CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
วิศวฯ มช. เข้าร่วมงานแถลงข่าว “จากเชียงใหม่...สู่แอนตาร์กติกา” ตามความร่วมมือนิวทริโนไอซ์คิวบ์และการสำรวจตัดข้ามละติจูด ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
29 พฤศจิกายน 2566
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ตัวแทนผู้บริหารและคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รองคณบดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัชวาลย์ ชัยชนะ
และ
เรือโท ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะนักวิจัยที่จะร่วมเดินทางไปทวีปแอนตาร์กติกา เข้าร่วมงานแถลงข่าว
“จากเชียงใหม่...สู่แอนตาร์กติกา”
ตาม
ความร่วมมือนิวทริโนไอซ์คิวบ์และการสำรวจตัดข้ามละติจูดภายใต้พระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30 น. ณ ห้องแถลงข่าว อาคารพระจอมเกล้า (ถนนโยธี) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรุงเทพมหานคร
เรือโท ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม
ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 23 ทีมวิจัยที่จะเดินทางไปปฏิบัติภารกิจขุดเจาะน้ำแข็ง ณ หอสังเกตการณ์นิวทริโนไอซ์คิวบ์ ตั้งอยู่ ณ บริเวณขั้วโลกใต้ใจกลางทวีปแอนตาร์กติกา
ลึกเข้าไปจากขอบทวีปกว่า 1,000 กิโลเมตร ซึ่งเป็นจุดที่มีละติจูด 90 องศาใต้ (ตั้งฉากกับแกนโลก) มีความสูงประมาณ 2,835 เมตร จากระดับน้ำทะเล (สูงกว่ายอดดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ราวๆ 300 เมตร) การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนจึงต้องใช้เครื่องบินของกองทัพอากาศสหรัฐที่ดัดแปลงพิเศษในการเข้าพื้นที่ และมีเวลาปฏิบัติงานเพียงประมาณ 4 เดือน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงกุมภาพันธ์ ในช่วงฤดูร้อนของขั้วโลกใต้เท่านั้น แต่หากโครงการนี้สามารถดำเนินการได้สำเร็จภายในปี พ.ศ.2566 เรือโท ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม จะเป็นนักวิจัยคนแรกของประเทศไทย ที่ได้เดินทางไปถึงบริเวณขั้วโลกใต้ ณ ละติจูด 90 องศาใต้ ใจกลางทวีปแอนตาร์กติกา
การเดินทางไปปฏิบัติงาน ณ ทวีปแอนตาร์กติกาในครั้งนี้จะนำมาสู่การพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงของประเทศ อาทิ เทคโนโลยีการปฏิบัติงานในพื้นที่สุดขั้ว (Extreme Condition Operation) เทคโนโลยีการขุดเจาะด้วยของไหล (Fluid-Assisted Boring) การศึกษารังสีคอสมิกเพื่อการพยากรณ์สภาวะอาวกาศ (Space Weather Forecasting) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฏจักรของจุดบนดวงอาทิตย์กับการแผ่รังคอสมิกที่เป็นอันตรายต่อโลก นอกจากองค์ความรู้ที่ได้แล้วโครงการดังกล่าวยังเป็นการพัฒนาและเตรียมความพร้อมกำลังคนของประเทศในการก้าวเข้าสู่วิทยากรขั้นสูงเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
งานวิจัยและนวัตกรรม
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: