CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
“วัคซีนโควิด-19 ในสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร”
21 มิถุนายน 2564
คณะแพทยศาสตร์
สตรีตั้งครรภ์จะมีโอกาสการติดเชื้อโควิด-19 เหมือนบุคคลทั่วไป ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในพื้นที่ใด มีอาชีพ หรือพฤติกรรมเสี่ยงหรือไม่ ปัจจุบันพบว่าอาการที่เกิดขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 มีความรุนแรงค่อนข้างสูงมากกว่าคนทั่วไป สำหรับข้อมูลของสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อในประเทศไทย (ข้อมูลวันที่ 10 มิ.ย. 2564) มีทั้งหมด 350 ราย เสียชีวิต 6 ราย คิดเป็นประมาณ 1.7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าประชากรทั่วไป ช่วงอายุของสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้ออยู่ที่ 21 ถึง 40 ปี จึงมีความสำคัญค่อนข้างมากในการป้องกันการติดเชื้อโควิดในสตรีตั้งครรภ์
สำหรับสตรีตั้งครรภ์ สามารถรับการฉีดวัคซีนได้ โดยมีข้อจำกัดคือ จะต้องไม่เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อเป็น และจากข้อมูลที่มีในปัจจุบันวัคซีนโควิด-19 ไม่มีวัคซีนชนิดไหนที่ผลิตจากเชื้อเป็น วัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันทั้งหมดจะเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ วัคซีนชนิดสารพันธุกรรมหรือ mRNA และวัคซีนที่ผลิตจากโปรตีนของเชื้อเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และยังไม่พบรายงานเกี่ยวกับสารที่เป็นองค์ประกอบในวัคซีนที่เป็นอันตรายต่อสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร ดังนั้น จากข้อมูลทั้งหมดพบว่าสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร สามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้เหมือนบุคคลทั่วไป
ในการฉีดวัคซีนให้แก่สตรีตั้งครรภ์นั้น มีโอกาสจะเกิดผลข้างเคียงได้เท่ากับประชาชนทั่วไปที่ได้รับวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวด บวมแดงตำแหน่งที่ฉีด ซึ่งพบได้เป็นปกติ ไม่ได้พบมากกว่าคนปกติ แต่ข้อดีของการฉีดวัคซีนก็คือ ป้องกันการติดเชื้อของสตรีตั้งครรภ์ที่จะมีความรุนแรงมากกว่าคนปกติและยังส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ด้วย ถ้าได้รับวัคซีนแล้วยังมีการติดเชื้อก็จะลดความรุนแรงของโรคลงได้ด้วย ซึ่งเป็นข้อดีของการฉีดวัคซีนและเป็นที่ยืนยันว่า สำหรับทุกองค์กรในโลก ไม่ว่าจะเป็นทวีปอเมริกาหรือยุโรปก็ตาม แนะนำให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในสตรีตั้งครรภ์
ถ้าสตรีตั้งครรภ์ท่านใดไม่มีข้อห้ามในการให้วัคซีน เช่น มีประวัติเคยแพ้วัคซีนมาก่อน แนะนำให้ฉีดวัคซีนทุกคน โดยแนะนำให้ฉีดหลังจากตั้งครรภ์ไปแล้ว 12 สัปดาห์ และสามารถฉีดวัคซีนที่มีใช้ในประเทศไทยทั้ง 2 ชนิดได้ทั้งหมด (Sinovac และ AstraZeneca) ไม่มีความแตกต่างในเรื่องของผลข้างเคียง และเนื่องจากสตรีตั้งครรภ์จำเป็นที่จะต้องได้รับวัคซีนชนิดอื่นๆ ด้วย แพทย์ผู้ทำการรักษาก็จะเป็นผู้พิจารณาลำดับของการให้วัคซีนก่อนหลัง
สำหรับสตรีที่ให้นมบุตรก็สามารถฉีดวัคซีนได้ สำหรับผู้ที่วางแผนจะมีบุตรก็สามารถฉีดวัคซีนได้เช่นเดียวกัน ในกรณีที่ฉีดวัคซีนแล้วมีการตั้งครรภ์ภายหลัง แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 หลังจากตั้งครรภ์ไปแล้ว 12 สัปดาห์
การดูแลตัวเองไม่ว่าจะก่อนหรือหลังได้รับวัคซีนในสตรีตั้งครรภ์ ควรจะปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด ไม่เข้าไปอยู่ในที่ชุมชนที่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ และใส่หน้ากาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติถึงแม้ว่าจะได้หรือไม่ได้รับวัคซีนก็ตาม
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
ข้อมูลโดย:
รศ.นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์
หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ประธานคณะอนุกรรมการอนามัยแม่และเด็ก และ นายกสมาคมเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์(ไทย) ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
รศ.พญ.สุชยา ลือวรรณ
อาจารย์หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ติดตามที่
Facebook : https://bit.ly/3pWMuyL
Youtube : https://bit.ly/3gliRnD
#วัคซีนโควิด19ในสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
#MedCMU
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#COVID19
#ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
สื่อความรู้ (COVID-19)
สุขภาพ
ข่าวสาร (COVID-19)
ข่าวเด่น
ข่าวสาร PM2.5
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: