CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
ต่อยอด-แสงหลวง
27 กรกฎาคม 2564
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
กรรมาธิการสถาปนิกล้านนา สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ ผศ.ดร.บุรินทร์ ธราวิจิตรกุล หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์ (CLIC) และผศ.กานต์ คำแก้ว อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. ได้ร่วมกันทำการทดลองสร้างปรากฏการณ์แสงเพื่อเติมเต็มองค์เจดีย์หลวง ให้ผู้คนได้สัมผัสความสง่างามของเจดีย์หลวงในอดีต
.
โดยงานชิ้นนี้เป็นการต่อยอดการทดลองเชิงปรากฎการณ์แสงของกรรมาธิการสถาปนิกล้านนาฯ ที่ได้พยายามทดลองนำมิติของแสงมาสร้างมุมมองใหม่ต่อสถาปัตยกรรมในภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง ซึ่งปีนี้ประธานกรรมาธิการสถาปนิกล้านนาฯ คุณปราการ ชุณหพงษ์ ได้วางเป้าหมายสำคัญในงานสถาปนิกล้านนา’64 ด้วยการสร้างปรากฏการณ์แสงเพื่อเพิ่มคุณค่าและมิติการรับรู้ใหม่ให้กับวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
.
การทดลองปรากฎการณ์แสง ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหารนี้ ทางกรรมาธิการสถาปนิกล้านนาฯ, ผศ.ดร.บุรินทร์ ธราวิจิตรกุล และผศ.กานต์ คำแก้ว ซึ่งเป็นกรรมาธิการสถาปนิกล้านนาชุดนี้เช่นกัน ได้ร่วมกันค้นหาวิธีการสร้างมุมมองใหม่ต่อองค์เจดีย์หลวง โดยตั้งคำถามว่า องค์เจดีย์หลวงในสภาพสมบูรณ์ จะมีความยิ่งใหญ่และงดงามได้เพียงใด จึงมีแนวความคิดในการหาทางใช้ปรากฏการณ์แสงในการเติมเต็มรูปทรงและสัดส่วนความสูงที่สมบูรณ์ให้กับองค์เจดีย์หลวง เพื่อให้ผู้คนได้สัมผัสกับประสบการณ์ความงดงามขององค์เจดีย์หลวงในอดีต
.
หลังจากการระดมสมองร่วมกัน จึงเกิดแนวคิดที่จะทดลองใช้แสงกับเทคนิค “Projection” หรือ “ภาพฉาย” ซึ่งเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่สุดในการนำเสนอแบบทางสถาปัตยกรรม (เช่น แปลน, รูปด้าน, รูปตัด) โดยทีมผู้จัดทำเห็นว่าเทคนิคภาพฉายที่เป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายนี้ อาจจะเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพต่อการทดลองนี้ได้
.
ในการทดลองเพื่อต่อยอดองค์เจดีย์ให้สมบูรณ์ด้วยภาพฉาย ทีมผู้จัดทำได้สืบค้นรูปแบบขององค์เจดีย์ที่สมบูรณ์ จากข้อสันนิษฐานที่สรุปมาจากการศึกษาเทียบเคียงหลักฐานและตำนาน โดยนักประวัติศาสตร์และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน พบว่ามีข้อสันนิษฐานของรูปทรงที่สมบูรณ์ในหลายแนวทาง ดังนั้นแนวทางการทดลอง จึงตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ต้องการทำให้ผู้ชมสามารถเติมเต็มความเป็นไปได้บางส่วนด้วยตัวเอง ผ่านการสร้าง “การเว้นว่าง” ให้จินตนาการของผู้ชมได้เติมเต็มความสมบูรณ์ขององค์เจดีย์ขึ้นภายในใจ
.
ร่องรอยของ “เส้นรอบรูป” ที่สมสัดส่วนและเบาบาง จึงเป็นเครื่องมือที่เลือกใช้
.
การสร้างภาพฉายของเส้นรอบรูปองค์เจดีย์ที่สมบูรณ์ด้วยแสง เป็นการเล่นกับมิติการรับรู้ “ความแบน” และ “ความลึก” ในเทคนิคการสร้างภาพฉายทางสถาปัตยกรรม โดยปกติแล้วสถาปนิกจะใช้วิธีฉายภาพรูปทรง 3 มิติที่มีความลึกให้ปรากฎไปบนระนาบที่แบนราบในมุมมองต่างๆ เพื่อให้เกิดเป็นภาษาของแบบทางสถาปัตยกรรม 2 มิติเพื่อใช้ในการสื่อสาร
.
แต่เรากำลังทดลองในกระบวนการย้อนกลับ การฉายแสงเส้นรอบรูปไปที่องค์เจดีย์ เป็นการฉายภาพ 2 มิติกลับคืนไปสู่องค์เจดีย์จริงที่เป็นวัตถุ 3 มิติ การทดลองนี้จึงเป็นลองใช้ “มิติความแบน” จากโลกกราฟฟิค 2 มิติเพื่อกระตุ้นการรับรู้ใหม่ให้กับ “มิติความลึก” ในโลกกายภาพ 3 มิติ
.
กระบวนการเล่นกับมิติด้วยปรากฎการณ์แสง ได้เริ่มต้นจากการฉายภาพเส้นรอบรูปให้ยืดยาวออกไป (Extrusion) จากจุดกำเนิดแสง (Dot) > สู่การเกิดลำแสง (Line) > ปรากฎเป็นระนาบแสงเสมือน (Plane) > และนำไปสู่การปิดล้อมระนาบแสง จนเกิดเป็นอุโมงค์แสงเสมือน (Space) ที่ซ้อนทับลงไปกับองค์เจดีย์ที่อยู่เบื้องหน้า เกิดเป็นการสร้างประสบการณ์การเติมเต็มให้ผู้ชม
.
การทดลองนี้ยังเป็นเพียงการทดลองในขั้นเบื้องต้น ทีมผู้จัดทำจะทำการพัฒนาการทดลองกันต่อไป ขอขอบคุณวัดเจดีย์หลวง และทีมงานสนับสนุนเบื้องหลังทุกท่าน
.
ทีมข้อมูลทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา
รศ.ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ
ผศ.รัฏฐา ฤทธิศร
คุณศุภการ ปินตา (ศิษย์เก่าสถ.มช. รุ่น4, อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)
.
ทีมกรรมาธิการสถาปนิกล้านนาฯ
คุณปราการ ชุณหพงษ์ (ประธานกรรมาธิการสถาปนิกล้านนา)
คุณสันธยา คชสารมณี (รองประธานกรรมาธิการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ)
คุณกิตติวัฒน์ ณ รังษี (ประธานจัดงานสถาปนิกล้านนา’ 64)
คุณอิศรา อารีรอบ (ศิษย์เก่าสถ.มช. รุ่น4, อดีตประธานกรรมาธิการสถาปนิกล้านนา)
คุณพิริยะ อาสนจินดา (ศิษย์เก่าสถ.มช. รุ่น4, บริษัทไตรสถาปนิก)
คุณวิชาญ วรรณกุล (ทีมงานทดลองแสง สี)
คุณปิติพงค์ สายวงศ์ปัญญา (บริษัท A-Plus)
คุณอนุสรณ์ นิมิตประทุม (ศิษย์เก่าสถ.มช. รุ่น3, บริษัท Motionlight)
คุณภวิต สูตะบุตร (เพจ เสพเชียงใหม่ / วีทีวีนัมเบอร์วันด้านการสื่อสาร)
.
ศูนย์นวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์ (CLIC) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช.
ผศ.ดร.บุรินทร์ ธราวิจิตรกุล
ผศ.กานต์ คำแก้ว
งานวิจัยและนวัตกรรม
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: