CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
วันพาร์กินสันโลก (WORLD PARKINSON’S DISEASE DAY)
11 เมษายน 2567
คณะแพทยศาสตร์
ทุกวันที่ 11 เมษายนของทุกปีถูกกำหนดขึ้นให้เป็นวันพาร์กินสันโลก (World Parkinson’s Disease Day) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสันหรือที่รู้จักกันในอีกชื่อโรค “สั่นสันนิบาต” โดยทั่วไปเรียกว่า โรคพาร์กินสัน หรือ Parkinson disease โดยเฉลี่ยจำนวนประชากรทั่วประเทศไทยมีความชุกของโรคนี้ ร้อยละ 0.24 หรือประมาณ 770,000 ราย โรคนี้พบได้ในผู้สูงอายุบ่อยกว่าวัยหนุ่มสาว โดยมักเกิดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี เมื่อคนเราอายุมากขึ้นสมองจะมีการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติ ซึ่งสมองของผู้เป็นโรคจะไม่สามารถกำจัดโปรตีนเหล่านี้ออกไปได้ เมื่อโปรตีนที่ผิดปกติเหล่านี้มีการเกาะบริเวณสมอง ทำให้เซลล์สมองเสื่อมและตาย ส่งผลให้เกิดอาการของโรคพาร์กินสันจากการขาดสารสื่อประสาทหลายชนิด โดยสารสื่อประสาทเด่นที่ขาดไป คือสารโดปามีน
อาการผู้ป่วยพาร์กินสันที่เด่นชัด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอาการ ได้แก่
1. อาการที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว ได้แก่
– สั่น
– เกร็ง
– เคลื่อนไหวช้า
– ล้มง่าย
– หลังค่อม
– เดินติด เดินลำบาก
2. อาการที่ไม่สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว
– ท้องผูก
– จมูกไม่ได้กลิ่น
– นอนละเมอ
– ซึมเศร้า
– ความจำการนึกคิดแย่ลง
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน ได้แก่
1. ปัจจัยภายนอก : การใช้สารฆ่าแมลงทางการเกษตร นักมวยผู้มีประวัติการบาดเจ็บทางศีรษะบ่อยครั้งมีความเสี่ยงเช่นกันแต่ความเสี่ยงไม่ชัดเจนมากเท่ากับการใช้สารฆ่าแมลง
2. ปัจจัยภายใน: มีความเสี่ยงเมื่ออายุมากขึ้น ส่วนความเสี่ยงจากพันธุกรรมโดยตรงเกิดขึ้นน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ และในครอบครัวมักจะมีประวัติผู้เป็นโรคพาร์กินสัน ตั้งแต่อายุยังน้อย
การดำเนินของโรคแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
1. ระยะต้น : ร่างกายตอบสนองต่อยาได้ดี ผู้ป่วยได้รับยาแล้วอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
2. ระยะกลาง : เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา ยาออกฤทธิ์ได้สั้นลง จำเป็นต้องรับประทานยาบ่อยขึ้นจากเดิม มีอาการยุกยิกหรือเคลื่อนไหวขยับไปมามากผิดปกติในบางช่วงเวลา
3. ระยะท้าย : ผู้ป่วยล้มบ่อย ไม่สามารถเดินเองได้ สมองเสื่อม เห็นภาพหลอนบ่อย
แนวทางการรักษาแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
1. การรักษาโดยการใช้ยา
– ยาเลโวโดปา
– ยาเสริมโดปามีน
– ยาที่ทำให้โดปามีนอยู่ในร่างกายได้นานขึ้น
2. การรักษาโดยการไม่ใช้ยา แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
2.1 การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู ได้แก่
– การออกกำลังกาย (การปั่นจักรยาน การรำไทเก๊ก เดินบนลู่วิ่ง การเต้นแทงโก้)
– การทำกายภาพบำบัด (ฝึกเดิน ฝึกการทรงตัว)
– การทำอรรถบำบัด (ฝึกพูด ฝึกกลืน)
– การทำกิจกรรมบำบัด (ฝึกอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยให้ใช้มือได้คล่อง)
2.2 การรักษาโดยการผ่าตัด
เป็นการรักษาแบบใหม่ ในประเทศไทยมีประมาณ 10 กว่าแห่ง สำหรับภาคเหนือ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มช. เป็นที่แรกและที่เดียวที่สามารถผ่าตัดได้ โดยการผ่าตัดแพทย์จะวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา ที่ได้รับยาอย่างเหมาะสมแล้วแต่คุมอาการไม่ได้ แพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับการผ่าตัด
ซึ่งการผ่าตัด จะใช้เครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึกโดยจะส่งกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ เข้าไปในสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวที่มีการทำงานผิดปกติ เพื่อลดอาการของโรคพาร์กินสันทั้งสองด้านของร่างกาย เช่น อาการสั่น เกร็ง และการเคลื่อนไหวช้า ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงกับคนปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อายุการใช้งานของแบตเตอรี่นี้จะมีอายุประมาณ 3-5 ปี เมื่อแบตเตอรี่หมดแล้วจะสามารถทำการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้กับผู้ป่วยได้
ในปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มีมากกว่า 10 ราย และมีผลการรักษาเป็นที่น่าพึงพอใจถึง 90 เปอร์เซ็นต์
ถึงแม้ปัจจุบันโรคพาร์กินสันเป็นแล้วจะไม่หายขาดแต่ก็สามารถรักษาได้ ซึ่งแนวทางการรักษามีหลายรูปแบบ หากพบว่าผู้ป่วยรายใดมีอาการเสี่ยง แนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย ยิ่งได้รับการรักษาเร็ว จะดีต่อคุณภาพชีวิตทั้งในตัวผู้ป่วยเองและผู้ดูแลผู้ป่วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : อ.นพ.ชญาศักดิ์ วันทนียวงค์ อาจารย์ประจำหน่วยวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ และหัวหน้าคลินิกโรคพาร์กินสัน คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง : นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: