CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
เช็กให้ดีริดสีดวง หรือมะเร็งทวารหนัก
1 มีนาคม 2567
คณะแพทยศาสตร์
ริดสีดวงทวารกับโรคริดสีดวงทวารมีความแตกต่างกันอย่างไร?
ริดสีดวงทวาร คือเนื้อเยื่อปกติที่อยู่ช่องรอบทวาร ซึ่งทุกคนมีเนื้อเยื่อนี้อยู่ มีองค์ประกอบอยู่ด้วยกันหลายอย่าง เป็นเยื่อบุที่มีความยืดหยุ่นและมีหลอดเลือดใต้เยื่อบุ รวมถึงเส้นประสาทที่อยู่รอบๆ ช่องทวาร ระหว่างการขับถ่ายเนื้อเยื่อนี้มีส่วนสำคัญในการช่วยการขับถ่าย ความยืดหยุ่นจะช่วยลดแรงเสียดสี ทำให้ไม่เกิดบาดแผล รวมถึงเมื่ออยู่ในภาวะปกติ เมื่อมีอาการไอ จาม จะเป็นตัวที่คอยช่วยทำหน้าที่ในการกลั้น ทำให้อุจจาระ หรือลมไม่เล็ดออกมา หรือแม้กระทั่งการรับรู้ถึงความรู้สึก เมื่ออยากผายลม หรืออยากขับถ่ายอุจจาระ เราสามารถแยกได้ด้วยเส้นประสาทที่อยู่รอบรูทวาร ดังนั้นเนื้อเยื่อริดสีดวงจึงมีความสำคัญในเรื่องการขับถ่ายระดับหนึ่ง เพียงแต่เมื่อไหร่ก็ตาม ที่ตัวริดสีดวงเกิดความผิดปกติขึ้น อาทิเช่น มีการปูดยื่น เยื่อบุที่มีการบางตัวลง หรือหลอดเลือดที่มีการโป่งพองขึ้น จึงทำให้เกิดภาวะโรคริดสีดวงทวารขึ้น
ริดสีดวงทวารแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. ริดสีดวงทวารภายใน อยู่ภายในรูทวาร มีเยื่อบุผิวลักษณะเดียวกับเยื่อบุผิวลำไส้ หากมีการปูดยื่นจะทำให้มีอาการเลือดออก หรือ ก้อนยื่นระหว่างการขับถ่ายได้
2. ริดสีดวงทวารภายนอก อยู่บริเวณขอบทวารเยื่อบุที่คลุมมีลักษณะเดียวกับเยื่อบุผิวหนัง เมื่อมีอาการบวมจากลิ่มเลือดจะทำให้มีอาการเจ็บปวดได้
•อาการบ่งชี้ของโรคริดสีดวงทวาร ได้แก่
การขับถ่ายเป็นเลือด หรือมีก้อนปลิ้นออกมาระหว่างการขับถ่าย แบ่งระยะโรคริดสีดวงทวารภายในเป็น 4 ระยะ ได้แก่
– ระยะที่ 1 เมื่อขับถ่ายอุจจาระจะมีเลือดออก แต่ไม่มีก้อนปูดยื่นปลิ้นออกให้เห็นภายนอกเนื่องจากริดสีดวงยังมีขนาดเล็ก
– ระยะที่ 2 ก้อนมีขนาดใหญ่มากขึ้น เริ่มมีการปลิ้นยื่นออกมาจากรูทวาร หลังขับถ่ายก้อนริดสีดวงจะหดกลับเข้าไปเอง
– ระยะที่ 3 ริดสีดวงมีการปลิ้นยื่นออกมาจากรูทวารระหว่างการขับถ่าย ไม่สามารถหดกลับเข้าเองได้ ผู้ป่วยต้องใช้นิ้วในการช่วยดันกลับ จะเริ่มมีปัญหาอื่นร่วมด้วย เริ่มปวดมากขึ้น
– ระยะที่ 4 ริดสีดวงออกมาแล้วค้างอยู่ด้านนอก ไม่สามารถกลับเข้าในรูทวาร เป็นระยะที่มีการปูดยื่นเยอะ ซึ่งอาจจะเป็นร่วมกับริดสีดวงภายนอก ระยะนี้ต้องเข้าสู่การรักษาด้วยการผ่าตัด
•สาเหตุของการเกิดโรค
1.ท้องผูกเรื้อรัง
2.รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป ดื่มน้ำน้อย
3.ภาวะลำไส้แปรปรวน
4.การนั่งขับถ่ายอุจจาระนานหรือการเบ่งอุจจาระอย่างรุนแรง
5.ภาวะที่เพิ่มความดันในช่องท้อง เช่น ยกของหนักบ่อย
6.โรคอ้วน
7.ภาวะตับแข็ง ร่วมกับมีน้ำในช่องท้อง
8.ในผู้หญิงตั้งครรภ์
ขั้นตอนการรักษา
ควรเข้าพบแพทย์เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัย ว่าเป็นโรคริดสีดวงทวารจริงหรือไม่ เนื่องจากมีโรคหลายชนิดที่มีอาการคล้ายคลึงกับภาวะโรคริดสีดวง เช่น แผลฉีกขาดที่ขอบทวาร ลำไส้ใหญ่อักเสบ ลำไส้แปรปรวน หรือเนื้องอกลำไส้ใหญ่ เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคริดสีดวงทวาร แพทย์จะทำการรักษาตามระยะโรคร่วมกับการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น โดยการรักษาอาจมีทั้งการรักษาแบบผู้ป่วยนอก อาทิเช่น การรัดยางริดสีดวงทวาร การฉีดสารเผื่อทำให้ริดสีดวงฝ่อตัว ส่วนการผ่าตัดนั้นมีหลายวิธี โดยเลือกใช้ตามความเหมาะสมและความรุนแรงของโรคริดสีดวงทวาร
ภาวะถ่ายเป็นเลือดที่ควรระวัง
(หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย)
-ภาวะซีด อ่อนเพลีย
-อืดท้อง ปวดท้องเรื้อรัง
-คลำพบก้อนที่ท้อง
-เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
-ประวัติมะเร็งในครอบครัว
-การขับถ่ายที่เปลี่ยนแปลง เช่น ท้องผูก ถ่ายบ่อยมากขึ้น อุจจาระเหลว ลำอุจจาระลีบ
-อุจจาระมีมูกเลือดปน
-ปวดหน่วง ถ่ายอุจจาระไม่สุด
การป้องกัน
ให้หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้ เช่น การนั่งขับถ่ายในห้องน้ำเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก เลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยและดื่มน้ำให้เพียงพอ และเมื่อมีภาวะเลือดออกจากการขับถ่ายควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
ขอบคุณข้อมูลจาก …ผศ.นพ.สุวรรณ แสนหมี่ อาจารย์ประจำหน่วยศัลยศาสตร์ ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง : นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: