CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
วัคซีนโควิด-19 กับอาการทางระบบประสาท
1 มิถุนายน 2564
คณะแพทยศาสตร์
“วัคซีนโควิด-19 กับอาการทางระบบประสาท”
โดย อ.นพ.กิตติ เทียนขาว
อาจารย์หน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
+++อาการความผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นภายหลังฉีดวัคซีน+++
ในความเป็นจริงการฉีดวัคซีน แล้วส่งผลกระทบต่อระบบประสาท มีมาก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ใช่เฉพาะวัคซีนโควิด-19 หรือว่าวัคซีนยี่ห้อ Sinovac ที่ประชาชนกำลังให้ความสนใจกันขณะนี้
มีรายงานการเกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาทหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ยี่ห้อ Sinovac เกิดขึ้นจริง หากย้อนกลับไปดูข้อมูลทางการแพทย์ของวัคซีนที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ อย่างเช่นการศึกษาของ Brazil ได้รายงานว่ามีประชากรอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่มีอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันชั่วคราว อยู่ที่ประมาณ 1-2 ราย ต่อ 6,000 รายที่ได้รับวัคซีน
+++พบบ่อยแค่ไหนในประชากรไทย+++
เมื่อกลับมาสังเกตอาการจากการฉีดวัคซีนในกลุ่มประชากรไทย จากข้อมูลเบื้องต้นจากทางศูนย์ต่างฯทั้งหมดในประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 พ.ค. 2564) พบว่าในคนไทยหลังการฉีดวัคซีนก็มีอุบัติการณ์การเกิดประมาณ 0.3 เปอร์เซ็นต์ คือจะเกิดขึ้นประมาณ 3 ราย ใน1,000 ราย
ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการ แล้วนำผู้ป่วยมาตรวจเพิ่มเติม ทั้งตอนที่มีอาการ และตอนที่หลังจากเกิดอาการไปแล้ว น้อยมากที่มีความผิดปกติ ส่วนใหญ่ตรวจพบว่าเป็นปกติ ดังนั้นจึงสงสัยว่ากลไกการเกิดอาจไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต เหมือนในผู้สูงอายุที่เป็นกัน
สำหรับอาการของความผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นความผิดปกติเรื่องการรับความรู้สึกหรือว่าเป็นอาการชาเป็นหลัก พบได้ประมาณ 60 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ซึ่งอาการชาเหล่านี้ จะพบได้บริเวณที่ใบหน้า มุมปาก หรือชาครึ่งซีกตามแขน ขา รองลงมาจะมีอาการทางระบบประสาทอื่นๆ เช่นปวดศีรษะ อาการอ่อนแรง หรือว่ามีส่วนน้อยที่พบคือมีอาการมองเห็นผิดปกติ ส่วนใหญ่ที่พบจะเกิดกับในผู้ป่วยที่เป็นผู้หญิง มีช่วงอายุประมาณ 20 ถึง 50 ปี ความผิดปกติที่เกิดขึ้นเท่าที่สังเกตมาอยู่ในช่วงประมาณ 6 ชั่วโมงแรกหลังฉีดวัคซีน อาจมีบางรายที่เกิดขึ้นได้ภายในช่วง 24 ชั่วโมงหรือ 1 วัน ส่วนใหญ่ที่เกิดมักจะหายได้เอง และค่อยๆดีขึ้น อาจจะใช้เวลา 1 ถึง 3 วัน หรือว่าในบางรายอาจจะนานเป็นสัปดาห์และส่วนใหญ่มักจะกลับมาเป็นปกติได้
+++การปฎิบัติตัวก่อนรับวัคซีน+++
ควรจะพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ หลังรับวัคซีนในช่วงแรกจะทำตามมาตรฐาน คือสังเกตอาการภายใน 30 นาที เพื่อสังเกตอาการว่ามีอาการแพ้รุนแรงที่จะเกิดขึ้นในระยะแรกไหม หลังฉีดไปแล้วประมาณ 6 ชั่วโมง หรือ 1 วันก็ยังต้องสังเกตอาการความผิดปกติเหล่านี้อยู่ หากเกิดอาการผิดปกติ แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อที่ประเมินอาการ
+++แนวทางการรักษาและการพยากรณ์โรค+++
จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่มีอาการน้อยและกลุ่มที่มีอาการมาก โดยส่วนใหญ่มักจะมีอาการน้อย แบบมีอาการชาแบบไม่เฉพาะเจาะจง หรือมีอาการอาการปวดศีรษะแบบทั่วไปที่มักจะหายได้เองภายใน 72 ชั่วโมง โดยจะทำการรักษากลุ่มนี้ตามอาการมากกว่า
สำหรับอีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนแล้วมีหลายอาการพร้อมกัน เช่น มีทั้งอาการชา อ่อนแรง ปวดศีรษะรุนแรง อาจจะต้องมีการประเมินอย่างละเอียด การตรวจเพิ่มเติมด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อดูรอยโรคว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบจริงหรือไม่ ซึ่งอาจจะมีผลต่อการวางแผนให้วัคซีน
+++สำหรับวัคซีนเข็มที่ 2++++
แพทย์จะทำการตรวจอาการของผู้ป่วยเป็นหลักว่าผู้ป่วยที่เกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาทนั้นเป็นกลุ่มไหน ในกลุ่มที่ไม่รุนแรงให้ยึดตามคำแนะนำของสมาคมวิชาชีพ ที่เราใช้ในปัจจุบัน ก็คือสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทยและสมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย แนะนำว่ากลุ่มนี้สามารถให้วัคซีนเข็มที่ 2 ได้ แต่หากเป็นอีกกลุ่มหนึ่งต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมให้แน่ชัดว่า สาเหตุของการเกิดอาการนั้น เกิดจากสาเหตุอะไรและผู้ป่วยควรได้รับวัคซีนอย่างเหมาะสมหรือไหม ซึ่งถ้ามีอาการอ่อนแรงค่อนข้างมาก ตามคำแนะนำของสมาคมฯ ยังให้แนะนำเลี่ยงเข็มที่ 2 ไปก่อน
การให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด ในบางรายงานพบว่าโรคโควิด-19 เอง สามารถเป็นผลทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ ประมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์
ดังนั้นเมื่อเทียบตัวเลขของการเกิดความผิดปกติทางระบบประสาทภายหลังการฉีดวัคซีน ที่มีข้อมูลอยู่ ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ประมาณ 0.2 ถึง 0.3 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขก็ยังค่อนข้างน้อยกว่าการเกิดโรคสมอง จากโรคโควิด -19 ตรงนี้จะเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจว่าเราสามารถรับวัคซีนตัวไหนได้
??ติดตามได้ที่ : https://fb.watch/5JrPD9neGi/
#วัคซีนโควิด19
#MedCMU
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรสวนดอก
#COVID19
#ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
สื่อความรู้ (COVID-19)
สุขภาพ
ข่าวสาร (COVID-19)
ข่าวเด่น
ข่าวสาร PM2.5
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: