CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
การคุมกำเนิดในยุคโควิด-19
6 กรกฎาคม 2564
คณะแพทยศาสตร์
การคุมกําเนิดมีความสําคัญในการวางแผนครอบครัว ให้แต่ละครอบครัวมีบุตรเมื่อพร้อมและสามารถสร้างเด็กที่มีคุณภาพให้กับสังคมได้ ซึ่งในช่วงที่มีโรคระบาดรุนแรง การคุมกำเนิดก็จะมีความสำคัญมากขึ้น เพราะหญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อโควิด-19 จะมีอาการรุนแรงมากกว่าปกติและมีข้อจำกัดในการดูแลของทั้งแม่และเด็ก ดังนั้นหญิงทั่วไปจึงพึงคุมกำเนิดในช่วงที่มีโรคระบาดรุนแรง ยกเว้นผู้หญิงที่มีข้อจำกัดในการคุมกำเนิด ก็ต้องระมัดระวังขณะตั้งครรภ์อย่างมาก หากยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน
การคุมกําเนิดในประเทศไทยมีทั้งการคุมกําเนิดแบบธรรมชาติซึ่งมีประสิทธิภาพน้อย นอกจากนี้ยังมีถุงยางอนามัย ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ฮอร์โมนเดี่ยว ยาฉีด ยาฝัง แผ่นแปะ ซึ่งในภาวะปกติ แต่ละครอบครัวก็จะเลือกใช้ตามความเหมาะสม สำหรับการคุมกำเนิดระยะยาวได้แก่ ยาฉีดทุก 3 เดือน ยาฝังทุก 3-5 ปี และห่วงอนามัยทุก 5 ปี จะช่วยเว้นระยะการเดินทาง ในกรณีที่มีข้อจำกัดเรื่องการเดินทาง
-ยาฝังคุมกำเนิดและห่วงอนามัยสามารถใช้ในวัยรุ่นและผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีบุตรได้และมีประสิทธิภาพดี โดยมีข้อเสียและผลข้างเคียงน้อย สปสช จึงสนับสนุนยาฝังคุมกำเนิดและห่วงอนามัยในวัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี ในสถานพยาบาลของรัฐ เพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ซึ่งหลังจากดำเนินโครงการมาเป็นระยะเวลา 7 ปีก็พบว่า มีกระแสตอบรับที่ดีและความพึงพอใจสูง
-ในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศซีกโลกตะวันตก จะมีประชากรส่วนหนึ่งที่มีพันธุกรรมโน้มเอียงให้เกิดลิ่มเลือดได้ง่าย เมื่อพบว่า 1 ใน 4 ของคนไข้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เกิดลิ่มเลือดขึ้นในร่างกายจากภาวะที่มีปฏิกิริยาของเกล็ดเลือด และการอักเสบของผนังหลอดเลือด ประเทศเหล่านั้นจึงมีความกังวลเกี่ยวกับลิ่มเลือดเป็นพิเศษ โดยเฉพาะยาที่จะมีผลต่อการเกิดลิ่มเลือดในร่างกายเช่น ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม แต่ในคนเอเชียหรือคนไทย มีโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดน้อยมาก จึงสามารถรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดได้อย่างปลอดภัย และเมื่อติดเชื้อโควิด-19 ก็มีแพทย์คอยดูแลเรื่องยารักษาขณะติดเชื้อ จึงทำให้ข้อกังวลนี้ค่อนข้างน้อย
-สำหรับการฉีดวัคซีนนั้นในแต่ละคนก็จะมีปฏิกิริยาแตกต่างกันไป อาจจะมีอาการข้างเคียงเล็กน้อย เช่น อาการอ่อนเพลีย แต่ถ้าผู้หญิงรายนั้นมีอาการปวดประจำเดือนและอ่อนเพลียในช่วงที่มีรอบเดือน เมื่อไปรวมกับอาการอ่อนเพลียจากการได้รับวัคซีน อาจจะทำให้มีอาการมากขึ้น จึงอาจจะต้องรับประทานยาแก้ปวดในช่วงก่อนหรือหลังฉีดยา เพื่อลดอาการข้างเคียงเหล่านี้
-แม้จะมีการฉีดวัคซีนกันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศแถบตะวันตกที่มีประชากรมีโอกาสเสี่ยงลิ่มเลือด ก็ยังไม่พบความสัมพันธ์ของผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนกับยาเม็ดคุมกำเนิด และยังไม่มีประเทศใดออกข้อกำหนดให้งดการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดก่อนการฉีดวัคซีน ดังนั้นในกลุ่มคนเอเชียหรือไทยที่โดยปกติพบลิ่มเลือดได้น้อยมาก จึงสามารถฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้โดยไม่ต้องหยุดยาเม็ดคุมกำเนิด
-โดยสรุป การคุมกําเนิดมีความสําคัญ ในการวางแผนการใช้ชีวิต และเรามีวิธีในการคุมกำเนิดที่หลากหลายในประเทศไทย ณ ปัจจุบันยังไม่มีรายงานจากประเทศใดในโลกที่ห้ามคุมกำเนิดวิธีใดๆร่วมกับการฉีดวัคซีน จึงสามารถคุมกำเนิดและฉีดวัคซีนไปด้วยกันได้อย่างปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่วางแผนจะมีบุตร ควรทำการฉีดวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อลดความกังวลขณะตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม หากมีความกังวลสงสัยเกี่ยวกับการคุมกำเนิด หรือยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัวเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด ก็สามารถปรึกษาแพทย์ได้ โดยแพทย์อาจเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิดเป็นชนิดที่มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดได้น้อยที่สุด ได้แก่ชนิดที่มี ฮอร์โมนชนิดโปรเจสตินอย่างเดียว ในรูปแบบยารับประทาน ยาฉีด หรือยาฝัง หรือจะเป็นการคุมกำเนิดแบบชนิดที่ไม่ใช้ฮอร์โมน
ติดตามผ่าน Youtube : https://bit.ly/2V1HMEz
ข้อมูลโดย รศ.พญ.ทวิวัน พันธศรี
อาจารย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU
#COVID19
#การคุมกำเนิดในยุคโควิด-19
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
สื่อความรู้ (COVID-19)
สุขภาพ
ข่าวสาร (COVID-19)
ข่าวเด่น
ข่าวสาร PM2.5
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: