CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
วันถุงลมโป่งพองโลก (WORLD COPD DAY)
8 พฤศจิกายน 2566
คณะแพทยศาสตร์
องค์การอนามัยโลก และองค์การโรคถุงลมโป่งพองโลก ได้กำหนดให้วันพุธสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันแห่งการรณรงค์โรคถุงลมโป่งพองโลก
โรคถุงลมโป่งพอง คืออะไร?
โรคถุงลมโป่งพองหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หมายถึง โรคระบบการหายใจที่เป็นผลจากการอักเสบเรื้อรังต่อหลอดลมและหลอดลมฝอย (หลอดลมอักเสบเรื้อรัง) หรือมีการทำลายผนังถุงลม (ถุงลมโป่งพอง) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย ไอ มีเสมหะแบบเรื้อรัง ร่วมกับมีการจำกัดการไหลของอากาศในขณะหายใจออก ที่จะมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โรคนี้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 ของการเสียชีวิตของประชากรโลก และการกำเริบเฉียบพลันของโรคจะมีผลต่อการเสียชีวิต สมรรถภาพปอดที่แย่ลง และคุณภาพชีวิตในระยะยาว
สาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง
ปัจจุบันโรคนี้เป็นผลจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรม ร่วมกับปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะจากควันจากการสูบบุหรี่ และมลภาวะทั้งจากในบริเวณบ้านและนอกบ้าน ได้แก่ ควันพิษและก๊าซที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ต่างๆ รวมทั้งฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เป็นเวลานาน
อาการของโรคถุงลมโป่งพอง
ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง อาจจะมีหรือไม่มีเสมหะ หายใจหอบเหนื่อยซึ่งจะมีอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยในระยะแรกผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยในขณะที่ออกแรง และในระยะที่โรคเป็นมากขึ้น จะมีอาการเหนื่อยแม้ในขณะพัก อาการอื่นที่พบได้ เช่น แน่นหน้าอก หรือหายใจมีเสียงหวีด
การรักษาโรคถุงลมโป่งพอง
1. การรักษาโดยใช้ยา ได้แก่ ยาสูดขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาวในรายที่มีอาการเหนื่อยในระดับ 2 (เดินบนพื้นราบได้ช้ากว่าคนอื่นที่อยู่ในวัยเดียวกันเพราะหายใจหอบ หรือต้องหยุดเพื่อหายใจ เมื่อเดินตามปกติบนพื้นราบ) ขึ้นไป หรือมีอาการกำเริบเฉียบพลันรุนแรงปานกลาง อย่างน้อย 2 ครั้ง ในปีที่ผ่านมา หรือมีอาการกำเริบเฉียบพลันรุนแรงที่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 ครั้ง ในปีที่ผ่านมา ร่วมกับยาสูดขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์สั้น เมื่อมีอาการเหนื่อย
2. การหยุดสูบบุหรี่
3. การรักษาอื่น ๆ ได้แก่ การให้วัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ และวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในรายที่มีอาการเหนื่อยตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป เป็นต้น
การป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง
การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคและการกำเริบของโรค ได้แก่ การไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงฝุ่นควันจากมลภาวะต่าง ๆ หลีกเลี่ยงผู้ที่ติดเชื้อหวัด การได้รับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อระบบการหายใจ และการใช้ยาตามที่แพทย์สั่งด้วยวิธีการสูดที่ถูกต้อง รวมทั้งการออกกำลังกายที่เหมาะสม และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.นพ.อรรถวุฒิ ดีสมโชค หัวหน้าหน่วยวิชาระบบการหายใจ เวชบำบัดวิกฤตและภูมิแพ้ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง:นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: