CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
วัคซีนโควิด-19 กับอาการทางระบบประสาทและสมอง
22 มิถุนายน 2564
คณะแพทยศาสตร์
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ระบาดไปในทุกทวีปของโลก ปัจจุบันสถานการณ์ในบางประเทศเริ่มจะดีขึ้นจากการที่ประชากรได้รับวัคซีนโควิด-19 แต่สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19ที่มีประสิทธิภาพ ก็ยังเป็นความหวังที่ประชาชนต้องการได้รับ แม้วัคซีนโควิด-19 ที่มีในปัจจุบันยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% แต่วัคซีนสามารถช่วยลดความรุนแรงของอาการแทรกซ้อนต่างๆ ลดโอกาสที่จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และลดการเสียชีวิตได้
ซึ่งผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่จะมีอาการทางระบบหายใจ เช่น ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หอบ เหนื่อย และอาจมีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเหมือนกับการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ นอกจากติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ยังสามารถติดเชื้อในระบบอื่นๆได้ ทำให้บางส่วนของผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีอาการแสดงในระบบอื่น ๆ ที่อาจพบได้ไม่บ่อย โดยหนึ่งในกลุ่มอาการเหล่านั้นคือ อาการทางระบบประสาท
จากข้อมูลงานวิจัยจากนครอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่าผู้ป่วยโควิด-19 สามารถพบอาการทางระบบประสาทได้ถึง 36.4% อาการทางระบบประสาท ได้แก่ มึน วิงเวียน ปวดศีรษะ เป็นต้น มีเพียง2.8% ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งในกลุ่มนี้พบว่าคนไข้ที่ป่วยเป็นโควิด-19 ในระดับความรุนแรงของโรคมาก จะมีอาการทางระบบประสาทมากกว่าคนที่เป็นโควิด-19 ในระดับที่ไม่รุนแรง ซึ่งปัจจัยเสี่ยง เช่น อายุมาก (60 ปี ขึ้นไป) มีโรคประจำตัว (เบาหวาน, ความดัน โลหิตสูง) เวลาเกิดอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่ประมาณ 45% เกิดกับหลอดเลือดเส้นใหญ่ ทั้งนี้การติดโควิด-19 ยังเพิ่มอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดสมองได้ถึง 30 %
อาการความผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นภายหลังฉีดวัคซีนโควิดซิโนแวค (Sinovac) พบว่าในคนไทยหลังการฉีดวัคซีน ส่วนใหญ่จะเป็นความผิดปกติเรื่องอาการชา หรือการรับความรู้สึกผิดปกติ นอกจากนี้คนส่วนน้อยพบว่า มีอาการปวดศีรษะ การมองเห็นผิดปกติ อ่อนเพลีย อ่อนแรง เป็นต้น โดยอาการทั้งหมดเป็นความผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นชั่วคราว อาจมีความเกี่ยวข้องกับวัคซีน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ข้อมูลกลไกของการเกิดอาการ ตามรายงานของ องค์การอนามัยโลก ( WHO ) อาการเช่นนี้
ด้านความผิดปกติที่เกิดขึ้นจะอยู่ในช่วงประมาณ 6 ชั่วโมงแรกหลังฉีดวัคซีน อาจมีบางรายที่เกิดขึ้นได้ภายในช่วง 24 ชั่วโมงหรือ 1 วัน ส่วนใหญ่ที่เกิดมักจะหายได้เอง และค่อยๆดีขึ้น อาจจะใช้เวลา 1 ถึง 3 วัน หรือว่าในบางรายอาจจะนานเป็นสัปดาห์ และส่วนใหญ่มักจะกลับมาเป็นปกติได้
ผู้ป่วยที่เป็นโรคทางระบบประสาทสามารถรับวัคซีนโควิด-19ได้หรือไม่ ?
-ผู้ป่วยที่เป็นโรคทางระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก โรคอ่อนแรง โรคพาร์กินสัน โรคของเส้นประสาท ถ้าโรคอยู่ในภาวะคงที่และควบคุมได้ สามารถรับวัคซีนโควิด-19ได้
-ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างได้รับรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน ยาสเตียรอยด์ ที่อาการของโรคสงบ สามารถรับวัคซีนได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ที่รักษา (เนื่องจากรายละเอียดของยาบางตัวที่ได้รับอาจต้องมีการปรับยาก่อน)
-ผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านเกล็ดเลือด และผู้ป่วยที่รับประทานยาวาร์ฟารินต้านการแข็งตัวของเลือด
ถ้าผลเลือด INR อยู่ในเกณฑ์ปกติ
?INR น้อยกว่า 4 ภายใน 1 สัปดาห์
?INR น้อยกว่า 3 มาตลอด
กลุ่มนี้สามารถฉีดได้ ไม่ต้องหยุดยา ไม่ต้องตรวจ INR
แต่ถ้าอาการยังไม่คงที่ แนะนำให้รับการฉีดวัคซีนทันทีหลังจากที่อาการดีแล้ว
-โรคปวดศีรษะ ไมเกรน สามารถรับวัคซีนโควิด-19ได้ โดยไม่ต้องหยุดยา ทานยาเดิมได้ตามปกติ
การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสโควิด-19 ยังคงได้ประโยชน์มากกว่าผลข้างเคียงที่จะได้รับ เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ลดโอกาสในการติดเชื้อ ลดความรุนแรงของโรค ลดอัตราการเสียชีวิต
ข้อมูลโดย อ.นพ.กิตติ เทียนขาว อาจารย์ประจำหน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU
#สุขภาพดีกับหมอสวนดอก
#วัคซีนโควิด-19กับอาการทางระบบประสาทและสมอง
#COVID19
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
สื่อความรู้ (COVID-19)
สุขภาพ
ข่าวสาร (COVID-19)
ข่าวเด่น
ข่าวสาร PM2.5
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: