CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
อยู่อย่างไรให้สุขใจ ในวัยเกษียณ
30 ตุลาคม 2563
คณะแพทยศาสตร์
วัยเกษียณ คือช่วงรอยต่อของชีวิต เพราะชีวิตยังอยู่อีกยาวนาน หากนับอายุ 100 ปี คือการเติบโต 30 เปอร์เซนต์ของการใช้ชีวิต ให้มองถึงการเติบโต ว่ากำลังอยู่ในช่วงปกติของมนุษย์ โดยหาจุดแข็งให้เราดำเนินชีวิตต่อไปได้ ประเทศไทยเข้าสู่ การก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุเข้ามาในช่วง 2547 แล้ว แต่ยังไม่สมบูรณ์ เกือบจะสมบูรณ์ คาดว่าอีก 5 ปี จะสมบูรณ์ขึ้น ซึ่งทั่วโลกอายุขัยจะสูงขึ้นเรื่อยๆ อายุขัยที่สูงที่สุดอยู่ที่ทวีปออสเตรเลีย รองลงมาคือยุโรป การเตรียมความพร้อมก้าวสู่วัยเกษียณ ในผู้สูงอายุจึงสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
การเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุวัยเกษียณ
1.เตรียมใจ เตรียมความคิดให้มองว่าการเข้าสู่วัยเกษียณเป็นเรื่องธรรมชาติ
2.เตรียมตัว เตรียมร่างกาย ซึ่งเลี่ยงไม่ได้กับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ Bio Psycho Socaial (ไบโอ ไซโค โซเชียล) ชีวะ จิต(ตะ) สังคม คือเตรียมร่างกาย สภาพจิตใจ ความคิด สังคมที่ควบคุมไม่ได้
3.หาความรู้ เพื่อปฏิบัติตัว เตรียมร่างกายจากโรคที่มาจากผู้สูงอายุ อาทิ เรื่องสมอง ดูแลสมองให้ดี ไม่ให้เสื่อมเร็ว หาความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) ซึ่งเกิดขึ้นจากพันธุกรรม โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน เป็นต้น
4.ปฎิบัติตัวให้ถูกต้อง อะไรที่ควรหลีกเลี่ยง รวมถึงการรักษาโรคที่ถูกต้อง พร้อมการดูแลร่างกายให้ดีที่สุด
ผู้สูงอายุผู้สูงอายุวัยเกษียณส่วนใหญ่เครียดเรื่องอะไรบ้าง
-เครียดเรื่องสุขภาพ
-เครียดเรื่องลูกหลาน เป็นห่วงลูกหลาน
-เครียดเรื่องคู่ชีวิต กังวลว่าจะโดดเดี่ยวอยู่คนเดียว
-เครียดเรื่องการเงิน กลัวจะมีน้อยกว่าที่เคยมี กลัวว่าเมื่อถึงเวลานั้นจะมีไม่พอ
-ความขัดแย้งในสังคมหลายมุมมอง ฯลฯ
การรักษาและการจัดการความเครียด
การรักษานั้นต้องดูว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือควรพบแพทย์หรือไม่ เพื่อป้องกันและทำการรักษา ด้วยการตรวจคัดกรองซักถามคำถามบางอย่างซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัย แต่หากพิจารณาถึงขึ้นต้องรักษาอาจจะมีการรักษาด้วยยา หรือให้คำปรึกษาแนะนำ ด้วยจิตบำบัด จากนักจิตวิทยา หรือนักกิจกรรมบำบัด
อาหารอะไรที่สร้างความสุขได้ในผู้สูงอายุวัยเกษียณ
-วนิลา ผ่อนคลายความเครียด กลิ่นวานิลลามีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางและสมอง ทำให้ผ่อนคลายความเครียด และช่วยลดอาการวิตกกังวลลงได้
- องุ่น บำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอไม่ให้ผิวหนังแก่ก่อนวัยและแห้งกร้านของเซลล์ผิว
- โกโก้ ทำให้อารมณ์ดี
- ผักใบเขียว บำรุงหัวใจและหลอดเลือด ช่วยบำรุงสมองและความจำ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ
- ปลาที่มีโอเมก้า 3 ลดการเต้นผิดปกติของหัวใจ ลดการจับตัวกันของเกล็ดเลือด ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดหลอดเลือดแดงแข็ง ลดการเกิดความดันโลหิตสูง เสริมการทำงานของไนตริกออกไซด์ต่อการพักของหลอดเลือดลดภาวะอักเสบ
สิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลตัวเองในผู้สูงอายุวัยเกษียณ
- การดูแลเรื่องอาหาร แนะนำให้สอบถามเภสัชกร นักโภชนาการ อ่านหนังสือ ดูสื่อต่างๆเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ
- นอนหลับให้เพียงพอ คุณภาพการนอนสำคัญมาก นอนมากเกินไปไม่เป็นประโยชน์ นอนน้อยเกินไปไม่เป็นประโยชน์ ให้ดูที่นาฬิกาของร่างกาย ว่าตื่นมาทำงานได้มาตรฐานหรือไม่ ตื่นมาแล้วไม่รู้สึกว่าอยากนอนอีก
- ออกกำลังใจ คือการทำสมาธิ โฟกัสจดจ่อกับอะไรได้บางอย่างเพื่อให้เกิดสมาธิ โดยเฉพาะการจดจ่อกับสิ่งที่ดีๆ
สำหรับการร่วมกิจกรรมในสังคม ให้ดูที่ธรรมชาติพฤติกรรมของตัวเอง บางท่านอาจชื่นชอบกิจกรรมร่วมกับสังคมหรือบางท่านอาจจะชอบอยู่คนเดียวทำกิจกรรมที่บ้านแล้วมีความสุข เรียนรู้การใช้เทคโนโลยี เรียนทำอาหาร ฯลฯ
ข้อมูลโดย ศ.พญ.ณหทัย วงศ์ปการันย์ อาจารย์ประจำหน่วยจิตเวชศาสตร์ผู้สูงอายุและจิตบำบัด ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
หากมีข้อสงสัย ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ห้องตรวจบริการ หมายเลข 24 (ห้องตรวจจิตเวช) เครียด หงุดหงิด ซึมเศร้า สามารถมาใช้บริการได้ทุกวัน ระหว่าง 08.00-12.00 น. โทร.053-935422-3
ติดตามรับชมย้อนหลังได้ที่
ttps://www.facebook.com/watch/live/?v=773301506548085&ref=search
สุขภาพ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: