CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
ดูแล ป้องกัน รู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง
13 พฤษภาคม 2567
คณะแพทยศาสตร์
จากข้อมูลในปี 2566 ทั่วโลกพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ 12 ล้านคน หรือใน 3 วินาที จะพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 1 คน ขณะที่ประเทศไทย โดยข้อมูลจากกรมการแพทย์ พบผู้ป่วยจำนวน 3 แสนราย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 70 ปี และเสียชีวิตมากถึง 3 หมื่นคน ในประเทศไทยยังพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ โดยในช่วงปลายฝนต้นหนาวเป็นช่วงที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะมาด้วยอาการที่ค่อนข้างรุนแรง จากหลักฐานการศึกษาปัจจุบันพบว่า อาจเกิดจากอุณหภูมิที่เปลี่ยน ทำให้กระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือด ประกอบกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 จึงกระตุ้นให้อาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
โรคหลอดเลือดสมอง แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน, โรคหลอดเลือดสมองแตก และกลุ่มภาวะเนื้อเยื่อสมองขาดเลือดชั่วคราวแล้วหายไป ทั้ง 3 กลุ่มล้วนส่งผลให้ปริมาณเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อสมองลดลง ส่งผลให้เกิดอาการหลายอย่าง ทั้งนี้อาการแสดงขึ้นอยู่กับว่า เกิดอาการขาดเลือดของเนื้อเยื่อสมองส่วนไหน จึงทำให้อาการแสดงของผู้ป่วยแต่ละราย ที่แสดงออกมาไม่เหมือนกัน
อาการและสัญญาณเตือน
อาการและสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง จำง่าย ๆ เป็นภาษาอังกฤษคือคำว่า “BEFAST” ประกอบด้วย
B (Balancing) คือการทรงตัวที่ผิดปกติ
E (Eye) คือการมองเห็นที่ผิดปกติ
F (Face) คืออาการหน้าเบี้ยว หรือกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง ซึ่งคนไข้มักจะมีอาการอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง
A (Arm) คือ อาการอ่อนแรงของแขนและขา บางรายอาจจะอ่อนแรงทั้งแขนและขาทั้งซีก หรืออาจจะอ่อนแรงบางส่วนเช่น อ่อนแรงเฉพาะแขน หรือเฉพาะขา
S (Speech) คือ การพูดที่ผิดปกติ สื่อสารออกมาไม่รู้เรื่อง บางรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการพูดไม่ได้ หรือบางรายอาจมีอาการพูดไม่เป็นภาษา จนอาจทำให้ฟังไม่ได้ความ หรืออาจแค่พูดไม่ชัด
T (Time) คือ เวลาที่เกิดอาการ เมื่อเข้าสู่การรักษาของแพทย์ ทีมผู้ให้การดูแลต้องวินิจฉัยความเฉียบพลันของโรคหลอดเลือดสมองจากเวลาที่เกิดอาการ ผู้ป่วยควรต้องมาถึงโรงพยาบาลและเข้ารับการรักษาภายใน 4.5 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ เพื่อให้ได้รับการเปิดหลอดเลือด
ปัจจัยเสี่ยง
– ภาวะความดันโลหิตสูง
– ไขมันในเลือดสูง
– โรคหัวใจ
– เบาหวาน
– ภาวะน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
– ขาดการออกกำลังกาย
– หยุดหายใจขณะหลับ
– ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
– สูบบุหรี่และสารเสพติด
การป้องกัน
– ควบคุมระดับความดันในโลหิต
– ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน
– รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
– มีกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
– งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
– งดการใช้สารเสพติดทุกชนิด
– ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
– ตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจุบันผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน มีการเปิดหลอดเลือดโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดผ่านหลอดเลือดดำ หรือในบางราย มีการอุดตันในหลอดเลือดใหญ่ จะมีการนำขดลวดเข้าไปในหลอดเลือด เพื่อดึงเอาลิ่มเลือดที่อุดตันภายในหลอดเลือดออก หรือบางรายอาจให้การรักษาโดยการรับประทานยา ซึ่งการรักษาแต่ละแบบ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ผู้รักษา
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองแตก และภาวะแทรกซ้อนหลังเปิดหลอดเลือด
– การผ่าตัดเพื่อเข้าไปหยุดเลือด หรือเพื่อลดความดันในกะโหลกศีรษะ
– การรักษาตามอาการ เพื่อลดการเกิดเลือดออกในสมองซ้ำ
– ใส่ขดลวดหรือวัสดุที่มีลักษณะคล้ายโฟมเพื่อป้องกันหลอดเลือดที่โป่งพองแตกหรือแตกซ้ำ
– การฟื้นฟูสภาพ ได้แก่ การกายภาพบำบัด การทำกิจกรรมบำบัด และการทำอัตถบำบัด
นอกจากนี้ โปรแกรมการเตรียมความพร้อมเพื่อสามารถกลับสู่การทำงาน (Return to work program) ซึ่งเป็นโปรแกรมใหม่ที่ทีมผู้ให้การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ให้บริการแก่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา โดยโครงการนี้เกิดขึ้นจากสถิติที่พบว่า ปัจจุบันมีกลุ่มคนวัยทำงานประมาณร้อยละ 40 ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตโรคหลอดเลือดสมองที่เป็นโรคหลอดเลือด ที่เราให้การดูแลต่อเนื่องและร่วมมือกับสถานประกอบการของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ให้มากเท่าที่จะสามารถทำได้
ขอบคุณข้อมูลจาก
พว.รุจี รัตนเสถียร พยาบาลชำนาญการ หน่วยวิจัย ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง : นางสาวสมัชญา หน่อหล้า
ภาพ/ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์
สุขภาพ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: