CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
ให้รักด้วยใจ ให้หัวใจสุขภาพดี
14 กุมภาพันธ์ 2567
คณะแพทยศาสตร์
สาเหตุหลักของการเกิดโรคหัวใจเกิดด้วยหลายประการด้วยกัน ได้แก่
– พันธุกรรม ความผิดปกติของยีนส์หนึ่งยีนส์ที่นำไปสู่การทำให้เกิดโรค เช่น ภาวะโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่ส่วนใหญ่เป็นโรคที่มียีนส์หลายยีนส์ควบคุม เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันสูง โรคเบาหวาน
– ปัจจัยแวดล้อม เช่น รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีแป้ง น้ำตาล และเกลือสูง ภาวะอ้วน การขาดการออกกำลังกาย โดยปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ยีนส์ผิดปกติทำงานมากขึ้น และส่งผลทำให้เกิดโรคได้ในที่สุด
สัญญาณเตือน อาการที่ควรตระหนักรู้ของโรคหัวใจ
เมื่อมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์
1. เจ็บอกขณะออกแรง เช่น เดินขึ้นบันได เดินทางไกล ยกของหนัก แล้วมีอาการจุกแน่นอก หรือหนักอกเสมือนช้างทับอก จนต้องหยุดพักจึงจะดีขึ้น
2. ใจสั่น ไม่ว่าจะเป็นอาการที่รู้สึกว่าเต้นเร็ว ช้า หรือไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหนื่อยง่ายขึ้น วูบ หน้ามืด
3. อาการบวม เกิดจากการคั่งของน้ำในเนื้อเยื่อ เมื่อเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ไตจะทำหน้าที่สะสมน้ำและเกลือโซเดียมในร่างกายมากขึ้น น้ำที่เกินจะไปสะสมในบริเวณที่อยู่ต่ำตามแรงโน้มถ่วง หากยืนนาน ขาจะบวม หากนอนนานจะบวมบริเวณก้นกบ เป็นต้น
4. เหนื่อยง่ายขึ้น จากเคยขึ้นบันไดได้ง่าย ๆ สบาย ๆ กลายเป็นเดินขึ้นแล้วเหนื่อย ต้องหยุดพัก หรือนอนราบไม่ค่อยได้ มีอาการหายใจไม่ออก จนต้องหนุนหมอนสูงขึ้น จึงจะทำให้หายใจได้โล่ง
5. วูบหมดสติ หากมีอาการใจสั่นนำมาก่อนการหมดสติ จะมีความเป็นไปได้สูงว่าอาการดังกล่าวจะเกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
การป้องกันโรคหัวใจ
– ควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงเกินมาตรฐาน ควบคุมคอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือด
– ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
– ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน เค็ม
– เน้นรับประทานผักและผลไม้ที่ไม่มีรสหวาน
– ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ เช่น เดินสายพาน เต้นแอโรบิก วิ่ง ว่ายน้ำ
– ไม่สูบบุหรี่
– หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ผศ.นพ.กฤษณ์ ลีมะสวัสดิ์ อาจารย์ประจำหน่วยวิชาระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง : นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: