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการจัดการอาหารที่เหมาะสมมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์สำหรับช้างแต่ละตัวในช่วงชีวิตที่แตกต่างกัน
งานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: