CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ เปิดตัวห้องสวนหัวใจและหลอดเลือด (CATH LAB) และห้องเอ็มอาร์ไอหัวใจ (CARDIAC MRI) ภายในห้องฉุกเฉินระบบดิจิตอล ครบวงจร ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ (ONE-STOP-SERVICE ER)
3 ตุลาคม 2566
คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เปิดตัวห้องสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cath Lab) และห้องเอ็มอาร์ไอหัวใจ (Cardiac MRI) ภายในห้องฉุกเฉินระบบดิจิตอล ครบวงจร ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ (One-Stop-Service ER) เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพิ่มโอกาสการรอดชีวิตและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรค
ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า “การนำเครื่องสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cath Lab) เข้ามาให้บริการภายในห้องฉุกเฉิน รวมถึงการติดตั้งเครื่องเอ็มอาร์ไอหัวใจ (Cardiac MRI) ในพื้นที่บริเวณห้องฉุกเฉินที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ ถือเป็นการให้ความสำคัญต่อการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือระดับเร่งด่วนเพราะทุกนาทีคือชีวิต และทุกช่วงชีวิตมีค่า ซึ่งตรงกับพันธกิจในการยกระดับสุขภาวะของมนุษยชาติอย่างยั่งยืน โดยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการที่ดีขึ้น และความเป็นเลิศของการบริการของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มีความมุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่ง ที่จะมอบส่งการบริการที่มีคุณภาพ และศักยภาพระดับสูง ให้แก่ผู้รับบริการทุกท่าน ซึ่งผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรคหัวใจ ณ ห้องฉุกเฉินปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะสามารถใช้ห้องนี้ในการรองรับผู้ป่วยวิกฤต ที่เพิ่มขึ้น เพิ่มโอกาสการรอดชีวิตโดยผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัย และการรักษาอย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำสูง และปลอดภัยสูงสุดเพิ่มอัตราการรอดชีวิตผู้ป่วยกลุ่มนี้”
ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เปิดเผยว่า “จากเดิมห้องสวนหัวใจ ตั้งอยู่ ณ บริเวณชั้น 8 อาคารศรีพัฒน์ เมื่อมีผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยโรคหัวใจ การตรวจรักษา รวมถึงการวินิจฉัยและการเคลื่อนย้ายมายังห้องสวนหัวใจเป็นระยะเวลาโดยเฉลี่ย ประมาณ 10-15 นาที ในภาวะที่ผู้ป่วยไม่แออัดมาก แต่ทุกนาทีของผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องหัวใจขาดเลือดมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและส่งผลต่ออัตราการรอดชีวิตอย่างมาก การสร้างห้องสวนหัวใจและหลอดเลือด ในพื้นที่ห้องฉุกเฉินนั้น จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว และช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ในทันที
เพื่อประโยชน์สูงสุดกับผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน โดยเฉพาะผู้ป่วยอาการไม่คงที่ หรือที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน จะได้รับการรักษาทันที หากช่วยได้เร็วโอกาสในการรอดชีวิตจะมีมากขึ้น โดยความพร้อมในด้านบุคลากรทางการแพทย์ มีอาจารย์แพทย์เฉพาะทางด้านระบบหัวใจและหลอดเลือด และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ พร้อมให้บริการตลอดเวลา นับว่าเป็นห้องฉุกเฉินที่ให้บริการแบบครบวงจรอย่างแท้จริง
นอกจากมีเครื่องสวนหัวใจและหลอดเลือดในห้องฉุกเฉินแล้ว ยังได้ทำการติดตั้งเอ็มอาร์ไอหัวใจ (Cardiac MRI) ในพื้นที่บริเวณด้านข้างห้องฉุกเฉิน เพื่อความสมบูรณ์ในการให้บริการ และในขณะที่ให้การรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือด หากมีเหตุฉุกเฉินสามารถให้ความช่วยเหลือโดยใช้อุปกรณ์ที่เตรียมความพร้อมเพื่อช่วยชีวิตภายในห้องสวนหัวใจ และสามารถเรียกแพทย์ พยาบาลผู้เชี่ยวชาญจากห้องฉุกเฉิน เข้ามาทำการช่วยชีวิตผู้ป่วยได้อีกด้วย นับเป็นความปลอดภัยขั้นสูงสุดสำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน นอกจากนี้ในอนาคตยังสามารถใช้เครื่องดังกล่าวเพื่อช่วยห้ามเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกจากการบาดเจ็บของอวัยวะภายในได้อีกด้วย”
ด้าน รศ.ดร.นพ.บวร วิทยชำนาญกุล หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า “ภาวะผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเป็นภาวะที่พบได้บ่อย และเป็นภาวะที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 10 การวินิจฉัยและการรักษาอย่างรวดเร็วนั้นต้องอาศัยทีมแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญเป็นแพทย์เฉพาะทาง ประกอบกับโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และเรามีอาจารย์แพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจที่อยู่ประจำตลอด 24 ชั่วโมง ที่คอยให้คำปรึกษาแพทย์ที่อยู่ห้องฉุกเฉิน ดังนั้นเมื่อมีทีมแพทย์ และห้องสวนหัวใจในพื้นที่ห้องฉุกเฉิน อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยจะสูงขึ้น ให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลครบวงจร และสามารถลดอัตราการเสียชีวิต และทุพพลภาพลงได้”
ผศ.ดร.พญ.พรรณนิภา สุวรรณสม อาจารย์ประจำหน่วยวิชาระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า “ในปัจจุบันพบผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันจำนวนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของคนเมือง อาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และการสัมผัสฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณสูง ซึ่งปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นส่งเสริมให้ผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น
ในผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะเสียชีวิตจากการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะหัวใจล้มเหลว และภาวะช็อค หากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่นานเพียงพอเป็นระดับวันก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตั้งแต่การเกิดลิ้นหัวใจรั่ว หรือกล้ามเนื้อหัวใจทะลุได้ หลายท่านอาจเคยได้ยิน แคมเปญในการรณรงค์ที่ว่า เมื่อมีอาการแน่นหน้าอก ผู้ป่วยต้องรีบมายังโรงพยาบาล เพราะการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันนั้นมีความเร่งด่วน นับเป็นนาที ดังนั้นเมื่อมายังห้องฉุกเฉิน ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจคลื่นหัวใจและแปลผลเบื้องต้นให้ได้เร็วที่สุดภายใน 10 นาที ต้องได้รับการเปิดหลอดเลือด ภายใน 90 นาที หากอยู่ในโรงพยาบาลที่สามารถเปิดห้องสวนหัวใจได้ จะเห็นได้ว่ามาตรฐานการรักษาผู้ป่วยในภาวะดังกล่าววัดกันเป็นหลักนาที เพราะทุกนาทีที่ผ่านไปหมายถึงกล้ามเนื้อหัวใจที่ตายเพิ่มขึ้น หากรักษาได้เร็ว ผู้ป่วยจะได้รับความเสียหายจากการตายของกล้ามเนื้อหัวใจที่ลดลง
ดังนั้น ความจำเป็นของการจัดตั้งห้องสวนหัวใจ ในพื้นที่ห้องฉุกเฉินก็เพื่อให้การรักษาได้อย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูง ลดอัตราการเสียชีวิตได้ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ให้การปรึกษาผู้ป่วยที่มีภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันกับโรงพยาบาลในเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง โดยรับปรึกษาผู้ป่วยกว่า 900 รายต่อปี และผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับ การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจเร่งด่วนกว่า 400 รายต่อปี การมีห้องปฏิบัติการตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดในพื้นที่เดียวกับห้องฉุกเฉินจะทำให้สามารถรักษาได้อย่างรวดเร็วทั้งต่อผู้ป่วยที่มาตรวจยัง รพ.มหาราชนครเชียงใหม่โดยตรง และผู้ป่วยที่รับส่งต่อมาจากโรงพยาบาลเครือข่าย”
สุขภาพ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: