CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
เท้าชา ภาวะแทรกซ้อนที่มากับโรคเบาหวาน
14 กุมภาพันธ์ 2565
คณะแพทยศาสตร์
ปัจจุบันพบว่าคนไทยป่วยเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น โดยในปีพ.ศ. 2550 มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 3.9 ต่อมาปีพ.ศ. 2561 พบว่ามีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.6 นอกจากนี้ยังพบว่าโรคเบาหวานเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนไทย
โรคเบาหวานกับโควิด-19 สัมพันธ์กันอย่างไร
ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดีหรือมีโรคร่วม มีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงและเกิดผลข้างเคียงจากการติดเชื้อโควิด-19ได้มากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากระดับน้ำตาลที่สูงกว่าปกติจะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลง
ชนิดของโรคเบาหวาน ได้แก่
- โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์ตับอ่อน ทำให้ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนอินซูลิน - โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ผู้ป่วยจะเป็นโรคเบาหวานเฉพาะช่วงการตั้งครรภ์และจะหายไปหลังคลอด เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2
- โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะอื่นๆ
ภาวะก่อนเบาหวาน ในคนปกติน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ไม่ควรมีค่าเกิน 100 มก./ดล. ผู้ป่วยที่มีภาวะก่อนเบาหวานระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารจะมีค่าระหว่าง 100-125 มก. /ดล. เป็นภาวะที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและวิธีการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวาน
-การตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน นอกจากจะช่วยค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและให้การป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานแล้ว ยังช่วยให้สามารถตรวจพบผู้ที่เป็นเบาหวานโดยไม่มีอาการและให้การรักษาแต่เนิ่นๆ ได้ –การรักษาโรคเบาหวานโดยการควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ใกล้เคียงปกติจะสามารถชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานและลดอัตราการเสียชีวิตได้
-วิธีตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ได้แก่ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว และการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจากการเจาะเลือดจากเส้นเลือด หลังอดอาหาร 8-12 ชั่วโมง
ผู้ที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน
- อายุ 35 ปีขึ้นไป
- ดัชนีมวลกายเกิน 25 กก./ตร.ม. หรือมีรอบเอวเกินมาตรฐาน และมีพ่อ แม่ พี่น้อง เป็นเบาหวาน
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือรับประทานยาควบคุมความดันโลหิตอยู่
- มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ หรือได้ยาลดไขมันในเลือดอยู่
- มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือเคยคลอดบุตรที่น้ำหนักตัวแรกเกิดเกิน 4 กิโลกรัม
- เคยได้รับการตรวจพบว่ามีภาวะก่อนเบาหวาน
- มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
- มีกลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่
ผู้ที่เป็นความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานจะต้องทำอย่างไร
- ควบคุมอาหาร จำกัดอาหารจำพวก ข้าว แป้ง น้ำตาล -ออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
- ลดน้ำหนัก
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
- เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลให้หลอดเลือดแดงทั่วร่างกายเสื่อมลง นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระยะยาว
- ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็ก ได้แก่ เบาหวานขึ้นตา ไตวาย ชาปลายเท้า ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดใหญ่ ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันซึ่งทำให้เกิดแผลที่เท้าง่ายและมีโอกาสถูกตัดนิ้วเท้าหรือขา
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน 3 อันดับแรก
1.ไตวาย ระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการ แต่จะตรวจพบโปรตีนไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จะส่งผลให้การทำางานของไตลดลงและเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง
2.เบาหวานขึ้นตา หากคุมระดับน้ำตาลไม่ดีและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จะทำให้มีโอกาสตาบอดในอนาคตได้
3.ภาวะแทรกซ้อนที่เท้า สำหรับอาการชาเท้า ผู้ป่วยจะรู้สึกแปลบๆที่เท้า จนกระทั่งสูญเสียความรู้สึก อาจเกิดแผลที่เท้าโดยที่ไม่รู้ตัว หรือแรกเริ่มอาจไม่มีอาการเลยก็ได้ เนื่องจากเป็นอาการที่ไม่ก่อให้เกิดความทรมาน บางครั้งจึงทำให้มาตรวจช้าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะมาขณะที่มีแผลเรื้อรังแล้ว ซึ่งจะทำให้การรักษาแผลที่เท้ายากขึ้น
โรคเบาหวานกับเท้า
สุขภาพของเท้าขึ้นกับโรคเบาหวานโดยตรง แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของเท้าด้วย เช่น การดูแลรักษาความสะอาดเท้า รูปร่างของเท้า หรือเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอก เช่น รองเท้ากดทับ รองเท้ารัด หรือมีแรงกดผิดปกติที่เท้า ทำให้เท้าเป็นแผลได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานแล้วความรู้สึกที่เท้าลดลง แผลจะเกิดโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากเท้าของแต่ละคนไม่เหมือนกัน การเลือกรองเท้าให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
อาการชาที่เท้าจากโรคเบาหวานเกิดจาก 2 สาเหตุ
- เกิดจากเส้นประสาทฝอยบริเวณเท้าสูญเสียหน้าที่ไป
- เส้นเลือดฝอยอุดตัน
ดูแลอย่างไร
- ในกลุ่มเสี่ยง ให้ตรวจเช็คเป็นประจำ
- ผู้ป่วยเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้เข้มงวด
- หมั่นดูแลรักษาความสะอาดเท้า
- รีบรักษาตั้งแต่เริ่มเป็นแผลเล็ก ให้ถูกวิธี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ผศ.นพ.ศิริพงค์ เชี่ยวชาญธนกิจ รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ และอาจารย์ประจำภาควิชาออร์โทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มช. และ พญ.ศุพรทิพย์ หินทอง อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม ประจำศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: