CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
แคลเซียม กินอย่างไร…ให้ได้ประโยชน์ ทำไมต้องทานแคลเซียม
3 พฤษภาคม 2567
คณะแพทยศาสตร์
เนื่องจากร่างกายเราไม่สามารถผลิตแคลเซียมได้ แต่เราจะได้รับแคลเซียมจากการรับประทานอาหารที่เราทานเข้าไป โดยจะมีประโยชน์ต่อหัวใจ กระดูก ระบบกล้ามเนื้อ และระบบเส้นประสาท หากได้รับแคลเซียมได้ไม่เพียงพอจะมีผลต่ออวัยวะต่างๆในร่างกายทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นปัญหาของการขาดแคลเซียม ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายไม่สูง เมื่อโตขึ้นเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน สำหรับผู้ใหญ่ในวัยทำงานที่กลัวเป็นโรคกระดูกพรุน จึงควรที่จะต้องรับประทานแคลเซียมเสริม เมื่ออายุเพิ่มขึ้นจะมีแคลเซียมในร่างกายเพื่อเสริมกระดูกให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
ปริมาณมวลกระดูกสะสมในแต่ละช่วงอายุ
ช่วงปริมาณกระดูกที่แข็งแรงที่สุดคือช่วงประมาณอายุ 20 ตอนปลาย หรือช่วงอายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นมวลกระดูกจะค่อยๆ ลดลง แต่จะขึ้นอยู่กับเพศ หากเป็นเพศหญิงจะมีอายุระหว่าง 40-50 ปี ซึ่งจะเป็นวัยเข้าสู่การหมดประจำเดือน เมื่อไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน ระดับความหนาแน่นของกระดูกจะลดลงเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นจากโครงสร้างตาข่ายของกระดูก ที่เป็นลักษณะของท่อนกระดูกที่แข็งแรง หากไม่ได้รับการเสริมแคลเซียมจะเกิดภาวะกระดูกพรุน ทำให้แตกหักได้ง่าย ดังนั้นเพศหญิงจะมีโอกาสกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า
ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
ผู้ชาย
ช่วงอายุ 19-50 ปี 1,000 มิลลิกรัม
ช่วงอายุ 51-70 ปี 1,000 มิลลิกรัม
อายุมากกว่า 71 ปี 1,200 มิลลิกรัม
ผู้หญิง
ช่วงอายุ 19-50 ปี 1,000 มิลลิกรัม
ช่วงอายุ 51-70 ปี 1,200 มิลลิกรัม
อายุมากกว่า 71 ปี 1,200 มิลลิกรัม
ปริมาณแคลเซียมสูงสุดในแต่ละวันที่แนะนำไม่ควรเกิน 2,500 mg สำหรับอายุ 19-50 ปี และไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม สำหรับอายุมากกว่า 51 ปี
ปริมาณแคลเซียมที่ต้องการในแต่ละช่วงอายุ
-อายุน้อยกว่า 40 ปี ต้องการแคลเซียม 800 มิลลิกรัมต่อวัน เท่ากับ นม 3-4 แก้ว
-วัยทอง (50 ปี) ต้องการแคลเซียม 800 มิลลิกรัมต่อวัน เท่ากับ นม 4-5 แก้ว
-ผู้หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ต้องการแคลเซียม 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน เท่ากับ นม 6-7 แก้ว
-สุภาพสตรีที่กลัวภาวะกระดูกพรุน ควรได้รับแคลเซียม 1,000-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน
อย่างไรก็ตาม คนไทยได้รับแคลเซียมไม่ถึงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน (น้อยกว่า 400 มิลลิกรัม ต่อวัน) เนื่องจากอาหารที่รับประทานในแต่ละวันมีปริมาณแคลเซียมที่ไม่เพียงพอ และไม่ดื่มนมเป็นประจำ จำนวนประชากรในกรุงเทพฯ ขาดวิตามิน 64.6 เปอน์เซ็นต์ เขตพื้นที่อื่นๆ ขาดวิตามิน 46.7 เปอร์เซ็นต์ และชนบท ขาดวิตามิน 33 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบัน คนที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนสูงถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือรักษาใดๆ
แหล่งอาหารที่มีแคลเซียม
-นม
-กุ้งแห้ง กะปิ ปลาเล็กปลาน้อย ปลาสลิด
-หอยนางรม
-ผักใบเขียวที่มีลักษณะแข็ง เช่น คะน้า ใบยอ ใบชะพลู
-งาดำ
ตัวอย่างปริมาณแคลเซียมจากอาหาร
-กุ้งแห้ง 100 กรัม มีปริมาณแคลเซียม 2,305 มิลลิกรัม
-ปลาสลิดทอด 100 กรัม มีปริมาณแคลเซียม 1,912 มิลลิกรัม
-ปลาเล็กปลาน้อย 100 กรัม มีปริมาณแคลเซียม 860 มิลลิกรัม
-กุ้งฝอยทอด 100 กรัม มีปริมาณแคลเซียม 1,339 มิลลิกรัม
ตัวอย่างปริมาณแคลเซียมจากผัก
-ใบยอ 100 กรัม มีปริมาณแคลเซียม 469 มิลลิกรัม
-ยอดใบมะขาม 100 กรัม มีปริมาณแคลเซียม 995 มิลลิกรัม
-งาดำ 100 กรัม มีปริมาณแคลเซียม 1,452 มิลลิกรัม
-เห็ด 100 กรัม มีปริมาณแคลเซียม 541 มิลลิกรัม
-ถั่ว 100 กรัม มีปริมาณแคลเซียม 965 มิลลิกรัม
หากมีความมั่นใจว่าอาหารที่รับประทานได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องเสริมแคลเซียม หากมีความรู้สึกว่าร่างกายขาดแคลเซียม และต้องการเสริมแคลเซียม สามารถเลือกทานได้จากที่แพทย์แนะนำ
ประเภทของแคลเซียม
– แคลเซียมคาร์บอเนต ปริมาณแคลเซียม 400 กรัม มีปริมาณแร่ธาตุ 40 เปอร์เซ็นต์ และเปอร์เซ็นต์ในการดูดซึม 39 เปอร์เซ็นต์
– แคลเซียมฟอสเฟต ปริมาณแคลเซียม 383 กรัม มีปริมาณแร่ธาตุ 38 เปอร์เซ็นต์
– แคลเซียมอะซิเตท ปริมาณแคลเซียม 253 กรัม มีปริมาณแร่ธาตุ 25 เปอร์เซ็นต์
– แคลเซียมซิเตรต ปริมาณแคลเซียม 210 กรัม มีปริมาณแร่ธาตุ 21 เปอร์เซ็นต์ และเปอร์เซ็นต์ในการดูดซึม 50 เปอร์เซ็นต์
– แคลเซียม แลคเตท ปริมาณแคลเซียม 130 กรัม มีปริมาณแร่ธาตุ 13 เปอร์เซ็นต์
– แคลเซียม กลูโคเนต ปริมาณแคลเซียม 93 กรัม มีปริมาณแร่ธาตุ 9 เปอร์เซ็นต์
***การดูดซึมที่แตกต่างกัน มีผลต่อภาวะข้างเคียงของการรับประทานแคลเซียม
เลือกทานแคลเซียมอย่างไรดี
ยกตัวอย่าง
-แคลเซียมคาร์บอเนต ข้อดีคือราคาถูก หาซื้อได้ง่าย ข้อเสียคือดูดซึมยาก ทำให้มีปัญหาเรื่องท้องผูก
-แคลเซียมซิเตรต ราคาค่อนข้างสูง ข้อดีคือดูดซึมได้ดี
การดูดซึมที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อการพิจารณาการรับประทาน หากรับประทานแคลเซียมชนิดที่ดูดซึมยาก ควรรับประทานพร้อมกับมื้ออาหาร หรือหลังอาหารทันทีเพื่อช่วยเพิ่มการดูดซึมได้ดีขึ้น
หากเลือกแคลเซียม ชนิดแคลเซียมซิเตรต ซึ่งดูดซึมได้ดีอยู่แล้ว จะรับประทานในขณะที่ท้องว่าง ระหว่างมื้ออาหาร หรือหลังมื้ออาหาร ดังนั้นอาหารไม่มีผลต่อการดูดซึม
ปัจจัยเสื่ยงอื่นๆ ที่ส่งผลให้ร่างกายขาดแคลเซียม
-ผู้ที่ทานมังสวิรัติ
-ผู้ที่แพ้นมวัว
-ผู้ที่ดื่มกาแฟเกินขนาดมากกว่า 4 แก้ว ต่อวัน
-ดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาดมากกว่า 1 แก้ว ต่อวัน
-รับประทานอาหารที่มีโปรตีน หรือเกลือโซเดียมมากเกินไป
-การใช้สเตียรอยด์ระยะเวลานาน
-ผู้ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบ
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ส่งผลให้ร่างกายขาดแคลเซียม
-ขาดฮอร์โมนแอสโตรเจน ก่อนวัยหมดประจำเดือน เช่น ต้องผ่าตัดรังไข่ 2 ข้างออก
-มีโครงร่างเล็ก
-มีประวัติคนในครอบครัว เป็นโรคกระดูกพรุน
-เคยกระดูกหักมาก่อน
ทานแคลเซียมแล้วท้องผูกทำอย่างไร
-หักเม็ดแคลเซียมแบ่งทานเช้า-เย็น
-ละลายแคลเซียมพร้อมอาหารและน้ำ
-เปลี่ยนชนิดแคลเซียม
-ทานร่วมกับเกลือแร่ตัวอื่นๆ เช่น รับประทานแคลเซียมและแมกนีเซียม
ทำไมคนไทยขาดวิตามินดี
– ในวิตามินดี จะมาจากแสงแดด กระทบสู่ผิวหนัง เปลี่ยนไขมันใต้ผิวหนังให้กลายเป็นวิตามินดี
– วิตามินสามารถพบได้ในผัก ผลไม้ หรือวิตามินดีมาจากเนื้อสัตว์
สาเหตุที่คนไทยขาดวิตามินดีทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีแดด แต่เนื่องจากว่าเมื่อเราออกรับแสงแดด เราทาครีมกันแดด ซึ่งในครีมกันแดดจะป้องกันรังสียูวี ดังนั้นเมื่อเรารับแสงแดดในขณะที่ทาครีมกันแดด ร่างกายก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนวิตามินดีนำไปใช้ได้
นอกจากนี้การตากแดดจนผิวคล้ำ แต่ปรากฏว่าผู้ที่มีสีผิวคล้ำการดูดซึมแสงแดดเข้าผิวหนังเปลี่ยนเป็นวิตามินดีน้อยกว่าผู้ที่มีสีผิวขาว หรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรคไต โรคลำไส้ ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนเหล่านี้ จะมีปัญหาเรื่องการผลิตและการดูดซึมวิตามินดี ทำให้คนไทยขาดวิตามินดี
ดังนั้นวิตามินดี ส่วนใหญ่มาจากอาหารประเภท ไข่ เนย ชีส และอาหารประเภทเนื้อสัตว์เนื้อแดง และปลาน้ำลึก
แหล่งอาหารที่มีวิตามินดีสูง
-ปลาคอด น้ำมันตับปลาคอด มีวิตามินดีสูงมาก
-ปลาแซลมอน
-ปลาซาดีนเป็นปลาที่นิยมมาผลิตเป็นปลากระป๋อง
-ปลาทูน่าหรือปลาทู
รับประทานวิตามินดี เท่าไหร่ถึงจะพอ
บริโภควิตามินดีวันละ 400-600 I.U หากเป็นพนักงานออฟฟิตไม่ได้สัมผัสแดด บริโภควิตามินวันละ 1,000-2,000 I.U
รับประทานวิตามินดีเสริมได้ไหม
เสริมได้ ในวิตามินดี มีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป จะมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน
1.วิตามินดี 2 เป็นวิตามินดีที่ผลิตได้มาจากพืชผัก
2.วิตามินดี 3 เป็นวิตามินดีที่ผลิตมาจากเนื้อสัตว์ รับประทานประเภทไหนก็ได้สำหรับบุคคลปกติทั่วไป
หากผู้ป่วยที่เป็นโรคไต หรือเป็นโรคตับ ต้องทานวิตามินที่พร้อมใช้งานได้เลย
อย่างไรก็ตามแคลเซียมอาจทำให้หลายคนวิตกกังวลถึงผลข้างเคียงเมื่อรับประทานมากจนเกินไป ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่พิสูจน์แน่ชัดว่าการรับประทานแคลเซียมจะทำให้เกิดผลต่างๆ ตามมา แต่หากเราได้รับการตรวจยืนยันจากแพทย์ว่าแคลเซียมตกตะกอนในหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจและส่งผลให้เป็นเส้นเลือดหัวใจอุดตัน เหล่านี้ มีการศึกษาว่ามีผลและไม่มีผล ซึ่งยังไม่มีการสรุปชัดเจน แต่ให้ระมัดระวังไว้ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจพบว่า มีหินปูนแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ ถือว่ามีความเสี่ยงอาจจะรับประทานคแคลเซียมแต่พอดี หรือไม่ให้มากเกินไป
ดังนั้นให้รับประทานอาหารตามปกติไม่ต้องเสริมแคลเซียมในกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง แต่พบได้น้อย หรือแม้กระทั่งผู้ที่กังวลแคลเซียมกับนิ่วในไต ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่าหากรับประทานแคลเซียมในปริมาณมากจะทำให้เกิดนิ่วในไต ถึงแม้ร่างกายจะได้รับแคลเซียมมากเกินไป ร่างกายก็จะมีกลไกขับออกทางปัสสาวะอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวล แต่หากผู้ป่วยที่เป็นโรคไต และโรคหัวใจอยู่แล้วก็ไม่ควรทานแคลเซียม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ผศ.ดร.นพ.สักกาเดช ลิ้มมหาคุณ หัวหน้าภาควิชาออร์โทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียง : นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: