CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
แพ้ยา…อันตรายถึงชีวิต
23 พฤศจิกายน 2563
คณะแพทยศาสตร์
แพ้ยา…อันตรายถึงชีวิต
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา หมายถึง ปฏิกิริยาตอบสนองต่อยาที่เป็นอันตรายแก่ร่างกายปฏิกิริยานั้นเกิดขึ้นเองเมื่อใช้ยาในขนาดปกติไม่รวมถึงการใช้ยาในขนาดสูงทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ หรือจากการใช้ยาไปในทางที่ผิด อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Adverse drug reaction; ADR) แบ่งแบบกว้างๆได้เป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทแรก type A ADR
เป็น ADR ที่สัมพันธ์กับกลไกการออกฤทธิ์ ส่วนใหญ่สามารถคาดเดาได้ ที่พบบ่อย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ใจสั่น ท้องเสีย ผมร่วง ตับอักเสบ ไตอักเสบ ไตวาย เลือดออกง่าย
ประเภทที่ 2 type B ADR
Type นี้ ก็คือการแพ้ยา เป็น ADR ที่เกิดจากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดการแพ้ยาครั้งแรกจะคาดการณ์ไม่ได้ ยกเว้นปัจจุบันจะมีการตรวจยีนบางอย่างที่ถ้าผู้ที่ได้รับการตรวจมียีนเหล่านั้นก็จะเสี่ยงต่อการแพ้ยาชนิดที่สัมพันธ์กับยีนนั้น
อาการแพ้ยามักจะเป็นผื่น มีทั้งผื่นชนิดไม่รุนแรง เช่น ตุ่มนูนและรอยแดงผสมกัน ผื่นลมพิษ ไปจนกระทั่ง ผื่นแพ้ยาที่รุนแรง เช่น Stevens Johnson syndrome/Toxic epidermal necrolysis ที่เป็นผื่นวงกลมสีแดงจัดหรือแดงเข้ม ตรงกลางมีเป้าคล้ายเป้าธนูแต่ไม่ครบ 3 ชั้น อาจพองเป็นตุ่มน้ำและมีการหลุดลอกของผิวหนัง มีรอยโรคบริเวณเยื่อบุ ได้แก่ ปาก ตา อวัยวะเพศ
ในการประเมินแพ้ยาต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง?
สิ่งสำคัญที่ต้องประเมินคือ ผู้ป่วยแพ้ยาอะไร? และมีความรุนแรงแค่ไหน?
แพทย์จะสืบหาว่าผู้ป่วยแพ้ยาอะไรจะต้องดูข้อมูลประวัติการใช้ยาของผู้ป่วย ผู้ป่วยไดรับยา สมุนไพร วิตามิน หรือยาจากแพทย์ทางเลือกใดอยู่บ้าง? รับมานานเท่าไร? ประกอบกับลักษณะผื่นแพ้ยาที่เกิดขึ้นและอาการแสดงอื่นๆเพื่อพิจารณายาที่น่าจะเป็นสาเหตุการแพ้ อีกหนึ่งข้อมูลที่ช่วยในการประเมินแพ้ยาได้มากคือ ประวัติแพ้ยาเดิมของผู้ป่วย เพราะในบางครั้งการแพ้ยาบางชนิดอาจทำให้มีโอกาสแพ้ยาที่มีโครงสร้างสัมพันธ์กันได้เพิ่มมากขึ้น
ผู้ป่วยบางรายสามารถให้ข้อมูลที่สำคัญได้ทั้งหมด แต่ในบางรายประวัติที่ได้รับไม่เพียงพอเนื่องจากผู้ป่วยจำไม่ได้หรือบางครั้งไม่ทราบชื่อยาที่แพ้ แนะนำว่าหากผู้ป่วยมีอาการแพ้ยาแล้วไม่ทราบชื่อยาควรไปถามชื่อยาจากแหล่งที่ได้รับหรืออย่างน้อยถ่ายรูปยาส่วนที่มีชื่อยาเก็บไว้ในโทรศัพท์มือถือ
บัตรแพ้ยามีประโยชน์ยังไง?
บัตรแพ้ยามีไว้เพื่อป้องกันการได้รับยาที่ผู้ป่วยแพ้ซ้ำ การแพ้ยาในครั้งแรกเราจะป้องกันไม่ได้เพราะเราไม่รู้ว่าร่างกายเราจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อยาตัวไหน แต่สำหรับในครั้งถัดๆไปเราสามารถป้องกันได้โดยการให้ผู้ป่วยยื่นบัตรแพ้ยาและแจ้งให้แพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือบุคลากรอื่นๆให้ทราบเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ยาที่ผู้ป่วยแพ้ หรือยาที่อาจจะแพ้ข้ามกันให้กับผู้ป่วย
ขั้นตอนการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของผู้ป่วยที่ได้รับบัตรแพ้ยาแล้ว
1. พกบัตรแพ้ยาติดตัวตลอด
2. จำชื่อยา และ จำว่า ยาที่แพ้ใช้รักษาโรคอะไร
3. เมื่อต้องไปร้านยาหรือโรงพยาบาลให้แสดงบัตรแพ้ยา หรือบอกชื่อยาที่แพ้แก่บุคคลากรทางการแพทย์ ทุกครั้ง
4. ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา
5. หลีกเลี่ยงการซื้อยาใช้เองจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ
สิ่งสำคัญ ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ทราบเกี่ยวกับประวัติการแพ้ยาอย่างละเอียด รวมทั้งพกบัตรแพ้ยา ผู้ที่มีอาการแพ้ยาควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาชนิดที่ตนแพ้ เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้ยาที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
ข้อมูลโดย
รศ.นพ.สิริ เชี่ยวชาญวิทย์ อาจารย์พิเศษ สาขาโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ เภสัชกรณัฐพงษ์ ไชยลังการ์ หน่วยเภสัชสนเทศ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
ติดตามรับชมย้อนหลังได้ที่
https://www.facebook.com/SuandokGoodHealth2018/videos/1324630834547491
สุขภาพ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: