CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย หรือเป็นโรคไบโพลาร์?
29 พฤศจิกายน 2564
คณะแพทยศาสตร์
จากสถิติพบว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยไบโพลาร์จำนวน 60 ล้านคน ในส่วนของคนไทยมีผู้ป่วยจำนวนประมาณ 5 แสนราย และเข้ารับการรักษา 1-2 หมื่นราย (ข้อมูล:กรมสุขภาพจิต) ความเข้าใจของโรคไบโพลาร์อาจมีความคลาดเคลื่อนไปบ้าง ในสื่อและความเข้าใจในสังคม อาทิ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ,มีสองบุคลิก ,อยู่กับสังคมเป็นแบบหนึ่ง อยู่คนเดียวเป็นอีกแบบหนึ่ง ,ไม่คุมอารมณ์ ,ชอบใช้ความรุนแรง ,เปลี่ยนตามสถานการณ์
ความเข้าใจทั้งหมดนี้อาจเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปสักหน่อย แต่อาจจะมีบางส่วนที่คล้ายได้ โรคไบโพลาร์แท้จริงแล้ว ไม่ได้ถูกจำกัด ด้วยคำนิยามเหล่านี้ ตามที่โซเชียลมีเดีย ในข่าว หรือละครที่สื่อออกมา จึงทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกับผู้ป่วยที่เป็นไบโพลาร์ที่ทางแพทย์ได้รับการรักษาอยู่ หรือว่าบุคคลที่อยู่รอบข้าง ซึ่งนำไปสู่การตีตราให้กับบุคคลนั้นๆ และเกิดภาพจำที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไบโพลาร์และโรคทางจิตเวชอื่นได้
ไบโพลาร์คืออะไร?...
การที่จะบ่งบอกว่าอาการนั้นเป็นโรคไบโพลาร์หรือยังต้องดูคำจำกัดความในทางการแพทย์ ซึ่งโรคทางจิตเวชเกือบทุกโรคมีคำนิยามที่บอกว่าเป็นโรคแล้วควรต้องได้รับการรักษา โดยรวมคือมีปัญหากับตัวเองหรือผู้อื่น เช่นผู้ที่เผชิญสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ โดยทั่วไป โรคซึมเศร้า โรคติดสุรา โรคไบโพลาร์ หรืออารมณ์สองขั้วจะมีส่วนที่เป็นร่วมกันอยู่คือ มีปัญหากับตัวเอง และมีปัญหากับผู้อื่นรอบข้าง เมื่อเผชิญกับปัญหาจะรู้สึกจัดการตัวเองไม่ได้ โดยโรคไบโพลาร์จะมีอาการหลัก 2 อาการ คือ
1. ช่วงซึมเศร้า (DEPRESSIVE EPISODE)
มีอาการเหมือนกับโรคซึมเศร้า โดยมีอาการสำคัญคือมีอารมณ์ซึมเศร้า เบื่อหน่าย หรือไม่มีความสุขกับสิ่งที่เคยทำแล้วสบายใจ ร่วมกับมีอาการประกอบอื่นๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของการทานอาหาร การนอนหลับ ความคิดสมาธิในการทำงานลดน้อยลง , รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด และบางรายอาจคิดทำร้ายตัวเอง โดยช่วงซึมเศร้านี้จะทำให้เกิดปัญหากับการทำงาน หรือความสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยไม่จำเป็นต้องมีอาการครบทั้งหมด และหากต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แนะนำให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเพื่อการวินิจฉัยต่อไป ส่วนอาการอีกด้านหนึ่ง เรียกว่าช่วงครึกครื้น หรือ ช่วงแมนิก ช่วงเวลานี้มักจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกับช่วงซึมเศร้า
2. ช่วงครึกครื้น (MANIA EPISODE)
อารมณ์หลักจะเกิดขึ้นในช่วงที่มีอาการอารมณ์ดี ซึ่งดีเกินกว่าปกติของคนๆ นั้นที่เคยเป็น รู้สึกดีกับทุกอย่าง หรืออาจมีอารมณ์หงุดหงิดเกือบตลอดเวลาต่ออย่างต่อเนื่อง ร่วมกับมีอาการประกอบอย่างน้อย 3 อาการ เช่น มีความคิดแล่นเร็ว คิดหลายอย่างพร้อมกัน ซึ่งไม่สามารถพูดออกมาได้ทัน, วอกแวกได้ง่าย สมาธิลดลง, ความต้องการการนอน 1-2 ชั่วโมงต่อวันก็สามารถที่จะอยู่ได้ตลอดทั้งวัน 24 ชั่วโมง ไม่นอนติดต่อกัน 2-3 วันก็สามารถอยู่ได้ ในขณะนั้นมีกิจกรรมที่สามารถอยู่ได้เรื่อยๆ, ยับยั้งชั่งใจไม่ได้ และ ทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงอันตรายมากขึ้น เช่น ใช้เงินมากขึ้นอย่างชัดเจน โดยไม่มีการพิจารณา, ขับรถเร็วขึ้น มีความต้องการทางเพศมากขึ้น และ ใช้สารเสพติดมากขึ้น เป็นต้น
หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์ จะมีความเสี่ยงด้านความคิดและความจำที่ถดถอยมากกว่าผู้ป่วยรายอื่นที่มารักษา ช่วงที่ซึมเศร้าและครึกครื้นมีโอกาสและความเสี่ยงที่จะใช้สารเสพติดได้มากกว่าปกติ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ถี่ขึ้น หรือลองสารเสพติดใหม่ๆ ทั้งที่ไม่เคยและเคยลองมาก่อน อาจจะทำให้มีผลข้างเคียงเกิดขึ้นมากได้ รวมถึงความสัมพันธ์ต่อผู้คนรอบข้างแย่ลงได้ในช่วงของอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ใครมีความเสี่ยงเป็นโรคไบโพลาร์?
- เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ไม่มีข้อยกเว้น แต่จะเจอในวัยรุ่นค่อนข้างมากกว่า หมายถึงช่วงเริ่มต้นที่มีอาการครั้งแรก พบว่าช่วงอายุระหว่าง 15-20 ปี
- ผู้ที่มีประวัติการใช้สารเสพติดมาก่อน แม้ว่าก่อนหน้านี้ไม่มีความเจ็บป่วยด้านอารมณ์
- ปัจจัยด้านพันธุกรรม พบว่าเสี่ยงมากขึ้นหากมีประวัติโรคทางอารมณ์ในญาติสายตรง ได้แก่ พ่อแม่ พี่น้อง โรคหรือภาวะอื่นที่คล้ายไบโพลาร์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของแพทย์ที่จะต้องแยกอาการเหล่านี้ และให้วินิจฉัยที่ถูกต้อง
- โรคไบโพลาร์ที่เกิดจากสารเสพติด และอาการทางจิตเวชที่เกิดจากโรคทางกายอื่น ๆ เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์เปลี่ยนแปลง, โรคทางสมองที่เป็นผลจากโรค SLE
- ภาวะอารมณ์เปลี่ยนแปลงช่วงมีประจำเดือน ซึ่งจะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย โดยอาจมีทั้งหงุดหงิดและซึมเศร้า
- โรคสมาธิสั้น ซึ่งอาจมีสมาธิจดจ่อได้น้อย ทำกิจกรรมหลายอย่างพร้อมกัน และพูดเร็ว คล้ายโรคไบโพลาร์ได้
- บุคลิกแปรปรวนชนิดก้ำกึ่ง มีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย ความมั่นคงน้อย
การตรวจรักษา..
เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องนึกถึง เนื่องจากตรวจด้วยตัวเองยาก ระยะเวลาในการรักษาของแต่ละคนจะตอบสนองต่อการรักษาที่ไม่เหมือนกัน ยาที่ใช้ในการรักษาแต่ละช่วงจะแตกต่างกัน โดยทั่วไปแพทย์คาดหวังว่าภายใน 1 เดือน จะทำให้อาการของผู้ป่วยสงบได้หมด อาการสำคัญควรจะหายได้ภายใน 1 สัปดาห์ เมื่อผู้ป่วยหายแล้วมีแนวโน้มที่จะปรับยาลงเรื่อยๆ เท่าที่จำเป็น ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาเพื่อให้หายเป็นปกติ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:ผศ.นพ.อวิรุทธ์ อุ่นอารมย์ อาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ติดตามผ่านช่องทาง
Facebook : https://cmu.to/A1BHs
Website : https://cmu.to/qOAtn
Telegram : https://cmu.to/E23Rj
Twitter : https://cmu.to/ROEey
Blockdit : https://bit.ly/32AYv5q
Line@MedCMU : https://cmu.to/Z2Jo6
Instagram : https://cmu.to/HK4MI
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: